Categories: WISDOM

อ่านหนังสือเลวอย่างไรให้ได้ประโยชน์

สมัยเป็นนักเรียน นักศึกษา เราได้รับความรู้มากมายจากครูอาจารย์ เช่นเดียวกับชีวิตจริง เราเรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตัวเราเอง

หลายคนมีคติประจำตัวในการใช้ชีวิต คือ การเรียนรู้จากสิ่งไม่ดี นั่นหมายถึง การมองเห็นสิ่งดี ๆ ที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวที่ไม่ถูกใจเรา หรือเรื่องแย่ ๆ ที่เข้ามาปะทะเรา

มองในมุมใหม่แล้วทำให้เป็นเรื่องดีให้ได้

ขอเปรียบเปรยสิ่งนี้ว่า “อ่านหนังสือเลวให้เป็นประโยชน์” หรืออาจจะพูดอีกอย่างว่า เมื่อเจอเรื่องราวใด ๆ โดยเฉพาะเรื่องลบ ก็ขอให้มองไปอีกด้านหนึ่งเผื่อจะเป็นประโยชน์กับตัวเรา ถึงแม้ว่าในความเป็นจริง บางคนไม่สามารถทำได้เลยก็ตามที

เมื่ออ่านหนังสือจบแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ก็ยังดีที่ได้รู้ว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ดีอย่างไร

ในเวลานี้ ตอนนี้…คนไทยและผู้คนทั่วโลก กำลังประสบเรื่องแย่ ๆ พร้อมกันนั่นคือ การระบาดของโควิด 19 และยังต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจและธุรกิจตกต่ำอีก แล้วเราจะได้บทเรียนอะไรบ้าง จากสถานการณ์ที่กำลังเลวร้ายอยู่ในขณะนี้

passion gen มีคำแนะนำเบา ๆ มาให้ลองฝึกกันดูว่า เราจะพลิกเรื่องแย่ ๆ ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงปรับจูนแนวคิดใหม่ ๆ ในการใช้ชีวิต เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังรอเราอยู่เบื้องหน้า

เริ่มจากหากต้องกักตัวหรือทำงานอยู่กับบ้าน สิ่งแรกที่ทำได้เลยโดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย คือ การรักษาความจำและสมองของเราให้อยู่ดีให้ได้ ด้วยการเล่นเกมส์ต่าง ๆ เช่น เกมใบ้คำ หรือ ทายปัญหา ทำเป็นประจำจะช่วยให้ความทรงจำดีหรืออาจดีขึ้นกว่าเดิม

อีกอย่างที่สามารถฝึกได้ขณะอยู่บ้าน นั่นคือ การทำสมาธิ รวมถึงการกำหนดลมหายใจ เพราะช่วยให้ปรับสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ การฝึกเช่นนี้จะทำให้จิตใจมีความสามารถในการจับสัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เท่ากับว่าเรามีหมอประจำตัวอยู่กับเราตลอดเวลา

สำหรับวงการธุรกิจ เจ้ากิจการ ผู้บริหาร และคนที่เป็นผู้นำครอบครัว ก็สามารถทำได้เช่นกัน คือจะต้องเตรียม “เสบียงและพลังงาน” ให้พร้อม สำหรับที่จะเดินทางระยะยาว หลังจากผ่านพ้นช่วงโควิดไปแล้ว

เสบียงและพลังงานที่ว่านี้ รวมถึงการเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานยุคปัจจุบัน จะต้องปรับตัวไปสู่รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เดินไปข้างหน้าได้ สิ่งที่เคยทำมายาวเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน การสร้างพลังงานที่มีอยู่ในแต่ละคน หากสามารถรวมกันได้ก็เกิดเป็นทีมเวิร์คที่ดี

ในช่วงวิกฤตไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายองค์กรเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ถือโอกาสเชิญพนักงานมูลค่าต่ำ หรือ ด้อยประสิทธิภาพออกไปอย่างเนียน ๆ ทั้งที่ผลประกอบการอาจไม่แย่ขนาดนั้น แต่ต้องการเตรียมพลังงานใหม่ ไว้รอวันฟื้นตัวต่างหาก

แต่ที่ร้ายกว่าคือ การรู้ปัญหาแต่ไม่แก้ไขปรับปรุง อาจจะตีความได้เลยว่า นอกจากเลือกอ่านหนังสือที่เลวแล้ว ยังไปสนใจแต่เนื้อหาแย่ ๆ ในนั้นอีก สุดท้ายไม่ได้อะไรเลย

ท่ามกลางความไม่แน่นอนเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนาคต เริ่มสร้างแนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการชีชีวิตแบบใหม่ ที่เรียกว่า New normal ออกมามากขึ้น ๆ

อย่างไรก็ดี หนังสือทางความคิดที่ดีของชาวอินเดียก็อาจจะไม่เหมาะกับชาวญี่ปุ่น บทเรียนในหนังสือของชาวอเมริกัน ก็ย่อมแตกต่างจากมุมมองของคนไทย หรือชาวเอเชียชาติอื่น ๆ

ในอีกแง่มุมหนึ่ง คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกทั้งใน สิงค์โปร์ ฮ่องกง ลอนดอน นิวยอร์ค รวมถึงกรุงเทพ และที่อื่น ๆ เริ่มปรับเปลี่ยนชีวิตตัวเองไปแล้ว

พวกเขาเริ่มเดินเข้าสู่วิถีใหม่หรือทำการ Re-design ชีวิตตัวเอง อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องหนีไปเดินเส้นทางใหม่ ที่น่าจะปลอดภัยจากโรคระบาดมากกว่าเส้นทางในปัจจุบัน หรือมุ่งหน้าไปทำธุรกิจใหม่ ๆ

สิ่งที่น่าจับตาสำหรับคนเมือง คือ พวกเขาเริ่มใฝ่ฝันที่จะทำงานเพียง 1-2 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น ไม่ใช่ 5-6 วันต่อสัปดาห์อย่างที่เคยเป็นอยู่

คนสิงคโปร์ถึงกับยกเรื่องนี้ ว่าเป็นงานในฝันเลยทีเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเมืองใหญ่ที่เคยพลุกพล่านก็คงจะเงียบเหงาน่าดู

สำนักข่าวใหญ่ทั่วโลก ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ต่อไปนี้วิถีชีวิตผู้คนในเมืองใหญ่ จะเปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมาก เพราะถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตอนนี้ อีกไม่นานโลกใหม่จะมาเปลี่ยนเราเอง เมื่อถึงเวลานั้น เราทุกคนอาจจะเจอวิกฤติหนักหน่วงกว่าเดิมเสียอีก

สำหรับคนกรุงเทพ รูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนไปแล้ว เช่น

การทำงานอยู่บ้าน ตอนนี้คนไทยชอบอยู่บ้านมากขึ้น ยกเว้นเด็กและเยาวชนที่ยังอยากออกนอกบ้าน ส่วนคนทำงานได้เรียนรู้แล้วว่า รูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนไปกลับทำให้เขาสามารถทำงานได้ดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าอาหาร ค่าพาหนะเดินทางได้มากขึ้น

ส่วนบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ก็กำลังเปลี่ยนที่ทำงานไปด้วย เช่น โตโยต้า ตอนนี้เตรียมแผนจะย้ายออฟฟิศหลักออกจากใจกลางเมืองไปอยู่ชานเมืองแทน เพราะพนักงานทำงานอยู่บ้านมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องเช่าออฟฟิศใหญ่ ๆ แพง ๆ ใจกลางเมือง ขณะที่ เอไอเอ ก็กำลังสร้างออฟฟิศเพิ่มในทำเลนอกเมืองมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การมาของโควิด 19 ส่งผลให้คนไทยดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผลก็คือ ประเทศไทยกลายเป็นเมืองที่ชาวตะวันตก อยากย้ายถิ่นฐานเข้ามามากที่สุด  

ไม่แน่ว่า คลื่นมหาชนนานาชาติ อาจจะทะลักเขามาไทยหลังโควิด 19 ก็เป็นได้ และคนเหล่านี้ก็จะไม่อยู่ในตัวเมือง ส่วนมากจะหนีไปอยู่ต่างจังหวัดมากกว่า

ลองนึกดูว่าหากมีชาวต่างชาติไปอาศัยระยะยาวตามจังหวัดต่าง ๆ จะสร้างโอกาสอะไรบ้าง เช่น ความต้องการที่อยู่อาศัย สินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้จะขายดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่จะดีขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ บางเรื่องก็ต้องยอมรับสภาพอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในอนาคตเราอาจไม่มั่นใจที่จะไปชมคอนเสิร์ต หรือ เชียร์การแข่งขันกีฬา ที่มีผู้คนนับพันนับหมื่นอยู่ในที่เดียวกัน

รวมถึงการเดินทางไปที่ที่ไม่คุ้นเคย ก็อาจจะไม่สามารถทำได้เต็มที่ แต่เรื่องนี้ก็นำไปสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้ดีขึ้นต่อไป

เห็นไหมว่า เมื่อเกิดเรื่องแย่ ๆ ขึ้น ก็ใช่ว่าจะส่งผลกระทบแต่เรื่องไม่ดี ตรงกันข้ามกลับนำสิ่งใหม่ ๆ มาสู่ชีวิตมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าจะมองจากมุมไหน และได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.