ทุกวันนี้หลายบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ประกาศเลิกใช้กระดาษแล้ว เช่นเดียวกับอีกหลายคนที่ปรับตัวเข้าสู่ยุค Paperless เพราะประหยัด สะดวก และดูทันสมัยมากกว่า
ทว่า เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อุปกรณ์สื่อสารประจำตัวอย่างสมาร์ทโฟน ความสะดวกสบายต่าง ๆ และสังคมยุคใหม่ไร้กระดาษ ก็ไม่อาจตอบโจทย์บางคนบางเรื่องได้ โดยเฉพาะเรื่องคุณค่าทางจิตใจและความภาคภูมิใจ ในการได้ครอบครองสิ่งของที่บ่งบอกการเป็นตัวตนของตัวเอง
สิ่งเหล่านี้คือ โอกาสทางธุรกิจที่ Moleskine (โมเลสกิน) แบรนด์สมุดและเครื่องเขียนสัญชาติอิตาลี “มองเห็น” และเป็นช่องทางเดียวที่จะอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
Moleskine สร้างความฮือฮาอีกขั้นในปีนี้ เมื่อสามารถโชว์ผลกำไรต่อหน่วย สูงกว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Coca-Cola เสียอีก และมันก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน
อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ passion gen ถอดบทเรียนจากบทความซึ่งเขียนโดย Ethan Brooks
ต่อไปนี้คือความสำเร็จของ Moleskine
เมื่อพิเคราะห์ดูโมเดลทางธุรกิจของ Moleskine ก็จะพบว่าการกระจายสินค้าและเข้าถึงลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากเจาะลึกลงไปเฉพาะเรื่อง ก็จะเห็นเคล็ดลับบางอย่างประกอบกัน เช่น
การออกแบบสินค้าที่มีสีสันออกสู่ตลาด แนวคิดนี้มาจากเทคนิคเรื่องรสสัมผัสภายนอก การมีรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นดูดีย่อมเป็นต่อ การเสนอสินค้าที่มีสีสันต่าง ๆ ให้เลือกเท่ากับรู้ใจผู้บริโภคให้ได้แสดงความเป็นตัวตนออกมา ผ่านสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นกระดาษและเครื่องเขียนส่วนตัวเหล่านี้
ในขณะเดียวกัน บางครั้งก็จำเป็นต้องผลิตสินค้าจำนวนจำกัดหรือ Limited edition ออกสู่ตลาด แต่ต้องไปจับมือกับใครสักคนที่มีต้นทุนสูงหรือมีชื่อเสียงอยู่แล้ว นอกจากจะช่วยกระตุ้นยอดขายแล้ว พันธมิตรจะช่วยโฆษณาสินค้าได้ด้วย โดยไม่ต้องทุ่มเงินเพื่อโปรโมทสินค้าเกินความจำเป็น
อีกอย่างคือ ตัวผลิตภัณฑ์ เมื่อต้องผลิตสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการพัฒนาสินค้าอยู่เรื่อย ๆ ต้องเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามรสนิยม หลายครั้งต้องออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกิจด้วย
เพิ่มคุณค่ากับผู้ใช้ สำหรับ Moleskine นั้นมองว่าบางคน บางธุรกิจ บางองค์กร ต้องการครอบครองสิ่งที่ทรงคุณค่า แม้จะเป็นเพียงสมุดโน้ตก็ตาม ทำให้แบรนด์นี้สามารถเข้าไปนั่งในหัวใจผู้บริโภคได้ จนสินค้าขายดิบขายดี
ความจริงแล้ว ธุรกิจของ Moleskine มีเส้นทางที่น่าสนใจไม่น้อย นับตั้งแต่วันเริ่มต้นก่อตั้งในปี 1997 เป็นการแตกธุรกิจใหม่ของบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการออกแบบที่ชื่อว่า Modo & Modo จนถึงบัดนี้ Moleskine กลายเป็นบริษัทกระดาษและเครื่องเขียนที่น่าชื่นชมที่สุดในโลกไปแล้ว
ในปี 2016 กลุ่ม D’ leteran Group ของเบลเยี่ยมได้เข้าซื้อกิจการ Moleskine แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาพรวมของธุรกิจลดลง ตรงกันข้ามธุรกิจได้ขยายตัวมากขึ้น เมื่อเทียบยอดขายจากช่องทางต่าง ๆ ระหว่างปี 2015 กับปี 2019 ยอดขายเกือบทุกช่องทางเพิ่ม ขึ้นกล่าวคือ ยอดขายB2B, ยอดขายปลีก และช่องทาง e-commerce เพิ่มขึ้นทั้งหมด ยกเว้นการจากการขายส่งลดลง
ผลประกอบการของปี 2014 เทียบกับปี 2019 พบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นจาก 9.8 หมื่นยูโร เป็น 8.2 ล้านยูโร ขณะที่จำนวนสาขาเพิ่มขึ้นจาก 41 เป็น 77 ส่วนจำนวนพนักงานก็เพิ่มขึ้นจาก 278 เป็น 551 คน
ปัจจุบันรายได้ของ Moleskine มาจากภูมิภาคต่าง ๆ คือ 46 เปอร์เซ็นต์ มาจากยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา, 37 เปอร์เซ็นต์มาจากอเมริกา และแคนาดา, และอีก 17 เปอร์เซ็นต์มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Moleskine เดินทางไปสู่ความสำเร็จได้ ท่ามกลางกระแสโลกยุคใหม่ บริษัทฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องการทุ่มเงินทำตลาดกับสื่อดั้งเดิม แต่ใช้เงินตามความจำเป็นสำหรับการออกร้าน และการแสดงสินค้า ณ จุดขายเป็นหลัก
เมื่อลูกค้าเดินผ่านก็จะสะดุดตาและสนใจเลือกซื้อสินค้า นี่คือสิ่งที่จับต้องได้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สินค้าที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นสินค้าทั่วไป สินค้าใหม่ หรือสินค้าแบบจำกัดจำนวน ก็จะอยู่ในสายตาของผู้บริโภคทั้งสิ้น
ในโลกของออนไลน์ก็เช่นกัน Moleskine ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด จึงมีการวางขายในเว็บไซต์ขายของอย่าง อเมซอน เมื่อลูกค้า Search หาสินค้าประเภทกระดาษหรือเครื่องเขียนก็จะเจอสินค้าของค่ายนี้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่งของ Moleskine คือการถูกก๊อปปี้หรือลอกเลียนสินค้า ซึ่งคู่แข่งมักจะทำให้เหมือนของจริงมาก ๆ และยังใช้ชื่อที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย ทำให้บริษัทฯ ต้องเสียเงินใช้บริการบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายอยู่เนือง ๆ
ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ใคร ๆ จึงไม่สามารถหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ เช่นเดียวกัน Moleskine ก็พยายามแตกไลน์สินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาด รวมถึงการผลิตซองหนังสำหรับใส่สมุดโน๊ต หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องเขียน
บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า กลยุทธ์ที่ล้ำลึกของบริษัทผู้ผลิตกระดาษ แต่สามารถสร้างกำไรต่อหน่วย ได้สูงกว่าบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่อย่าง Coca Cola ได้อย่างสมศักดิ์ศรี
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.