เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ประเทศจีนเปิดตัว “เงินหยวนดิจิทัล” ในช่วงที่สหรัฐอเมริกา กำลังระส่ำกับปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อรวมกกันมากกว่า 1.3 ล้านคน… ถ้าเปรียบเป็นเชิงมวยก็ต้องบอกว่า เป็น “ฮุคขวา” ที่เข้าเป้าในจังหวะเหมาะที่สุดในช่วงที่สหรัฐอเมริกากำลังอ่อนแรง และนั่นทำให้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซวนเซจนต้องประกาศสงครามการค้ารอบใหม่…
ปัจจุบันประเทศจีนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก และด้วยความพร้อมของจีน ณ เวลานี้จึงเปรียบมวยกับสหรัฐได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
แม้สื่อในกระแสหลักอย่างไชน่าเดลี่ จะเปิดเผยว่า หยวนดิจิทัลจะทดลองครั้งแรกใน 4 เมือง คือ เสิ่นเจิ้น ซูโจว เฉิงตู สงอัน และเป็นหนึ่งในแผนการที่เตรียมการล่วงหน้าหลายปี แต่ในอีกมุมหนึ่งจีนได้ซุ่มทำบล็อกเชนโดยประกาศกฎหมายใช้ในเดือนมกราคม 2563 และร่วมมือกับพันธมิตร Digital Payment ในประเทศเพื่อสร้างแพลตฟอร์รองรับการใช้งาน…นั่นคือ ภาพของหยวนดิจิทัลที่บวกกับบล็อกเชนแพลตฟอร์ม ทำให้เงินหยวนดิจิทัลไม่ธรรมดาเสียแล้ว
ขณะที่ทั่วโลกกำลังก้าวสู่ดิจิทัลจากการบังคับให้ปรับเปลี่ยน (Forced Transformation) โดยไวรัสขนาดเล็กที่ชื่อว่าโควิด-19 การทำธุรกรรมการเงินผ่านดิจิทัลก็มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ eMarketplace รายใหญ่ ทั้ง ซึ่งนับรวมไปถึง Alibaba Taobao Lazada และ Shopee ขณะที่สำนักงานบริหารเงินตราต่างประเทศแห่งชาติจีน ระบุว่า สัดส่วนการใช้เงินหยวนในการชำระเงินระหว่างประเทศสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 38% ในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของการชำระเงินซึ่งสะท้อนว่าเงินหยวนมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก นับจากที่เงินหยวนของจีนถูกนำมาคำนวณในตะกร้าเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2015
ข้อมูลนี้สะท้อนถึงความสำคัญของเงินหยวนที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบการชำระเงินของโลก ขณะที่เงินหยวนเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลัก 1 ใน 5 ของโลกที่มีบทบาทในการค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทจีน และยังเป็นสกุลเงินหลักที่มีทองคำหนุนหลังมากที่สุดอีกด้วย ทั้งนี้รวมถึงเงินหยวนดิจิทัลที่มีทองคำแบคอัพเช่นเดียวกัน
ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและตื่นเต้นกับ Digital Currency เช่น บิทคอยน์ ที่มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่กูรูด้านการเงินส่วนหนึ่งกลับมองว่า เป็นเพียงสกุลเงินของเล่นที่ไม่มีค่าอย่างแท้จริง เพราะแม้บิทคอยน์ จะสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าได้เหมือนเงิน แต่การสวิงของค่าเงินจาก 20,000 บาทต่อ 1 บิทคอยน์ เหลือเพียง 3,000 บาท เป็นการสวิงของค่าเงินที่สะท้อนถึงความขาดเสถียรภาพ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สกุลเงินหลักต้องมี…เมื่อวัดกันยาวๆแล้วหยวนดิจิทัลจึงมีภาษีดีกว่า
ในขณะที่ Digital Currency ส่วนใหญ่มักมีความหมายถึง Crypto Currency เช่น บิทคอยน์ แต่หยวนดิจิทัลกลับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางหรือเรียกว่า CBDC (Central Bank Digital Currency) ซึ่งปัจจุบัน มีหลายประเทศที่กำลังจะใช้เงินดิจิทัลนี้เช่น สวีเดน และบางประเทศอยู่ระหว่างการศึกษารวมถึงประเทศไทยด้วย
ขณะเดียวกัน Libra ก็เป็นอีก Digital Currency ที่ถูกจับตามองอย่างมากเช่นกัน Libra เป็น Digital Currency ที่ Facebook เป็นผู้คิดขึ้นและมีแผนประกาศใช้ในปี 2020 (แต่คาดว่าจะเลื่อนออกไป) โดย Libra มีเป้าหมายจะเป็น Global Currency หรือสกุลเงินที่ใช้ค้าขายทั่วโลก โดย Libra ได้ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรระบบชำระเงินชั้นนำ เช่น Master card, Paypal, VISA, eBay, Spotify
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า Digital Currency ไหนจะมีอิทธิพลมากกว่ากัน?
วันนี้ Libra มีเครือข่ายผู้ใช้งานที่มากกว่าแพร่หลายมากกว่า แต่หากเทียบกับหยวนดิจิทัล ที่มีทุนสำรองของจีนหนุนหลังแล้ว ต้องบอกว่า หยวนดิจิทัลมีความแข็งแกร่งและเหมาะสมในด้านการค้ามากกว่า แต่บนโลกดิจิทัลแล้วเชื่อว่าทั้ง 2 สกุล จะมีตลาดและกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน สามารรถเติบโตไปได้ทั้งคู่ กลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบมากว่ากลับเป็น Digital Currency อื่น ที่มีความแข็งแกร่งน้อยกว่าได้รับการยอมรับน้อยกว่านั่นเอง
สิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าสกุลเงิน Digital Currency มีศักยภาพหรือมีประสิทธิภาพแค่ไหนนั้น จะชี้วัดด้วย 3 ประการ ได้แก่ ความมีเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย สกุลเงินใดจะได้รับยอมรับมากหรือน้อย ล้วนขึ้นอยู่กับ 3 ประการนี้ นั่นคือ เสถียรภาพ สกุลเงินนั้นมีผู้ดูแล ไม่ให้เกิดความผันผวน มีเงินทุนสำรอง (ทองคำ) หนุนหลัง ความน่าเชื่อถือ เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ มีมูลค่าแท้จริงเป็นที่ยอมรับ กล้าที่จะถือเงินนั้นและใช้ทำการค้า ความปลอดภัย สามารถซื้อขายแล้วเปลี่ยนได้อย่างวางใจ ค่าเงินไม่แกว่งขึ้นลงมากเกินไป รวมถึงมีระบบการชำระดิจิทัลทีดี
เมื่อจีนเป็นตลาดการค้าและคู่ค้าที่สำคัญของไทยทั้งผลไม้และสินค้าราคาถูก หยวนดิจิทัลจึงจะมีบทบาทกับผู้ส่งออกและนำเข้าของไทยในอนาคต การโอนชำระเงินโดยตรงผ่านระบบบล๊อกเชน จะเป็น New Normal ใหม่ของธุรกิจไทยที่ทำการค้ากับจีนอย่างเลี่ยงไม่ได้
ส่วน Libra หาก Facebook เปิดสกุลเงินได้ตามเป้าหมาย Libra จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบ Global Currency ที่มาแทนบทบาทของดอลลาร์ คนไทยและธุรกิจไทยที่เปิดเพจบน Facebook ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมใช้ที่ดอลลาร์สหรัฐในการซื้อโฆษณา ก็ต้องหันมาใช้ Libra แทน แต่มุมของการใช้ Libra นั้น จะเป็นรูปแบบของการใช้เงินแบบ Wallet คือ เป็นการพักเงินไว้ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเสถียรภาพของสกุลเงินยังไม่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ
ส่วน Digital Currency อื่น เนื่องจากขาดองค์ประกอบการของการเป็นสกุลเงินหลัก การจะซื้อขายเงินจึงออกไปในทางของการใช้งานเฉพาะทางหรือการเก็งกำไรเสียมากกว่า
ในแง่ของสกุลเงินโดยปกติ ยังไงเสียวันนี้ดอลลาร์ก็ยังเป็นสกุลเงินหลักอันดับหนึ่งของโลก ขณะที่หยวนมีความสำคัญในลำดับที่ 5 ซึ่งแน่นอนยังคงเทียบกับความแพร่หลายของดอลลาร์ไม่ได้ แต่ในมุมของการเป็น CBDC แล้วเงินหยวนดิจิทัลก้าวหน้ามากกว่าดอลลาร์ไปหลายก้าวอยู่ เพราะออกจาก Sand Box เข้าสู่สเตจของการทดสอบการใช้งานจริงแล้ว ซึ่งหากผ่านก้าวนี้ไปได้ก็จะใช้แพร่หลายในประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลกต่อไป
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.