Categories: WISDOM

7 เหตุผลที่ธุรกิจโรงไฟฟ้าน่าลงทุน

ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกเผชิญสภาวะถดถอย ! อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักลงทุนต่างมองหาธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนที่ดี มีเสถียรภาพ ซึ่งธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นที่น่าจับตามองคือธุรกิจพลังงาน

เพราะพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนและทุกธุรกิจ และพลังงานเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้า ที่สามารถตอบโจทย์ของนักลงทุนได้อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านมูลค่าและความสม่ำเสมอในการจ่ายผลตอบแทน อีกทั้งโรงไฟฟ้ายังเป็นธุรกิจที่เติบโตตามกระแสการพัฒนาของโลกอีกด้วย มาดูเหตุผล 7 ประการที่ทำให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนที่สุด

เหตุผลที่ 1 ภาพรวมการใช้พลังงานโลกยังเติบโตต่อเนื่อง

รายงานจาก World Energy Outlook 2020 ที่เผยแพร่โดย IEA (International Energy Agency) เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ระบุถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมพลังงานว่า แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ความต้องการพลังงานทั่วโลกลดลงเพียงแค่ 5% เท่านั้น ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

“ขณะที่พลังงานไฟฟ้า จะเป็นพลังงานสำคัญในยุคต่อไป โดย IEA เชื่อว่า 80% โครงการด้านพลังงานที่เกิดขึ้นจากนี้จะมาจากพลังงานทดแทน” ฟาติห์ บิโรล ผู้อำนวยการบริหารของ IEA  กล่าวและย้ำว่า “ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องปีละ 0.8% จนถึงปี 2573 จากแรงผลักดันของการใช้งานในครัวเรือน และอุปกรณ์เคลื่อนที่ใหม่ ๆ” ซึ่งยังไม่นับรวมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เหตุผลที่ 2 การเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากยุคของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันสู่รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก

Deloitte analysis ประเมินว่าทั่วทั้งโลกจะมีรถยนต์ไฟฟ้า (xEV) ใช้งานประมาณ 2.5 ล้านคันในปี 2020 ในปี 2025 จะมีรถยนต์ไฟฟ้า 11 ล้านคัน และในปี 2030 จะมีรถยนต์ไฟฟ้า 31 ล้านคัน ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าจะมียอดจำหน่ายคิดเป็น 30% รถยนต์ใหม่ทั่วทั้งโลก ขณะที่ประเทศไทยมีแผนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้เป้าหมายว่าในปี 2030 ประเทศไทยจะต้องมียานยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วน 30% หรือประมาณ 750,000 คัน  ซึ่งภายใต้แผนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้านี้ จะผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมัน ทำให้ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

เหตุผลที่ 3 การผลักดันนโยบายจากภาครัฐ

ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พ.ศ. 2561-2580) หรือแผน PDP2018 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 77,211 เมกะวัตต์ เป็นกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2580 โดยกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จำนวน 20,766 เมกะวัตต์จะเป็นไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานทดแทน จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตไฟฟ้าที่จะขยายการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่า การลงทุนของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)  ประเภท Solar rooftop ชีวมวล ชีวภาพ และขยะ จะเพิ่มขึ้นในปี 2564 เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบของกลุ่มดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าจึงเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนของผู้ประกอบการ

เหตุผลที่ 4 ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อย

โรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยมาก และแม้ภาคอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งจะต้องหยุดการผลิตจากการล็อกดาวน์ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง แต่การ Work From Home ของประชาชนก็ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ระบุว่า แม้ความต้องการไฟฟ้าในปี 2563 จะลดลง แต่ความต้องการจะกลับมาเพิ่มขึ้น 1.61% ในปี 2564 เช่นเดียวกับ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ที่มองว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะลดลง 1.2% ในปี 2563 แต่จะฟื้นตัวเพิ่มขึ้น 3.5% ในปี 2564 ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย

จากมุมมองที่ตรงกันของ 2 หน่วยงานจึงคาดว่า ธุรกิจโรงไฟฟ้าในปี 2564 จะกลับมาเป็นบวก และเดินหน้าลงทุนตามทิศทางการเติบโตของการใช้พลังงานของประเทศต่อไป 

เหตุผลที่ 5 ความมั่นคงจากการจำหน่ายไฟฟ้าให้รัฐ

ขณะที่ธุรกิจทั่วไปต้องเผชิญกับยอดขายที่ลดลงในช่วงวิกฤต แต่โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวให้กับภาครัฐ จึงมีรายได้ที่มั่นคงเป็นที่สนใจของนักลงทุน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมตามนโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทน ขณะที่โรงไฟฟ้าบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวลยังได้ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ด้วยการปรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบ FIT (Feed in Tariff) จึงสามารถขายไฟฟ้าได้ในราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าชั้นนำบางประเภทยังมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับธุรกิจที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ที่มั่นคงและมี Margin ที่ดีกว่า ซึ่งโรงไฟฟ้ากลุ่มนี้มีความมั่นคงระยะยาวที่มากกว่า เพราะเมื่อสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับรัฐหมดลง ก็ยังมีรายได้จากกลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมเข้ามาทดแทน

เหตุผลที่ 6 โอกาสขยายตลาดในอาเซียน

การพัฒนาธุรกิจโรงไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ไทยมีองค์ความรู้และความพร้อมในการขยายโอกาสไปสู่ประเทศในอาเซียน โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตไฟฟ้าชั้นนำที่รุกตลาดสู่อาเซียน โดย นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ธุรกิจโรงไฟฟ้ายังมีโอกาสเติบโตได้สูงทั้งในและต่างประเทศ โดย EGCO มุ่งมั่นขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการผลิตและการให้บริการด้านพลังงาน โดยธุรกิจหลักยังเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ ล่าสุด EGCO มีโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่น เวียดนาม สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน

ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชั้นนำของไทย ที่ต่างก็ใช้ความรู้และศักยภาพที่มีในการบุกเบิกธุรกิจในอาเซียนเช่นกัน 

เหตุผลที่ 7 ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

ธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีรายได้แน่นอน สามารถคำนวณรายได้และกำไรได้จึงเป็นธุรกิจที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้ในการลงทุน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจโรงไฟฟ้าได้รับผลกระทบน้อย จึงยิ่งเป็น Defensive Stock ที่นักลงทุนให้ความสนใจ

ธุรกิจโรงไฟฟ้าชั้นนำหลายแห่งสามารถจ่ายผลตอบแทนในระดับสูงได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จํากัด (มหาชน) – NPS ผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าในกลุ่ม Double A ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แม้จะเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่บริษัทยังจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ได้เป็นปกติ และหากย้อนกลับไปจะพบว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมาบริษัทจ่ายผลตอบแทนตรงเวลาเสมอ ไม่เคยผิดนัดชำระเลยสักครั้ง 

ด้วยเหตุผลทั้ง 7 ทำให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าน่าลงทุน แต่การเลือกลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าสามารถทำได้ใน 2 แนวทาง คือ 1. ซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ก็มีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา และอัตราปันผลของหุ้นกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 1-3% 2. ลงทุนผ่านตลาดตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะหุ้นกู้ในกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนในระดับ 3-5% และยังเป็นการลงทุนที่มีรายได้ที่แน่นอน มีความมั่นคงในการจ่ายคืนเงินต้น และไม่ต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดฯ เหมือนกับการลงทุนในหุ้น

สำหรับการตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ของธุรกิจโรงไฟฟ้านั้น มีข้อควรพิจารณาอยู่ 4 ประการ 1. ธุรกิจมีชื่อเสียง มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ 2. โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนมีโอกาสดีกว่าเพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐ และเกาะกระแสรักษ์โลก 3. เครดิตเรทติ้งดี ให้ผลตอบแทนสูง จ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ และ 4. ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ เพียง 4 ประการนี้ก็มั่นใจได้ว่า เงินลงทุนของคุณจะงอกเงยได้อย่างที่คุณต้องการ

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.