Categories: WISDOM

ถอดบทเรียนสูตรอเมริกันฟุตบอลลีก สู่ภาคธุรกิจในยุคโควิด

4.5 / 5 ( 12 votes )

อเมริกันฟุตบอล (Football) ถือเป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในอเมริกา แต่ละปีจะมีแมทช์การแข่งขันมากมาย แต่ละทีมจะมีแฟนคลับอยู่มากมายด้วย แต่เบื้องหลังความสำเร็จของแต่ละทีมน่าสนใจไม่น้อย เพราะเต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกผู้จัดการทีม โค้ช และตัวผู้เล่นต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น

ในเกมอเมริกันฟุตบอล ผู้เล่นตัวเด่น ๆ หลายคนไต่เต้าเป็นมหาเศรษฐีหรือซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังได้ไม่ยาก หากสามารถแสดงฝีมือและโชว์ความสามารถได้อย่างโดดเด่น จึงไม่แปลกที่จะมีการทุ่มเงินเพื่อแย่งชิงตัวสตาร์มาอยู่ในมือ ยิ่งไปกว่านั้น ผลงานของทีมจะดึงเม็ดเงินธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมหาศาล เรียกได้ว่าหากทีมใดประสบความสำเร็จ สินค้าหรือสปอนเซอร์ต่าง ๆ ก็จะวิ่งเข้าหา

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในขณะนี้ ส่งผลให้กีฬานี้ตกอยู่ในภาวะยากลำบาก เกมการแข่งขันจำนวนมากต้องยกเลิกไป แต่สิ่งที่ยังคงดำเนินต่อไปคือการคัดเลือกผู้เล่น ผู้จัดการทีม การวางยุทธศาสตร์การเล่นของทีมต่าง ๆ รวมถึงการแสวงหาผู้เล่นหน้าใหม่มาร่วมทีม แต่รูปแบบกลับแตกต่างไปจากเดิมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน 

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง “ฮาร์วาร์ด” Sarah Abbot และ Boris Groysberg พร้อมด้วยนักวิจัยอิสระ Tali Groysberg และ Abhijit Naik จาก Rydberg Roche Pte ได้ถอดบทเรียนจาก National Football League (NFL) เพื่อดูกลยุทธ์ของทีมต่าง ๆ ในการหาตัวผู้เล่นแบบเสมือนจริง ความเป็นผู้นำ การสร้างทีม แฟนคลับ และการวางยุทธศาสตร์ในการแข่งขันเกมอเมริกันฟุตบอล

กลุ่มนักวิจัยชี้ว่า ในช่วงที่ผ่านมาแต่ละทีมมีการแย่งชิงตัวผู้เล่น ผู้จัดการทีม และโค้ช ให้เข้ามาร่วมทีมของตัวเอง ทำให้การมีโยกย้ายตัวผู้เล่นสลับขั้วกันไปมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเสนอและพอใจของทุก ๆ ฝ่ายด้วย

ว่ากันว่าคนที่เล่นเป็นคนที่รับและขว้างบอลหรือ Quarterback ในแต่ละทีมนั้นสำคัญที่สุด (Quarterback ในกีฬาอเมริกันฟุตบอล หมายถึงผู้เล่นที่ยืนอยู่ตำแหน่งหลัง เป็นผู้รับและขว้างบอลส่งให้ผู้เล่นตำแหน่งอื่นๆ คนที่เล่นเป็น Quarterback สามารถวิ่งพาลูกไปจุดต่าง ๆ ได้)

จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าคนที่เล่นตำแหน่ง Quarterback สามารถกำชัยให้ทีมได้เป็นอย่างมาก เฉพาะในช่วงปี 1993 ถึง 2018 ผู้เล่นตำแหน่งนี้สามารถช่วยทีมพิชิตชัยชนะถึง 39.4% เพิ่มขึ้นจาก 32.9 % ในช่วงปี 1981 ถึง 1992

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เล่นตำแหน่งนี้ยังมีความสำคัญที่สุดมากกว่า โค้ช ผู้จัดการทีม รวมถึงเจ้าของทีมมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา นั่นหมายความว่าผู้เล่นในตำแหน่งนี้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าคนที่อยู่ส่วนอื่น ๆ ที่อยู่ในทีมเดียวกัน


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง


คราวนี้มาดูกันว่า ในยุควิกฤตโควิด 19 องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จะเรียนรู้กลยุทธ์จากเกมอเมริกันฟุตบอลได้อย่างไร และจะมีวิธีการคัดเลือกผู้เล่นหรือพนักงานที่ดีที่สุดเข้ามสู่องค์กรได้อย่างไร

เริ่มจากการแสวงหาตัวผู้เล่นแบบเสมือนจริงหรือ Hire virtually เช่นเดียวกับการคัดเลือกตัวนักกีฬา ซึ่งตอนนี้ไม่สามารถทำได้ในสนามจริงอย่างที่เคยเป็นมา สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการคาดการณ์ความสามารถของแต่ละบุคคลล่วงหน้านั่นเอง องค์กรธุรกิจที่จะต้องขุดหาบุคคลที่มีความสามารถที่สุดและดีที่สุดให้เจอและชวนมาร่วมงาน นั่นคือสิ่งท้าทายมากเพราะต่างฝ่ายไม่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน ความจริงแล้วในยุคนี้ก็มีการรับพนักงานในรูปแบบนี้แล้ว โดยแสวงหาพนักงานผ่านโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ เช่น linkedin, Twitter, Facebook และ Google+ เป็นต้น

ประเด็นต่อมา คือ การแสวงหาตัวผู้เล่นที่โดดเด่นมาก ๆ มาอยู่ในทีม ในแวดวงธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความรู้สึกดีและภาคภูมิใจให้กับทีมงาน ลองสังเกตดูว่าผู้เล่นคนอื่นจะรู้สึกภูมิใจมาก เมื่อได้รับการส่งต่อลูกบอลจากซูเปอร์สตาร์ที่อยู่ในทีม การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน น่าจะเป็นเรื่องที่ดีหากมีเพื่อนร่วมงานที่โดดเด่นและมีความสามารถ เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ จะได้ความภาคภูมิใจ และช่วยกันทำงานให้เกิดผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

อีกประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องของการบริหารจัดการความคาดหวังและความคิดต่าง ๆ ของทีมงาน โดยเฉพาะทีมงานที่เกิดขึ้นใหม่ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองทางความคิดเพื่อให้เข้ากันได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ในเนื้องาน วัฒนธรรมองค์กร และความสามัคคีสมานสามัคคีของทีมงาน ทั้งนี้ ข้อพิจารณาเป็นพิเศษในยุคปัจจุบันคือ การทำงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งผู้จัดการทีมจะต้องสื่อสารหรือมอบหมายการทำงานให้กับลูกทีมให้ดี

ประเด็นสุดท้าย ที่ได้จากบทเรียน National Football League คือ ความเป็นผู้นำ องค์กรใดที่มีผู้เล่นหรือพนักงานที่เก่งไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จ จากสถิติของ NFL พบว่า 68.2% ของความสำเร็จเกิดจากผู้นำ

ดังนั้นผู้นำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ ผู้นําที่เก่งจะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้ และยังสร้างนวัตกรรมขึ้นเรื่อย ๆ หรืออย่างน้อยที่สุดจะทำให้องค์กรมีความมั่นคงมากกว่าการหยุดอยู่กับที่หรือถอยหลัง

 

แปลและเรียบเรียงจาก
Lesson from NFL: Virtual hiring, Leadership, Building teams and COVID19

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.