Categories: WISDOM

ถอดบทเรียน…คนไทยได้อะไรจาก 5G (ตอนที่ 1)

5 / 5 ( 1 vote )

ถึงวันนี้ผลประมูลคลื่นความถี่ 5G ครั้งประวัติศาสตร์ได้ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อย  ในครั้งนี้รัฐมีเงินเข้าประเป๋ากว่า 1 แสนล้านบาท และหากนับรวมการประมูลคลื่นความถี่ตั้งแต่ 3G 4G และ 5G แล้ว กสทช. ทำเงินเข้ารัฐจากการประมูลคลื่นความถี่ได้กว่า 560,713 ล้านบาท…

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินว่าการประมูล 5G จะฃ่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ กว่า 177,039 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 1.02% ของ GDP

แต่ทราบหรือไม่ว่า ราคาประมูลคลื่นความถี่ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงบ้านเรา) โดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ของประเทศที่พัฒนาแล้วถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับรายได้ต่อหัวของประชากร

รายงานเรื่อง Spectrum pricing in developing countries Evidence to support better and more affordable mobile services ที่ออกโดย สมาคม GSMA ระบุว่า ราคาประมูลคลื่นความถี่ที่สูงเกิดขึ้นจากการกำหนดนโยบายจัดสรรคลื่นความถี่ ภายใต้เป้าหมายของการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ในราคาที่สูงของโอเปอเรเตอร์ มีผลโดยตรงกับการให้คุณภาพและราคาในการให้บริการอินเทอร์เน็ต

ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะให้ความสำคัญกับคลื่นความถี่ในฐานะทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ช่วยเสริมสร้างรากฐานของภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชน จึงให้โอเปอร์เรเตอร์นำไปจัดสรรในต้นทุนที่ต่ำ ภายใต้ข้อกำหนดของอัตราค่าบริการที่ไม่สูง  เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายที่สุด

หลายคนอาจจะแย้งว่า…ปัจจุบันอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตในบ้านเราก็ไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน นั่นก็ถูกต้องครับ แต่หากค่าบริการถูกกว่าที่ใช้งานในปัจจุบันจะดีหรือไม่…

ข้อมูลจาก รายงานสภาพตลาดโทรคมาคม ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ที่ออกโดยสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า ปัจจุบัน Mobile Broadband หรือ อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ มีอัตราค่าบริการอยู่ที่ 0.17 บาท/MB เพิ่มขึ้น 0.02 บาท/MB จากไตรมาส 3 ปี 2561 โดยค่าบริการนี้ยังไม่รวมต้นทุนของโอเปอเรเตอร์ที่จะเกิดขึ้นจากการประมูลคลื่นความถี่ 5G

เงินลงทุนในการประมูลคลื่นความถี่เป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญของโอเปอเรเตอร์ ที่มีผลต่อคุณภาพและการกำหนดค่าบริการ หากโอเปอร์เรเตอร์ สามารถเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ในต้นทุนที่ต่ำลง ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ให้ดีขึ้นในอัตราค่าบริการที่ต่ำลงได้

ลองคิดดูเล่น ๆ ว่า ถ้าบริการอินเทอร์เน็ตมีอัตราค่าบริการที่ 0.10-0.12 บาท/MB จะดีแค่ไหน…ปริมาณการใช้งาน content ดูหนัง ฟังเพลง ส่งข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเท่าไร อัตราการครอบคลุมพื้นที่และอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรจะเป็นอย่างไร

ในขณะที่เราคาดหวังว่า ประชากร 100% จะสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่วันนี้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และคนในพื้นที่ห่างไกล กลับไม่สามารถทำได้… เป็นการสูญเสียโอกาสของประเทศ



อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.