สำหรับเจ้าของธุรกิจ คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการได้เห็นธุรกิจตัวเองเติบโตมีผลกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอดีตตัวชี้วัดความสำเร็จอาจจะดูจากผลประกอบการปลายปี หรือยอดเงินปันผลโดยรวม กว่าจะรู้กำไรขาดทุนต้องรอตอนให้หมดปี แต่ไม่ค่อยสนใจว่าระหว่างปี และไม่ได้ให้ความสำคัญว่าลูกค้าแต่ละรายจะสร้างรายได้ให้ธุรกิจมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร
แต่ในปัจจุบันมีการใช้กลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า Average Revenue Per Account per year (ARPA) หรือ กลยุทธ์สร้างรายได้เฉลี่ยต่อบัญชีต่อปี มาใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะธุรกิจสตาร์ตอัปและธุรกิจขนาดเล็ก เพราะหัวใจสำคัญของ ARPA คือ การแยกลูกค้าแต่ละรายออกจากกัน แล้วค่อยหากลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้จากลูกค้าแต่ละรายนั้น
ชุดแนวคิดนี้ดูจะย้อนแย้งกับความเป็นจริงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในสังคมไทย เพราะบางครั้งจะเห็นการรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจเอาไว้ เพื่อผลประโยชน์ในอนาคต อาจมีความสำคัญกว่าการไม่มีรายได้เลยในปีนั้นก็ได้ แต่ในต่างประเทศพบว่ามีหลายบริษัทนำหลักการ RAPA นี้ไปใช้จนประสบความสำเร็จมาแล้ว
ลองเปรียบเทียบการสร้างรายได้ตามโมเดล ARPA สมมติว่า ต้องการมีรายได้ 100 ล้านเหรียญต่อปี คุณจะเลือกทำสิ่งต่อไปนี้ คือ
- มีลูกค้า 1 ล้านราย แต่ละรายสร้างรายได้ 100 เหรียญต่อปี หรือ
- มีลูกค้า 100,000 ราย แต่ละรายสร้างรายได้ 1,000 เหรียญต่อปี หรือ
- มีลูกค้า 10,000 ราย แต่ละรายสร้างรายได้ 10,000 เหรียญต่อปี หรือ
- มีลูกค้า 1,000 ราย แต่ละรายสร้างรายได้ 100,000 เหรียญต่อปี หรือ
- มีลูกค้า 100 ราย แต่ละรายสร้างรายได้ 1 ล้านเหรียญต่อปี
เมื่อนำโจทย์รายได้มาแปลงตุ๊กตาธุรกิจ โดยเปรียบเทียบกับตัวสัตว์ต่าง ๆ จะเห็นภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ถ้าต้องการมีรายได้ระดับ 100 ล้านเหรียญ สินค้าจะต้องเป็นสินค้าที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่โจษขานกว้างไกลไปทุกหย่อมหญ้า และทุกคนจำเป็นต้องใช้ เปรียบกับจำนวนหนู 1 ล้านตัว
2. ถ้าต้องการมีรายได้ระดับ 100 ล้านเหรียญ จะต้องเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องใช้แต่ไม่ใช่ทุกคน เปรียบกับกระต่าย 100,000 ตัว
3. ถ้าต้องการมีรายได้ระดับ 100 ล้านเหรียญ เป็นสินค้าที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่กำหนดไว้เช่นกัน หลายบริษัทใช้กลยุทธ์นี้ เปรียบกับจำนวนกวาง 10,000 ตัว
4. ถ้าต้องการมีรายได้ระดับ 100 ล้านเหรียญ เป็นสินค้าที่ตลาดต้องการเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 3 แต่ต้องการลูกค้าที่มีกำลังทรัพย์มากกว่าคือ ต้องการแค่ 1,000 ราย เปรียบกับจำนวนช้าง 1,000 ตัว
5. ถ้าต้องการมีรายได้ระดับ 100 ล้านเหรียญ เปรียบกับจำนวนปลาวาฬจำนวน 100 ตัว แต่ละตัวสร้างรายได้ 1 ล้านเหรียญ
ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกล่าสัตว์ประเภทไหน ถ้าเลือกล่าสัตว์เล็กก็ต้องล่าให้ได้จำนวนมาก ๆ แต่ถ้าเลือกสัตว์ใหญ่ก็ล่าเพียงไม่กี่ตัวแต่ได้ผลเท่ากัน
อย่างไรก็ตาม การเดินไปสู่เป้าหมายรายได้ 100 ล้านเหรียญต่อปี ด้วยแนวทางดังกล่าวเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ยังมีกลยุทธ์เสริมบางอย่างอีก และมีนักธุรกิจเจ้าของกิจการสามารถนำไปใช้ได้แล้ว นั่นคือ
มูลค่าเวลาชีวิต (LTV)
Lifetime Value (LTV) คือ มูลค่าที่เราคาดการณ์ว่าลูกค้าหนึ่งรายจะสร้างรายได้ให้บริษัทตลอดระยะเวลาที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทเท่าไร เช่น คอร์สรักษาทรีตเมนต์สิว 1 ครั้ง 500 บาท ลูกค้าหนึ่งคนต้องทำ 10 ครั้งถึงเห็นผล จะทำให้บริษัทประเมินได้ว่าจะสร้างกำไรจากลูกค้าคนนี้ได้ 10,000 บาท และมาทำงบประมาณที่ควรใช้ในการรักษาลูกค้าเก่าว่าเป็นเท่าไร
The Viral Effect
เจ้าของธุรกิจควรคำนึงถึงคือผลกระทบจากกระแสช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ลองนึกถึง Facebook, Instagram, Snapchat และ WhatsApp และผลกระทบจากไวรัล ที่ทำให้บริษัทเหล่านี้เข้าถึงผู้ใช้หลายร้อยล้านคนได้อย่างไร
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่หรือกลุ่มสตาร์ตอัป อาจลองใช้วิธีต่าง ๆ เหล่านี้ ที่สำคัญอีกประการคือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพควบคู่กับการให้บริการที่ยอดเยี่ยม จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นใจ
แต่ทั้งนี้ เป้าหมาย 100 ล้านเหรียญก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ ต้องทำงานหนัก และต้องคิดนอกกรอบเพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ นั่นเอง
แหล่งข้อมูลบางส่วน Thoughts on Internet Startups, SaaS and early stage investing from Christoph Janz @ Point Nine Capital อ่านเพิ่มเติมที่ลิงค์ ฝ่ายขายปรับตัวอย่างไรในยุคโควิด ต้องรู้! 7 วิธีพา SME ฝ่าวิกฤต ขยายธุรกิจให้ได้ 3 หมื่นล้าน! แบบ Unicorn Startup – Digital Business Consult