Categories: WISDOM

7 บทเรียนด้านการเงินจากช่วงวิกฤติโควิด-19

5 / 5 ( 10 votes )

การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการชะลอตัวครั้งใหญ่ บริษัทหลายรายไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติเนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐ

บริษัทที่มีผู้นำ บริหารจัดการเก่ง และมีเงินทุนสำรองอยู่พอเพียง ก็จะสามารถปรับตัว และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถดำเนินธรุกิจต่อไปได้ และยังสามารถรักษาพนักงานของตนเอาไว้ได้ด้วย ส่วนบริษัทที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ก็อาจต้องพบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนอาจต้องเลิกกิจการไปอย่างถาวร หรือต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่เพื่อพยุงกิจการของตนเอาไว้ เรียกได้ว่า วิกฤติครั้งนี้ ได้มอบบทเรียนด้านการเงินที่สำคัญให้แก่ผู้นำองค์กร และเจ้าของกิจการ หลายคน

ในปัจจุบัน หลายประเทศรวมถึงไทย ได้เริ่มคลายการล็อคดาวน์เพื่อให้ธุรกิจบางประเภทสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้แล้ว เจ้าของกิจการที่เจ็บหนักเรื่องการเงินมาจากช่วงก่อนหน้านี้ ควรใช้โอกาสนี้ปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินของตนเอง โดยใช้บทเรียนจากวิกฤติที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

1.ความมั่นใจเกินเหตุทำให้ตัดสินใจทางการเงินผิดพลาด

ในช่วงมีข่าวการระบาดของไวรัสโควิด-19 ออกมาครั้งแรก ผู้นำองค์กรเกือบทุกคนต่างคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว และยังคงดำเนินธุรกิจ เดินหน้าลงทุนในโครงการใหม่ๆ ต่อไปตามปกติเหมือนที่เคย โดยไม่ได้มีสำรองค่าใช้จ่ายเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉินในกรณีที่สถานการณ์ลุกลามมาถึงตัวเอง จนเมื่อมีการประกาศล๊อคดาวน์เกิดขึ้นนั่นเองที่หลายบริษัทก็ได้รับรู้ถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจบริหารจัดการงบประมาณของตนเอง ซึ่งในอนาคตพวกเราต้องระวังไม่ทำพลาดเช่นนี้อีก

2. บริษัทจำเป็นต้องมีเงินทุนสำรองไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหลายมักจะให้ความสำคัญกับ “เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือ Emergency Funds เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาตระหนักว่า วิกฤติทางการเงิน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝันตลอดเวลา

เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น บริษัทที่มีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่เยอะ ก็จะสามารถใช้เงินจำนั้นนวนพยุงให้บริษัทอยู่รอดได้ในช่วงในบริษัทมีรายรับลดลลง หรือไม่มีเลย อย่างเช่นในสถานการณ์ปัจจุบันนี้

คุณควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้มากแค่ไหน? คำตอบนั้นก็จะแตกต่างไปตามแต่ละบริษัท แต่ขอแนะนำให้สำรองเงินเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับรายจ่ายประมาณ 3- 6 เดือน ของคุณเป็นอย่างน้อย

3. การมีช่องทางรายได้หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญ

การมีช่องทางรายได้ที่หลากหลาย เป็นการสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางการเงินที่ดีเยี่ยม  เพราะถึงแม้รายได้ของคุณจากช่องทางหนึ่งจะหายไปเพราะไม่สามารถดำเนินกิจการได้ หรือว่าคุณโชคร้ายถูกบริษัทบอกเลิกจ้าง คุณก็ยังคงมีรายได้จากช่องทางอื่นมาเลี้ยงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณสู้ต่อไปได้ ระหว่างที่รอให้สถานการณ์กลับเป็นปกติ  หรือจนกว่าที่คุณจะสามารถหางานใหม่ได้

4. การมีหนี้สินเป็นเรื่องแย่

พวกเราหลายคนชอบเผลอใช้จ่ายกันเกินตัวด้วยบัตรเครดิต หรือชอบกู้เงินก้อนใหญ่จากธนาคารมาลงทุน หรือซื้อบ้าน-ซื้อรถ เพียงเพราะความอยากได้ อยากมี เหมือนกับผู้อื่น โดยไม่ได้พิจารณาให้ดีถึงขีดความสามารถในการใช้หนี้ของตนเองให้ดี โดยผู้ที่บริหารการเงินของตนเองไม่ดี และขาดความยั้งคิดจะพบว่าตัวเองมีหนี้ท่วมหัวภายในระยะไม่นาน และในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ การจะหาเงินมาชดใช้หนี้ก็ยิ่งยากขึ้นหลายเท่า

5. การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย

ในช่วง ตลาดกระทิง (Bull Market) หรือช่วงที่ตลาดหุ้นมีความคึกคักสูง ซื้อง่าย-ขายคล่อง ความมั่นใจเกินเหตุของคุณมักจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด แต่ในช่วง ตลาดหมี  (Bear Market) หรือช่วงที่ตลาดที่อยู่ในแนวโน้มขาลงนั้น  “ความกลัว”  จะกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณ  เพราะเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่ถดถอย ความกลัว และความกังวลของคุณจะทำให้คุณรู้สึกอยากหยุดแผนการลงทุนทั้งหมด และขายทุกอย่างทิ้งไปเสีย ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง

การที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น การคิดวางแผนในระยะยาว และระเบียบวินัยในตัวเองถือเป็นเรื่องสำคัญ คุณต้องไม่ปล่อยให้อารมณ์ของคุณอยู่เหนือเหตุผล

6. การบริหารรายรับ-รายจ่าย ให้ดีเป็นเรื่องสำคัญ

การมีเงินสำรองฉุกเฉินเยอะๆ การมีชีวิตที่ปราศจากหนี้สิน และมีเงินออมไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อที่ผ่านมา ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้าทุกวันนี้คุณยังคงใช้ชีวิตอยู่แบบใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีการเก็บออม การจะคว้าสิ่งเหล่านั้นมาไว้ในมือ

คุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการบริหารค่าใช้จ่ายของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องพยายามควบคุมให้รายได้ของคุณจะต้องมีมากกว่ากว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอยู่เสมอ และที่สำคัญก็คือ เมื่อคุณมีรายได้มากขึ้น คุณต้องควบคุมไม่ให้ค่าใช้จ่ายของคุณเพิ่มขึ้นไปด้วย

7. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของทุกคนได้

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากคุณติดตามข่าว คุณคงได้เห็นคนหลายกลุ่มที่ลุกขึ้นมาช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลัง และความสามารถของพวกเขา ซึ่งแม้ว่าบางสิ่งจะเป็นเรื่องเล็ก น้อย  แต่สิ่งที่พวกเขาทำนั้นก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังเดือดร้อนอย่างมาก ดังนั้น หากเป็นไปได้ คุณก็ควรแบ่งทรัพย์สินที่คุณมีบางส่วนไปช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะคุณจะไม่นึกเสียดายน้ำใจที่ได้มอบให้แก่ผู้อื่นอย่างแน่นอน  และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคุณก็จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป

โควิด-19 จะอยู่กับพวกเราไปอีกนานแค่ไหนก็ยังไม่อาจสรุปได้ การนั่งรอให้สถานการณ์ดีขึ้นอยู่เฉยๆ จึงไม่ใช่ตอบที่ดี คุณต้องเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงการบริการจัดการด้านการเงินให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และทำให้มันกลายเป็น New Normal ของคุณไป


ขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาจาก
- entrepreneur

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.