จะว่าไปแล้ว ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ เพียงแต่ต้องเข้าใจเนื้อในของมันด้วยเพราะมันจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ถึง 3 ขั้นตอนคือ ช่วงตอนเริ่มต้น ตอนกลาง และตอนท้ายปิดจบ ของข่าวหรือเรื่องที่เตรียมให้นักข่าว
ช่วงต้นของข่าว คือ ต้องมีจุดน่าสนใจหรือประเด็นที่ดีเป็นที่สนใจของนักข่าว ต้องแสดงให้นักข่าวเห็นว่าพีอาร์สามารถเข้าใจความต้องการของสื่อ
ในเรื่องนี้ Salamunovic บอกว่า สองสามบรรทัดแรกของการเปิดเรื่องต้องเป็นการดึงข้อมูลหลาย ๆ ส่วนมาใช้ คุณต้องแสดงให้เห็นว่า คุณได้ทำการวิจัยมาก่อน และนั่นคือสิ่งที่ความพยายามที่แท้จริงปรากฏให้เห็น
ช่วงกลาง คือ ที่ที่พีอาร์จะใส่ข้อมูลเบื้องหลังบริษัทของลูกค้า ปัญหาต่าง ๆ ที่ได้แก้ไขแล้ว และลิงก์ที่นักข่าวจะใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ ทั้ง Salamunovic และ Balke บอกว่า นี่เป็นส่วนที่ทำให้เนื้อหาลึกกว่าเรื่องทั่ว ๆ ไป
ส่วนสุดท้าย คือ จะเป็นส่วนที่คุณเปิดให้นักข่าวหรือสำนักพิมพ์ ถามคำถามเฉพาะเพิ่มเติม อย่าทำผิดพลาดเพียงแค่ส่งข้อมูล แต่ควรเสนอให้สอบถามในสิ่งที่เจาะจงได้ และต้องให้เบอร์โทรศัพท์ของพีอาร์เพื่อให้นักข่าวสามารถติดต่อกลับได้
ตัวอย่างข้างล่างนี้ คือสิ่งที่ Salamunovic ทำกับ CanvasPop บริษัทของเขาในการเผยแพร่เรื่องราวลงใน The Verge ลองสังเกตว่า อีเมลที่ให้มันสั้นและเข้าถึงจุดได้อย่างไร?
Have Your House in Order – จัดระเบียบองค์กรของคุณ
หากจะทำให้เรื่องที่นำเสนอดึงความสนใจจากนักข่าวได้ สิ่งแรกที่พวกพีอาร์จะทำคือหาวิธีทำให้มั่นใจว่า พีอาร์ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แบบเดียวกับบริษัทพีอาร์คุณภาพ หรือแพลตฟอร์มเผยแพร่ข่าวสารทำ
ให้ใส่เว็บไซต์ของคุณไว้ด้วย หรือมี LinkedIn ที่ลงประวัติที่ทำให้เป็นปัจจุบัน หรือบัญชีโซเชียลมีเดียก็ใช้ได้ แต่ส่วนนี้อาจจะไม่สำคัญ และในยุคสมัยปัจจุบันที่เน้นย้ำกันเรื่องการเล่าเรื่องแบบที่เห็นภาพ มันจะช่วยได้ หากคุณมี “ภาพที่คุณภาพสูง” บนเว็บไซต์ของคุณสำหรับให้สื่อได้ใช้ แม้จะไม่จำเป็นเท่าไร แต่การลงทุนแค่ครั้งเดียวนี้ จะให้ประโยชน์ต่อคุณในอีกหลายปีต่อมา
จงจำไว้เสมอว่าในแต่ละวันผู้สื่อข่าวแต่ละคน จะได้รับข้อมูลเข้ามาให้เลือกกันมากมายไม่ต่ำกว่า 50-100 ชิ้น ดังนั้นพีอาร์จะต้องพยายามเข้าใจนักข่าว ลองจินตนาการดูว่าทุก ๆ คนพูดว่า “มองฉันสิ มองฉันสิ มองฉันสิ” แล้วหน้าที่ของพีอาร์คือ ทำอย่างไรให้ข้อมูลของลูกค้าที่คุณดูแลโดดเด่นออกมาได้
ตัวอย่างที่ Salamunovic ทำเมื่อครั้งที่บริหารงานอยู่ที่ DNA 11 และต้องการเปลี่ยนภาพ DNA เป็นงานศิลปะ เขาเปิดตัวธุรกิจนี้ในรายการโชว์ทางโทรทัศน์ที่มียอดคนดูมากที่สุดรายการหนึ่ง
เขาเขียนโน้ตด้วยลายมือตัวเอง แล้วส่งไปให้โปรดิวเซอร์ของ CSI New York ผ่านไปหลายเดือนก็ไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ เกิดขึ้น จนวันหนึ่งเขาก็ได้รับโทรศัพท์จาก Executive Director บอกว่ากำลังทำตอนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับบริษัทของ Salamunovic และต้องการงานอาร์ตเวิร์กสักชิ้นมาโชว์ และสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นคือ เขาเขียนโน้ตด้วยลายมือเขียนของตัวเอง
พีอาร์จะต้องเข้าใจว่านักข่าวเป็นคนที่มีงานยุ่ง ทำงานภายใต้แรงกดดันด้านเส้นตาย และบ่อยครั้งแม้ว่าจะชอบเรื่องของคุณ แต่พวกเขาก็ไม่ใส่ใจหรือตอบกลับทันที จนกว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่พวกเขากำลังทำงานอยู่ในเวลานั้น ดังนั้น วางแผนติดตามนักข่าวที่อยู่ในลิสต์รายชื่อสื่อของคุณให้ดี
ขอยกตัวอย่างเรื่องของ Melanie ที่วางแผนดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นแรก เธอส่ง Pitch งานครั้งแรกไป จากนั้น ส่งอีเมล Follow up ตามไปใน 5 วันต่อมาหลังจากส่ง Pitch ครั้งแรก เธอใช้สิ่งนี้เป็นโอกาสในการเช็กอิน และส่งข้อมูลที่น่าสนใจ ลิงก์และบทความปัจจุบัน รวมถึงแนวคิดอื่น ๆ ตามไปด้วย ที่แสดงให้เห็นว่า เรื่องของเธอมันเหมาะกับกลุ่มผู้อ่านของสื่อรายนี้อย่างไร
อีเมลที่สาม จะเป็นอีเมลติดตามผล ออกแบบให้ง่ายกับนักข่าวในการตอบกลับ และในอีเมลนี้เช่นกันที่ Balke จะหาวิธีที่ทำให้ดูโดดเด่นออกมา
ฉันเคยเห็นบางคนทำสิ่งที่น่าตลกในอดีตที่ผ่านมา สิ่งที่เราจะทำคือ เราจะบอกว่า “นี่แหนะ ฉันรู้ว่า คุณยุ่งมาก ก็เลยมี 3 ตัวเลือกให้คุณเลือก” ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้
พีอาร์ต้องมีอะไรที่ แตกต่าง ตลก และสะท้อนตัวตน อย่าแค่ส่งอีเมลขายสินค้าแบบพื้นฐานที่ใคร ๆ ก็ได้รับไป แต่ต้องทำอะไรที่ทำให้คนรับอีเมลต้องพูดว่า “โอ้ ดูสิ นี่เป็นอีเมลที่สนุกดี ฉันต้องตอบกลับเขาสักหน่อย”
ต้องออกแบบ ข้อความที่จะใช้เขียนบน Subject line ให้มีชั้นเชิง อย่างเช่น Follow up #2 ซึ่งจะทำให้นักข่าวที่ได้รับอีเมลระลึกได้ว่า ลืม หรือพลาดอีเมลแรกที่คุณเคยส่งมาไปแล้ว ขอแนะนำให้ลองไปดู Cold email ที่ Sam Parr ทำกับ Webinar เพื่อจะได้เข้าใจศิลปะการเข้าถึงผู้คนด้วย และการ “ติดตาม” ผลอีเมลที่ส่งไปที่มีประสิทธิภาพว่าเป็นอย่างไร
แปลและเรียบเรียงจาก Guide to getting media attention by Ethan Brooks, May 26, 2020
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.