โลกใหม่ทางธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น วันนี้ passion gen รวบรวมแนวคิดและมุมมองจากนักวิชาการหลายคนจากหลากหลายสาขา จากสำนัก Harvard Business School มาฝากกัน
เริ่มจากศาสตราจารย์ Michael Beer เสนอทัศนะใหม่ว่า ถึงเวลาแล้วที่องค์กรธุรกิจจะต้องสร้างวัฒนธรรมความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับพนักงานให้ได้ การมาของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ครั้งนี้เป็นความท้าทายใหม่ที่จะนำไปสู่การสื่อสารที่จริงใจ และการพูดแต่ความจริงเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการอยู่ และมันก็ถึงเวลาที่ทำเพื่อให้ผู้บริหารสามารถส่งสารตรงลงไปถึงระดับพนักงานได้ตรง ๆ ชัด ๆ มากขึ้น
ที่จริงแล้วการบริหารงานแบบตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ถือเป็นสิ่งจำเมื่อเกิดวิกฤตขึ้น หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ วัฒนธรรมการไว้วางใจในองค์กรก็ยากที่จะเกิดขึ้น
หากพิจารณาให้กว้างออกไปนอกองค์ ก็จะพบว่าโควิด 19 นำพาเราไปสู่แนวคิดใหม่อีกอย่างนั่นคือ การร่วมมือร่วมใจระหว่างองค์กรธุรกิจและลูกค้า ตามที่ Ryan W. Buell ตั้งข้อสังเกตไว้ อธิบายง่ายๆคือผู้บริหารในองค์กรธุรกิจจะต้องหาทางให้ลูกค้ากลายเป็นผู้ช่วยทางธุรกิจในยุควิกฤตให้ได้ หรือไม่ก็ทำให้ลูกค้ากลายเป็นหุ้นส่วนธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าและเติบโตต่อไปได้
ตัวอย่างแนวทางที่อาจนำมาปรับใช้ เช่น การให้ลูกค้าที่เข้าชมภาพยนตร์เก็บขยะก่อนออกจากโรงภาพยนตร์ จะช่วยให้ย่นระยะเวลาทำความสะอาดได้ หรือการให้ผู้โดยสารเก็บขยะก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดก็จะช่วยให้การทำความสะอาดง่ายและประหยัดเวลา ทำให้เที่ยวบินต่อไปออกตรงเวลามากขึ้น ทั้งสองกรณีนี้คือตัวอย่างที่ดึงลูกค้ามาเป็นผู้ช่วยทางธุรกิจแล้วก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประกอบธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้ถือว่าอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ หลายองค์กรจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานอยู่บ้านจน กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่ง Prithwiraj (Raj) Choudhury ได้เปิดมุมมองใหม่เรื่องการทำงานแบบ Remote work โดยชี้ให้เห็นว่าการทำงานนอกพื้นที่จะกลายเป็นกลยุทธ์ใหม่ทางธุรกิจ แต่การปรับเปลี่ยนเข้าสู่การ work from home หรือ remote work ก็ต้องการช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านสักระยะ องค์กรจะต้องให้ความช่วยเหลือพนักงานด้วยเช่นกัน เบื้องต้นจะส่งผู้เชี่ยวชาญไปติดตั้งและสอนการใช้อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ที่บ้านพนักงาน หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน เมื่อสามารถใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกล ผสมผสานกับการปรับตัวทางเทคโนโลยีได้แล้ว จะช่วยให้การทำงานแบบนอกสถานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือ การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กร ต้องพยายามไม่ให้พนักงานเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนต้องทำงานอยู่เพียงลำพัง องค์กรธุรกิจจะต้องกระตุ้นและสร้างการตระหนักรับรู้ระหว่างพนักงานตลอดเวลา ให้เข้าใจถึงการทำงาน ใช้ชีวิต และการพักผ่อนส่วนตัวในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่พวกเขาคุ้นเคย
ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักเดียวกันอีกคนคือ Amy C. Edmondson สนับสนุนแนวคิดการทำงานในสถานกาณ์ปัจจุบัน โดยเขาเชื่อว่าผู้นำองค์กรคือคนสำคัญที่จะกระตุ้นให้พนักงานร่วมมือร่วมใจในการทำงาน หากมีการสื่อสารด้วยความจริงและไม่ปิดบังด้านมืดและข้อเสียต่าง ๆ จะทำให้การทำงานในยุคโควิด 19 สามารถปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นเรื่องโครงสร้างองค์กรเป็นที่ตั้งมาเป็นการทำงานแบบทีมเวิร์คมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ทันทีแต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ
แนวคิดการบริหารธุรกิจในลักษณะเดียวกันนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่าทั้งพนักงานและสถานที่ทำงานที่ดี เป็นเรื่องสำคัญตามข้อเสนอของ John Macomber ที่เน้นว่าสุขอนามัยของพนักงานจะต้องดีขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่การสวมหน้ากากอนามัย หรือการตรวจอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร แต่ทุกบริษัทจะต้องดูแลอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ให้สะอาด มีมาตรฐาน ตั้งแต่พัดลมเครื่องกรองอากาศ เครื่องทำความร้อน และอื่น ๆ หากที่ทำงานสะอาดปลอดจากเชื้อโรค พนักงานอาจจะมีความมั่นใจและในที่สุดก็จะเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจได้มากขึ้น
อีกคนหนึ่งที่มองโลกธุรกิจในอนาคต แต่มุ่งสนใจเรื่องซัพพลายเชน หรือระบบกระจายสินค้านั่นคือ Stephen P. Kaufman เขามองว่าระบบการกระจายสินค้าจะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ตัวอย่าง เช่น บริษัทอเมริกันซึ่งต้องนำเข้าสินค้าจากอังกฤษ แต่พบว่าบริษัทจากอังกฤษชะลอการผลิตสินค้า เนื่องจากลูกค้าของบริษัทนี้จากอิตาลีก็มีปัญหาเช่นกัน ขณะที่บริษัทลูกค้าย่อย ๆ ที่อยู่ในอาเซียนและประเทศจีนก็ปิดตัวเช่นกัน สถานการณ์แบบนี้ผู้บริหารองค์กรจะต้องเพิ่มความสนใจมากกว่า 1 ขั้นในเรื่องการจัดการระบบซัพพลายเชน และต้องเข้าถึงระบบการทำงานเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งมากกว่าเดิม
ปิดท้ายแนวคิดเรื่อง Future Business จากสำนักฮาร์วาร์ดด้วยแนวคิดของ Willy C. Shih ที่ได้เปิดมุมมองใหม่เรื่องแหล่งผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุดิบต่าง ๆ จากเดิมที่ทั่วโลกต้องช็อคเมื่อโรงงานผลิตในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบขนาดใหญ่ของโลกต้องหยุดชะงัก แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องปรับทิศทางใหม่ คือต้องหาแหล่งวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศจีน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและยังได้เปิดประตูหาพันธมิตรใหม่ ๆ ในประเทศอื่น ๆ อีกทางด้วย
แปลและเรียบเรียงจาก
How the Coronavirus is already rewriting the future of business
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.