Categories: WISDOM

5 วิธีกระตุ้นกระแสเงินสดในสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ

4.6 / 5 ( 5 votes )

สถานการณ์ของเศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ในช่วงถดถอยอย่างรุนแรง เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศทั่วโลกต้องงัดมาตรการปิดเมือง ปิดสถานที่ๆ การรวมตัวกันของคนจำนวนมาก และห้ามประชาชนออกจากบ้าน เพื่อลดการติดต่อกันระหว่างประชากรให้มากที่สุดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด

มาตรการเหล่านั้นส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมาก ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ และสูญเสียรายได้มหาศาล จนบางรายถึงกับต้องล้มละลาย หรือบอกเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ผู้นำองค์กรจึงต้องเร่งสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับธุรกิจของตนเอง และบริหารรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษาฐานของลูกค้าเอาไว้ให้ได้

passion gen หยิบบทวิเคราะห์เรื่อง 5 Ways to Stimulate Cash Flow in a Downturn เพื่อเสนอเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ต่อไปได้

1. ขายสินค้า พร้อมรับประกันคุณภาพสินค้า

สถานการณ์ปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากจะใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่แบรนด์ต่างๆ ก็สามารถกระกระตุ้นยอดขายในช่วงนี้โดยการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าของตนเป็นของคุณภาพ  ผ่านการรับประกันคุณภาพของสินค้าเป็นระยะเวลานาน และการกำหนดเงื่อนไขการส่งคืน และเปลี่ยนสินค้าที่จริงใจ และไม่หมกเม็ด

ผู้ประกอบการจะต้องยอมแบกรับความเสี่ยงตรงนี้เพื่อสร้างความเชื่อถือให้แก่ลูกค้าของคุณ และสามารถปิดการขายได้ง่ายขึ้น

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือ  ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2551  บริษัท ฮุนได (Hyundai Motor Company) ผู้ผลิตรถยนต์ข้ามชาติจากเกาหลีใต้ ได้จัดแคมเปญ รับประกันคุณภาพรถ ในช่วง 10 ปีแรก  และ/หรือ 100,000 ไมล์แรก ของการใช้งาน โดยหากรถมีปัญหาก็สามารถนำไปเปลี่ยนคืนได้ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอสุดวิเศษกับลูกค้าว่า หากลูกค้าเกิดตกงานขึ้นมาหลังจากที่ซื้อรถของบริษัทไปในระยะเวลาไม่นาน บริษัทก็จะยอมซื้อรถกลับจากลูกค้าให้  โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีถัดมาก็พบว่า ฮุนได มีส่วนแบ่งตลาดสูและมียอดขายที่สูงขึ้น

2. ทดลองใช้โมเดลธุรกิจแบบใหม่

ในช่วงเวลาวิกฤติ แบรนด์ควรทดลองนำโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ ออกมาใช้ โดยเน้นทำตลาดไปที่ ลูกค้ากลุ่มซุปเปอร์คอนซูมเมอร์ (Super consumers) หรือ กลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบ และซื้อสินค้าจากแบรนด์เป็นปริมาณมาก และจะยอมจ่ายหนักเพื่อให้ได้สินค้า และบริการที่ดีที่สุดจากแบรนด์ของคุณ พร้อมทั้งคอยแนะนำผู้อื่นให้มาใช้สินค้าของคุณ เพราะพวกเขาเหล่านี้มีแนวโน้มจะตอบรับสิ่งใหม่ๆ ที่คุณปล่อยออกมาสูง

2.1  Subscriptions

Subscriptions คือ รูปแบบการตั้งราคาที่ลูกค้าต้องจ่ายเงินค่าบริการเป็นรายเดือน หรือรายปี ให้กับบริษัทของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงสินค้า และบริการ ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากโมเดลธุรกิจนี้ก็คือ ผู้ประกอบการจะสามารถสร้างรายจากสินค้า หรือบริการได้อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ลูกค้าไม่หนีไปไหน สามารถคาดการณ์ตัวเลขรายรับในอนาคตได้ง่าย และยังเป็นวิธีที่สามารถการสร้าง Brand Loyalty ของลูกค้าได้ดี

ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้โมเดลการตั้งราคาแบบนี้ ก็เช่น

  • Netfix วิดีโอสตรีมมิงแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงในช่วงนี้
  • Adobe Inc. เจ้าของโปรแกรมตระกูล Adobe ต่างๆ เช่น Adobe Photoshop
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
  • ธุรกิจ หรือบริการ ที่ลูกค้าสามารถสมัครเป็นสมาชิกแบบ VIP หรือ พรีเมี่ยม เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ โดยต้องจ่ายเงินรักษาสถานะสมาชิกเป็นรายเดือน หรือรายปี

2.2 การออกบัตรของขวัญ (Gift cards) และบัตรสะสมแต้ม (Reward card)

การจัดโปรโมชั่น หรือแคมเปญ การออกบัตรของขวัญ และบัตรสะสมแต้ม เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลายๆ ธุรกิจควรลองนำออกมาใช้ให้มากขึ้น  ตัวอย่างธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลจาก บัตรของขวัญ และบัตรสะสมแต้ม ก็คือ

  • เบลซ พิซซ่า (Blaze Pizza) หนึ่งในผู้นำตลาดพิซซ่า จากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัญอเมริกา เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดแคมเปญ “ฟรีพิซซ่า 1 ชิ้น ในการสั่งซื้อครั้งต่อไป เมื่อซื้อบัตรของขวัญมูลค่า 20 ดอลลาร์” ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่เป็นสมาชิกของร้านอยู่แล้ว ซึ่งปรากฏว่ายอดขายของบัตรของขวัญดังกล่าวก็พุ่งทะลุเป้าหมายไปเยอะมาก
  • สตาร์บัคส์ (Starbucks) แบรนด์กาแฟยอดฮิตซึ่งมีจำนวนลูกค้าที่ใช้แอพพลิเคชั่นอยู่ราวๆ 25 ล้านคน ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ได้ทำการเติมเงินเข้าไปในบัตรสะสมแต้ม (Reward card) ของตัวเองล่วงหน้า ซึ่งทำให้สตาร์บัคส์มีเงินทุนหมุนเวียนไว้ใช้เพิ่มมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์  การซื้อ-ขาย สินค้ายังเกิดขึ้นจริง

3. เปิดตัวนวัตกรรมใหม่

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้ ผู้บริโภคมักจะยอมควักเงินจ่ายซื้อสินค้า หรือบริการทุกๆอย่างที่สามารถทำให้ชีวิตของพวกเขาความสะดวกสบายมากขึ้น แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดี  ดังนั้น หากตอนนี้องค์กร หรือธุรกิจของคุณมีนวัตกรรมสินค้า และบริการใหม่ๆ ที่การพัฒนาใกล้จะเสร็จ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เพิ่มคุณภาพชีวิต)  ก็ให้รีบเปิดตัวออกมา

ไม่ต้องกังวลมากว่าสินค้า หรือบริการของคุณจะยังไม่สมบูรณ์ เพราะคุณสามารถให้ลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ทดลองใช้งานสินค้า และบริการ เพื่อรวบรวมความคิดเห็น และคำแนะนำไปปรับปรุงสินค้า หรือบริการของคุณให้สมบูรณ์ขึ้นก่อนที่จะเริ่มทำตลาดในวงกว้าง

4. ตัดงบการตลาดส่วนที่ไม่จำเป็นออก

หยิบแผนการตลาดขึ้นมาทบทวนใหม่ โดยพิจารณาตัดงบประมาณ และ/หรือยกเลิก กิจกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าออก โดยเฉพาะงบประมาณส่วนที่เป็นประโยชน์กับหุ้นส่วนทางธุรกิจของคุณ มากกว่าตัวคุณเอง ตัวอย่างเช่น  หากคุณเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง แล้วพบว่ายอดขายสินค้าของคุณไม่ดีขึ้นตามที่หวัง คุณก็ควรจะยกเลิกสัญญาเสีย เป็นต้น

5. ดึงกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ มาเป็นลูกค้าของแบรนด์

ในช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้ ธุรกิจควรเคลื่อนไหวเชิงรุกเพื่อหาลูกค้าใหม่ๆ  ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณทดลองใช้งานสินค้า และบริการของคุณแบบฟรีๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง และหากลูกค้าชอบใจพวกเขาก็จะจ่ายเงินเพื่อต่อเวลาใช้งานหลังช่วงเวลาโปรโมชั่นหมดลง  โดยธุรกิจที่ขายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์  ธุรกิจฝึกอบรม-ให้ความรู้ และธุรกิจบริการ จะใช้ประโยชน์จากวิธีนี้ได้มากที่สุด

การควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions)  ก็เป็นอีกวิธีการหาลูกค้าใหม่ ที่น่าสนใจ เพราะในปัจจุบันมูลค่าประเมินของหลายบริษัทได้ลดลงไปจากช่วงเวลาปกติ ดังนั้น หากคุณมีเงินทุนในมือมากพอ นี่คือโอกาสทองในการซื้อกิจการที่น่าสนใจมาไว้ในมือเพื่อขยายฐานลูกค้า เพิ่มช่องทางการทำธุรกิจ  และเพิ่มโอกาสทางการตลาด

ในช่วงเวลาวิกฤตนี้ ผู้ประกอบการไม่ควรตั้งรับสถานการณ์อยู่เฉยๆ แต่ควรเคลื่อนไหวในเชิงรุกอย่างมีเหตุผล และรอบคอบ เพื่อก้าวข้ามวิกฤตินี้ไปให้ได้ ซึ่งประวัติศาสตร์ก็แสดงให้พวกเราเห็นอยู่เสมอว่า ช่วงเวลายากลำบากมักจะให้กำเนิดผู้นำที่แข็งแกร่งขึ้นมา ซึ่งคุณเองก็อาจจะเป็นหนึ่งในนั้นได้เช่นกัน

อ้างอิง

5 Ways to Stimulate Cash Flow in a Downturn

https://hbr.org/2020/04/5-ways-to-stimulate-cash-flow-in-a-downturn

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.