การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการชะลอตัวครั้งใหญ่ บริษัทหลายรายไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติเนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐ

บริษัทที่มีผู้นำ บริหารจัดการเก่ง และมีเงินทุนสำรองอยู่พอเพียง ก็จะสามารถปรับตัว และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สามารถดำเนินธรุกิจต่อไปได้ และยังสามารถรักษาพนักงานของตนเอาไว้ได้ด้วย ส่วนบริษัทที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ก็อาจต้องพบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนอาจต้องเลิกกิจการไปอย่างถาวร หรือต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่เพื่อพยุงกิจการของตนเอาไว้ เรียกได้ว่า วิกฤติครั้งนี้ ได้มอบบทเรียนด้านการเงินที่สำคัญให้แก่ผู้นำองค์กร และเจ้าของกิจการ หลายคน

ในปัจจุบัน หลายประเทศรวมถึงไทย ได้เริ่มคลายการล็อคดาวน์เพื่อให้ธุรกิจบางประเภทสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้แล้ว เจ้าของกิจการที่เจ็บหนักเรื่องการเงินมาจากช่วงก่อนหน้านี้ ควรใช้โอกาสนี้ปรับปรุงการบริหารจัดการการเงินของตนเอง โดยใช้บทเรียนจากวิกฤติที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

1.ความมั่นใจเกินเหตุทำให้ตัดสินใจทางการเงินผิดพลาด

ในช่วงมีข่าวการระบาดของไวรัสโควิด-19 ออกมาครั้งแรก ผู้นำองค์กรเกือบทุกคนต่างคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว และยังคงดำเนินธุรกิจ เดินหน้าลงทุนในโครงการใหม่ๆ ต่อไปตามปกติเหมือนที่เคย โดยไม่ได้มีสำรองค่าใช้จ่ายเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉินในกรณีที่สถานการณ์ลุกลามมาถึงตัวเอง จนเมื่อมีการประกาศล๊อคดาวน์เกิดขึ้นนั่นเองที่หลายบริษัทก็ได้รับรู้ถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจบริหารจัดการงบประมาณของตนเอง ซึ่งในอนาคตพวกเราต้องระวังไม่ทำพลาดเช่นนี้อีก

2. บริษัทจำเป็นต้องมีเงินทุนสำรองไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหลายมักจะให้ความสำคัญกับ “เงินสำรองฉุกเฉิน” หรือ Emergency Funds เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาตระหนักว่า วิกฤติทางการเงิน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝันตลอดเวลา

เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น บริษัทที่มีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่เยอะ ก็จะสามารถใช้เงินจำนั้นนวนพยุงให้บริษัทอยู่รอดได้ในช่วงในบริษัทมีรายรับลดลลง หรือไม่มีเลย อย่างเช่นในสถานการณ์ปัจจุบันนี้

คุณควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้มากแค่ไหน? คำตอบนั้นก็จะแตกต่างไปตามแต่ละบริษัท แต่ขอแนะนำให้สำรองเงินเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับรายจ่ายประมาณ 3- 6 เดือน ของคุณเป็นอย่างน้อย

3. การมีช่องทางรายได้หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญ

การมีช่องทางรายได้ที่หลากหลาย เป็นการสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางการเงินที่ดีเยี่ยม  เพราะถึงแม้รายได้ของคุณจากช่องทางหนึ่งจะหายไปเพราะไม่สามารถดำเนินกิจการได้ หรือว่าคุณโชคร้ายถูกบริษัทบอกเลิกจ้าง คุณก็ยังคงมีรายได้จากช่องทางอื่นมาเลี้ยงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณสู้ต่อไปได้ ระหว่างที่รอให้สถานการณ์กลับเป็นปกติ  หรือจนกว่าที่คุณจะสามารถหางานใหม่ได้

4. การมีหนี้สินเป็นเรื่องแย่

พวกเราหลายคนชอบเผลอใช้จ่ายกันเกินตัวด้วยบัตรเครดิต หรือชอบกู้เงินก้อนใหญ่จากธนาคารมาลงทุน หรือซื้อบ้าน-ซื้อรถ เพียงเพราะความอยากได้ อยากมี เหมือนกับผู้อื่น โดยไม่ได้พิจารณาให้ดีถึงขีดความสามารถในการใช้หนี้ของตนเองให้ดี โดยผู้ที่บริหารการเงินของตนเองไม่ดี และขาดความยั้งคิดจะพบว่าตัวเองมีหนี้ท่วมหัวภายในระยะไม่นาน และในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ การจะหาเงินมาชดใช้หนี้ก็ยิ่งยากขึ้นหลายเท่า

5. การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย

ในช่วง ตลาดกระทิง (Bull Market) หรือช่วงที่ตลาดหุ้นมีความคึกคักสูง ซื้อง่าย-ขายคล่อง ความมั่นใจเกินเหตุของคุณมักจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด แต่ในช่วง ตลาดหมี  (Bear Market) หรือช่วงที่ตลาดที่อยู่ในแนวโน้มขาลงนั้น  “ความกลัว”  จะกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณ  เพราะเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่ถดถอย ความกลัว และความกังวลของคุณจะทำให้คุณรู้สึกอยากหยุดแผนการลงทุนทั้งหมด และขายทุกอย่างทิ้งไปเสีย ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง

การที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น การคิดวางแผนในระยะยาว และระเบียบวินัยในตัวเองถือเป็นเรื่องสำคัญ คุณต้องไม่ปล่อยให้อารมณ์ของคุณอยู่เหนือเหตุผล

6. การบริหารรายรับ-รายจ่าย ให้ดีเป็นเรื่องสำคัญ

การมีเงินสำรองฉุกเฉินเยอะๆ การมีชีวิตที่ปราศจากหนี้สิน และมีเงินออมไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อที่ผ่านมา ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้าทุกวันนี้คุณยังคงใช้ชีวิตอยู่แบบใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีการเก็บออม การจะคว้าสิ่งเหล่านั้นมาไว้ในมือ

คุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการบริหารค่าใช้จ่ายของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องพยายามควบคุมให้รายได้ของคุณจะต้องมีมากกว่ากว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอยู่เสมอ และที่สำคัญก็คือ เมื่อคุณมีรายได้มากขึ้น คุณต้องควบคุมไม่ให้ค่าใช้จ่ายของคุณเพิ่มขึ้นไปด้วย

7. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของทุกคนได้

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากคุณติดตามข่าว คุณคงได้เห็นคนหลายกลุ่มที่ลุกขึ้นมาช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลัง และความสามารถของพวกเขา ซึ่งแม้ว่าบางสิ่งจะเป็นเรื่องเล็ก น้อย  แต่สิ่งที่พวกเขาทำนั้นก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังเดือดร้อนอย่างมาก ดังนั้น หากเป็นไปได้ คุณก็ควรแบ่งทรัพย์สินที่คุณมีบางส่วนไปช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะคุณจะไม่นึกเสียดายน้ำใจที่ได้มอบให้แก่ผู้อื่นอย่างแน่นอน  และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคุณก็จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป

โควิด-19 จะอยู่กับพวกเราไปอีกนานแค่ไหนก็ยังไม่อาจสรุปได้ การนั่งรอให้สถานการณ์ดีขึ้นอยู่เฉยๆ จึงไม่ใช่ตอบที่ดี คุณต้องเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงการบริการจัดการด้านการเงินให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และทำให้มันกลายเป็น New Normal ของคุณไป


ขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาจาก
- entrepreneur

Category:

Passion in this story