นอกเหนือจากความหวาดวิตก ความกลัว และการเสียชีวิตแล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสมรณะโควิด-19 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงแบบ Disruption อย่างรุนแรงมากกว่าผลจากการ Disruption ของเทคโนโลยี วันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกรวมถึงประเทศไทยถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม…จากการใช้ชีวิตรูปแบบเดิมไปสู่ชีวิตในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า  New Normal

New Normal จะเปลี่ยนแปลงผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้จำกัดแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หยั่งลึกถึงวิธิคิดและทัศนคติ เช่น การเสพติดการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านทางออนไลน์ หรือลดการใช้พื้นที่ปิด และพื้นที่แออัด ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน…ธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนตามผู้บริโภคเพื่อความอยู่รอดอย่างเลี่ยงไม่ได้

บางธุรกิจอาจจะแย้งว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนเป็นผลชั่วคราว เมื่อเชื้อโควิดหมดไปก็จะกลับมาเหมือนเดิม…ซึ่งก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนแล้วมักจะเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ทำให้แม้จะหมดโควิด-19 พฤติกรรมก็จะไม่กลับมาเหมือนเช่นเดิม

ทีนี้เกิดคำถามว่า…เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจจะต้องปรับเปลี่ยนไหม…แน่นอนว่าต้องปรับเปลี่ยน แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละธุรกิจ ว่าจะเดินหน้าอย่างไร…passion gen จึงได้รวบรวม 5 สิ่งที่ธุรกิจควรทำ เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจจากโควิด-19 ทั้งระยะสั้น และระยะยาว มาดูว่าอะไรบ้างที่ช่วยธุรกิจคุณผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดนี้ไปได้

ปรับทัศนคติกันก่อน

ก่อนจะก้าวไปไหนไกล มาดูที่ทัศนคติของผู้ประกอบการกันก่อน… ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังประเมินผลประกอบจากโควิด-19 ได้ไม่ชัดนัก และส่วนใหญ่เลยยังเชื่อว่า 1 พฤษภาคมนี้ จะสามารถเปิดร้านค้าได้ และผู้ซื้อจะแห่กลับมาซื้อสินค้าเหมือนเดิม…อันนี้เป็นทัศนคติที่ผิด!

โควิด-19 จะมีผลกระทบที่ลากยาวไปอีกอย่างน้อย 12 เดือนหรือจนกว่าจะมีวัคซีนและยารักษา ซึ่งระหว่างนี้จะเป็นช่วงฝืดเคืองของธุรกิจแบบ Human Touch แต่เป็นยุครุ่งเรืองของ eCommerce แน่นอนถ้าธุรกิจคุณสามารถขายและบริการออนไลน์ได้ จังหวะนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในการก้าวสู่สมรภูมิ…แต่จะทำอย่างไรให้รุ่ง…จะเก็บมาเหลาอีกทีในโอกาสหน้า…

 

เสริมสภาพคล่องธุรกิจ

เชื่อว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายกำลังกุมขมับ ด้วยปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง รายได้ไม่มี-แต่ต้องจ่ายเงินลูกน้องต่อเนื่อง ลูกน้องก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน ของก็ขายไม่ได้ มาดู3 วิธีแก้ปัญหาพื้นฐานที่ทุกธุรกิจทำได้กัน

1.ตัดลดรายจ่าย

น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกทำ แต่หากคุณยังไม่ทำ ลองดูว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถหั่นออกอีกได้บ้าง อันนี้รวมถึงการชะลอโครงการใหม่ๆ ที่กำลังจะสร้าง Cost ใหม่ออกไปด้วย เพื่อให้เวลาทบทวนว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ซึ่งการ Cut cost นี้ อาจจะรวมไปถึงการพักการจ้าง หรือเลิกจ้างพนักงานด้วย ซึ่งการเลิกจ้างนั้นเป็นความจริงที่โหดร้ายที่ passion gen เห็นว่าควรจะเป็นทางเลือกอันดับสุดท้าย…เพราะการเลิกจ้างพนักงานแม้จะลดต้นทุนได้จริง แต่ก็ทำให้ศักยภาพในการฟื้นตัวของธุรกิจด้อยลงอย่างมาก….

2.เข้าโครงการสนับสนุนทางการเงิน

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องทุกรายต้องคิดถึง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีประกาศให้ธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้สิทธิพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน พร้อมสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ให้กับภาคธุรกิจในวงเงินไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ถ้าผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนก็ควรดำเนินการนะครับเพื่อรักษาสภาพคล่องให้เพียงพอ ทั้งรองรับวิกฤตและสนับสนุนในช่วงที่ธุรกิจฟื้นตัว

7 ไอเดียล้วงเงินจากกระเป๋าลูกค้า

แม้พยายามเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจแล้ว แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะทนได้อีกเพียงระยะหนึ่ง เนื่องจากยังขาดรายได้หลักที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้ แม้จะไม่มากก็ยังดีกว่าที่จะไม่มีอะไรเลย มาดู 7 ไอเดียดึงเงินจากลูกค้า

  1. ปรับโมเดลธุรกิจสู้โควิด แม้พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปแต่ผู้บริโภคยังต้องกินต้องใช้ ร้าน AKA ในเครือเซ็นทรัลปรับโมเดลจากปิ้งย่างในร้าน เป็น Shabu Delivery ซึ่งเป็นการก้าวจาก Safe Zone ไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ AKA จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

2. ให้สิ่งที่มากกว่า ดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้า ลองลดแลกแจกแถม เสนอสิ่งล่อตาล่อใจให้ลูกค้าใช้เงิน Blaze Pizza ที่อเมริกาที่ขายบัตรของขวัญให้กับสมาชิก โดยเสนอพิซซ่า 1 ถาดฟรี ในออเดอร์ถัดไป….คือ ถ้าสิ่งที่มีอยู่ขายไม่ได้…ก็ลองขายในสิ่งที่ไม่มีอยู่ดูบ้าง

3. ขอความช่วยเหลือแฟนพันธุ์แท้ ทุกธุรกิจมักมีลูกค้าประจำ หรือ “แฟนพันธุ์แท้” ลูกค้าประจำมักเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและพร้อมซื้อสินค้าเสมอ การให้สิทธิพิเศษที่มีคุณค่า เช่น บัตรสมาชิก VIP ควบส่วนลดหรือของแถมพิเศษ มักจะเรียกยอดขายจากคนกลุ่มนี้ได้

4. ขายสินค้าอนาคต ถ้าขายสินค้าวันนี้ไม่ได้ ขายสินค้าอนาคตเลยดีไหม แอร์เอเชีย เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ โดยแอร์เอเชียขายตั๋วบินต่างประเทศล่วงหน้าเรียกว่าจ่ายปีนี้บินปีหน้า แล้วการันตีให้ลูกค้าเลื่อนตั๋วได้อีกถ้าพิษโควิด-19 ยังไม่หมด

5. eCommerce โควิด-19 กำลังสร้าง New Normal และหนึ่งในนั้นคือ การซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ทุกธุรกิจควรเริ่มช่องทางออนไลน์เสียตั้งแต่วันนี้ เพราะผู้บริโภคได้เรียนรู้ความพิเศษของการซื้อสินค้าออนไลน์หมดแล้ว ถ้าคุณยังพึ่งพาหน้าร้าน และรอผู้บริโภคเดินมาหาบอกได้เลยว่าคุณตกยุคแน่นอน

6. ขายพร้อมการันตีระยะยาว ถ้าคนไม่มั่นใจในอนาคต ไม่กล้าใช้เงิน ลองขายพร้อมการันตีระยะยาว เช่น ซื้อคอนโดวันนี้อยู่ฟรี 2 ปี หรืออาจจะเลือกขายพร้อมการรันตี เช่น ซื้อรถฮุนไดพร้อมการันตีตกงาน หากคุณตกงานใน 1 ปีข้างหน้าบริษัทยินดีซื้อรถคืน แนวคิดเช่นนี้ก็สามารถปรับใช้กันธุรกิจอื่นๆ ได้ดีเช่นกัน

7. ออกนวัตกรรมใหม่ๆ ถ้าคุณเป็นบริษัทที่มีการออกผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ การเร่งนำนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จะช่วยสร้าง Curve ใหม่ได้ เช่น กรณีของ Tesla ที่เร่งเปิดตัวแอปพลิเคชันนำร่องอัตโนมัติออกมาใช้งานก่อนการทดสอบจะเสร็จสิ้น ซึ่งช่วยผลักดันให้เกิดรายได้ใหม่ๆ กับบริษัทได้

กำหนดยุทธศาสตร์รับ New Normal

อ่านถึงบรรทัดนี้ต้องขอแสดงความดีใจด้วย ว่าคุณสามารถเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 ได้แล้ว ก้าวต่อไปคือ
Transformation การปรับตัวและการฉกฉวยจังหวะและโอกาสนี้ในการสร้างธุรกิจบน New Normal ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่ง New Normal บีบให้ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ภายใต้หลักพิจารณา 4 ข้อ

1.วัฒนธรรมองค์กรและตัวตนยังเหมือนเดิมไหม

2.ยุทธศาสตร์องค์กรเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร

3.การขายและการตลาดยังเหมือนเดิมไหม

4.แผนการฟื้นฟูองค์กร และก้าวสู่ตลาดใหม่จะเป็นอย่างไร

 

วันนี้New Normal” หรือ “ความปกติแบบใหม่” เป็นคำพูดติดปากของนักวิชาการแทบทุกราย โลกจะเปลี่ยนไป จะไม่เหมือนเดิม ต่อไปคนจะทำงานที่บ้าน จะซื้อของออนไลน์ จะสั่งอาหารมาทานที่บ้าน….แต่ passion gen เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นคงไม่ได้เปลี่ยนแบบชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ…อย่างไรเสีย คนไทยก็ยังคงเดินห้างฯ ยังทานอาหารนอกบ้าน ยังคงต้องเข้าออฟฟิศทำงาน แต่พฤติกรรมที่ทำผ่านออนไลน์จะมากขึ้น เช่น แม้จะไม่เข้าออฟฟิศ แต่ก็ยังต้องประชุมผ่าน VDO Call และแม้คนจะยังเดินห้างฯ แต่คนฉลาดที่จะเช็คราคาสินค้าและโปรโมชันก่อนตัดสินใจซื้อ การค้าในโลกยุคต่อไปจึงยากขึ้น…

 

Category:

Passion in this story