New Normal จะเปลี่ยนแปลงผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้จำกัดแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หยั่งลึกถึงวิธิคิดและทัศนคติ เช่น การเสพติดการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านทางออนไลน์ หรือลดการใช้พื้นที่ปิด และพื้นที่แออัด ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน…ธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนตามผู้บริโภคเพื่อความอยู่รอดอย่างเลี่ยงไม่ได้
บางธุรกิจอาจจะแย้งว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนเป็นผลชั่วคราว เมื่อเชื้อโควิดหมดไปก็จะกลับมาเหมือนเดิม…ซึ่งก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนแล้วมักจะเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ทำให้แม้จะหมดโควิด-19 พฤติกรรมก็จะไม่กลับมาเหมือนเช่นเดิม
ทีนี้เกิดคำถามว่า…เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจจะต้องปรับเปลี่ยนไหม…แน่นอนว่าต้องปรับเปลี่ยน แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจ ว่าจะเดินหน้าอย่างไร…passion gen จึงได้รวบรวม 5 สิ่งที่ธุรกิจควรทำ เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจจากโควิด-19 ทั้งระยะสั้น และระยะยาว มาดูว่าอะไรบ้างที่ช่วยธุรกิจคุณผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดนี้ไปได้
ก่อนจะก้าวไปไหนไกล มาดูที่ทัศนคติของผู้ประกอบการกันก่อน… ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังประเมินผลประกอบจากโควิด-19 ได้ไม่ชัดนัก และส่วนใหญ่เลยยังเชื่อว่า 1 พฤษภาคมนี้ จะสามารถเปิดร้านค้าได้ และผู้ซื้อจะแห่กลับมาซื้อสินค้าเหมือนเดิม…อันนี้เป็นทัศนคติที่ผิด!
โควิด-19 จะมีผลกระทบที่ลากยาวไปอีกอย่างน้อย 12 เดือนหรือจนกว่าจะมีวัคซีนและยารักษา ซึ่งระหว่างนี้จะเป็นช่วงฝืดเคืองของธุรกิจแบบ Human Touch แต่เป็นยุครุ่งเรืองของ eCommerce แน่นอนถ้าธุรกิจคุณสามารถขายและบริการออนไลน์ได้ จังหวะนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในการก้าวสู่สมรภูมิ…แต่จะทำอย่างไรให้รุ่ง…จะเก็บมาเหลาอีกทีในโอกาสหน้า…
เชื่อว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายกำลังกุมขมับ ด้วยปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง รายได้ไม่มี-แต่ต้องจ่ายเงินลูกน้องต่อเนื่อง ลูกน้องก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน ของก็ขายไม่ได้ มาดู3 วิธีแก้ปัญหาพื้นฐานที่ทุกธุรกิจทำได้กัน
น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกทำ แต่หากคุณยังไม่ทำ ลองดูว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถหั่นออกอีกได้บ้าง อันนี้รวมถึงการชะลอโครงการใหม่ๆ ที่กำลังจะสร้าง Cost ใหม่ออกไปด้วย เพื่อให้เวลาทบทวนว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ซึ่งการ Cut cost นี้ อาจจะรวมไปถึงการพักการจ้าง หรือเลิกจ้างพนักงานด้วย ซึ่งการเลิกจ้างนั้นเป็นความจริงที่โหดร้ายที่ passion gen เห็นว่าควรจะเป็นทางเลือกอันดับสุดท้าย…เพราะการเลิกจ้างพนักงานแม้จะลดต้นทุนได้จริง แต่ก็ทำให้ศักยภาพในการฟื้นตัวของธุรกิจด้อยลงอย่างมาก….
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องทุกรายต้องคิดถึง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีประกาศให้ธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้สิทธิพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน พร้อมสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ให้กับภาคธุรกิจในวงเงินไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ถ้าผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนก็ควรดำเนินการนะครับเพื่อรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอ ทั้งรองรับวิกฤตและสนับสนุนในช่วงที่ธุรกิจฟื้นตัว
แม้พยายามเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจแล้ว แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะทนได้อีกเพียงระยะหนึ่ง เนื่องจากยังขาดรายได้หลักที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้ แม้จะไม่มากก็ยังดีกว่าที่จะไม่มีอะไรเลย มาดู 7 ไอเดียดึงเงินจากลูกค้า
2. ให้สิ่งที่มากกว่า ดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้า ลองลดแลกแจกแถม เสนอสิ่งล่อตาล่อใจให้ลูกค้าใช้เงิน Blaze Pizza ที่อเมริกาที่ขายบัตรของขวัญให้กับสมาชิก โดยเสนอพิซซ่า 1 ถาดฟรี ในออเดอร์ถัดไป….คือ ถ้าสิ่งที่มีอยู่ขายไม่ได้…ก็ลองขายในสิ่งที่ไม่มีอยู่ดูบ้าง
3. ขอความช่วยเหลือแฟนพันธุ์แท้ ทุกธุรกิจมักมีลูกค้าประจำ หรือ “แฟนพันธุ์แท้” ลูกค้าประจำมักเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและพร้อมซื้อสินค้าเสมอ การให้สิทธิพิเศษที่มีคุณค่า เช่น บัตรสมาชิก VIP ควบส่วนลดหรือของแถมพิเศษ มักจะเรียกยอดขายจากคนกลุ่มนี้ได้
4. ขายสินค้าอนาคต ถ้าขายสินค้าวันนี้ไม่ได้ ขายสินค้าอนาคตเลยดีไหม แอร์เอเชีย เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ โดยแอร์เอเชียขายตั๋วบินต่างประเทศล่วงหน้าเรียกว่าจ่ายปีนี้บินปีหน้า แล้วการันตีให้ลูกค้าเลื่อนตั๋วได้อีกถ้าพิษโควิด-19 ยังไม่หมด
5. eCommerce โควิด-19 กำลังสร้าง New Normal และหนึ่งในนั้นคือ การซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ทุกธุรกิจควรเริ่มช่องทางออนไลน์เสียตั้งแต่วันนี้ เพราะผู้บริโภคได้เรียนรู้ความพิเศษของการซื้อสินค้าออนไลน์หมดแล้ว ถ้าคุณยังพึ่งพาหน้าร้าน และรอผู้บริโภคเดินมาหาบอกได้เลยว่าคุณตกยุคแน่นอน
6. ขายพร้อมการันตีระยะยาว ถ้าคนไม่มั่นใจในอนาคต ไม่กล้าใช้เงิน ลองขายพร้อมการันตีระยะยาว เช่น ซื้อคอนโดวันนี้อยู่ฟรี 2 ปี หรืออาจจะเลือกขายพร้อมการรันตี เช่น ซื้อรถฮุนไดพร้อมการันตีตกงาน หากคุณตกงานใน 1 ปีข้างหน้าบริษัทยินดีซื้อรถคืน แนวคิดเช่นนี้ก็สามารถปรับใช้กันธุรกิจอื่นๆ ได้ดีเช่นกัน
7. ออกนวัตกรรมใหม่ๆ ถ้าคุณเป็นบริษัทที่มีการออกผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ การเร่งนำนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จะช่วยสร้าง Curve ใหม่ได้ เช่น กรณีของ Tesla ที่เร่งเปิดตัวแอปพลิเคชันนำร่องอัตโนมัติออกมาใช้งานก่อนการทดสอบจะเสร็จสิ้น ซึ่งช่วยผลักดันให้เกิดรายได้ใหม่ๆ กับบริษัทได้
อ่านถึงบรรทัดนี้ต้องขอแสดงความดีใจด้วย ว่าคุณสามารถเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 ได้แล้ว ก้าวต่อไปคือ
Transformation การปรับตัวและการฉกฉวยจังหวะและโอกาสนี้ในการสร้างธุรกิจบน New Normal ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่ง New Normal บีบให้ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ภายใต้หลักพิจารณา 4 ข้อ
1.วัฒนธรรมองค์กรและตัวตนยังเหมือนเดิมไหม
2.ยุทธศาสตร์องค์กรเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร
3.การขายและการตลาดยังเหมือนเดิมไหม
4.แผนการฟื้นฟูองค์กร และก้าวสู่ตลาดใหม่จะเป็นอย่างไร
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.