วันนี้ passion gen พามาสำรวจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนในบ้านที่ทำให้ค่าไฟพุ่งปรี๊ด ยิ่งใช้มาก ยิ่งดูดเงินออกจากกระเป๋า เพื่อเราจะได้วางแผนประหยัดไฟกันได้อย่างถูกจุด ยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี เรายิ่งต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ประหยัดเงินได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากที่บ้านของเรานี่แหละ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราทุกคนต้องมีติดบ้าน ยิ่งในหน้าร้อนแบบนี้ พัดลมเปรียบเสมือนฮีโร่ผู้กอบกู้ชีวิตเราเลยแหละ โดยพัดลมตัวนึงจะใช้ไฟฟ้าในการทำงานอยู่ที่ 20-75 วัตต์ และค่าไฟจะตกอยู่ที่ 10-30 สตางค์ต่อชั่วโมง หากเราเปิดพัดลมวันละ 12 ชั่วโมง เท่ากับว่าปีๆนึงเราต้องเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 828 บาทต่อปี
ตัวช่วยที่ทำให้เราเพลินเพลิดจำเริญใจ เพื่อนคนสำคัญที่ช่วยคลายเหงาในยามที่เราหว้าเหว่ โทรทัศน์เครื่องหนึ่งจะใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยที่ 80-180 วัตต์ ค่าไฟตกอยู่ที่ชั่วโมงละ 30-70 สตางค์ สูงสุดอยู่ที่ชั่วโมงละ 1 บาท ถ้าเราดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ 6 ชั่วโมง เราจะเสียเงินไปกับเจ้าเครื่องสีเหลี่ยมแบนๆนี่ถึงปีละ 1,303 บาท
ถ้าพัดลมเป็นผู้กอบกู้จากความร้อน ตู้เย็นก็คงเป็นผู้ไถ่บาปเราจากความหิวโหย ถ้าบ้านไหนมีคนเยอะหน่อย ก็อาจจะมีตู้เย็นมากกว่า 1 ตู้แน่นอน แถมเรายังต้องเสียบปลั๊กใช้งานอยู่ตลอดเวลา และนั่นทำให้เจ้าตู้เย็นติดอันดับ 3 ของเครื่องไฟฟ้าที่ดูดเงินจากกระเป๋าเรามากที่สุด ด้วยการใช้ไฟฟ้าที่ 70-145 วัตต์ (ตู้เย็น 7-10 คิว) ค่าไฟตกที่ชั่วโมงละ 25-60 สตางค์ ซึ่งปีๆนึงเราจะเสียค่าไฟราว 1,656 บาทต่อปี
ในหน้าร้อนแบบนี้เราจะไม่ค่อยได้ใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นกันเท่าไหร่ แต่ในหน้าหนาวล่ะก็ได้ใช้มันแน่ๆ เพราะการอาบน้ำในหน้าหนาวที่ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่นคือฝันร้ายชัดๆ
สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นนี้ เรามีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายมาบอก ข่าวร้ายคือเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเครื่องไฟฟ้าที่กินไฟม๊ากกกกกก (ขอใช้ภาษาวิบัติเพื่ออรรถรสในการอ่าน) แต่ข่าวดีก็คือเราคงไม่ได้อาบน้ำกันเป็นชั่วโมงหรอก ฉะนั้นถึงมันจะกินไฟเท่าไหร่แต่ระยะเวลาก็เป็นตัวจำกัดการใช้งานอยู่
เครื่องทำน้ำอุ่นสนนการใช้ไฟอยู่ที่ 2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟตกชั่วโมงละ 10-47 บาท ซึ่งถ้าเราเปิดเครื่องทำน้ำอุ่นประมาณ 15 นาทีต่อครั้ง ทั้งเช้าและเย็นในทุกๆวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี เราจะเสียเงินให้การไฟฟ้าที่ 2,874 บาทต่อปี
และแล้วก็มาถึงอันดับที่ 1 ของเครื่องไฟฟ้าที่กินไฟที่สุดในบ้านกันสักที คงไม่ผิดคาดใครหลายๆคนว่าตัวการหลักของบิลค่าไฟที่พุ่งพรวดต้องเป็นเจ้าเครื่องนี้แน่ๆ และใช่ครับ เครื่องปรับอากาศเนี่ยแหละตัวบริโภคไฟชั้นดีเลยทีเดียว ยิ่งในช่วงหน้าร้อนที่เราต้องติดแหงกทำงานอยู่ที่บ้านแบบนี้ ไม่เปิดแอร์ก็คงจะทำงานไม่ได้แน่ๆ แอร์เครื่องหนึ่ง ใช้ไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟตกราวๆ 5-13 บาทต่อชั่วโมง และถ้าวันๆนึงเราเปิดแอร์ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมงต่อวัน เราจะต้องเสียเงินที่ประมาณ 15,851 บาทต่อปีเลยทีเดียว
(หมายเหตุ: ทั้งหมดคิดจากค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3.9 บาท/หน่วย)
ทั้งนี้ทั้งนั้น สาเหตุหนึ่งที่ช่วงนี้ค่าไฟอาจจะดูสูงเกินเหตุไปมาก นั่นเพราะทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีการคำนวณ “ค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า” มาตลอด หากใช้เยอะก็จ่ายเยอะ โดยจะมีขั้นบันไดของการคิดค่าไฟอยู่ ซึ่งค่าไฟก็จะแตกต่างแบบก้าวกระโดดในแต่ละขั้นแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางกฟน. มีการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ติดตามรายละเอียดได้เลยที่ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877448
อ้างอิงจาก
https://kaijeaw.in.th/เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมา/
https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/4220
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877175
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.