Categories: WISDOM

ใช้ชีวิตให้เป็นต่อ ต้องต่อรองให้เป็น (ตอนจบ)

5 / 5 ( 1 vote )

จากตอนแรกได้สรุปอาวุธในการเจรจาต่อรองไปแล้ว 4 ข้อ ยังเหลืออีก 3 ข้อยกยอดมาตอนนี้ มีอะไรบ้างไปดูกันต่อเลย

5. แยกส่วนผลที่ได้รับ ควบรวมความสูญเสีย

นี่คือหนึ่งในกลยุทธ์การเจรจาต่อรองที่มืออาชีพมักใช้กันเสมอ และทำให้ข้อเสนอของคุณเกินเลยกว่าสภาพความเป็นจริงของมัน การแบ่งแยกผลที่ได้รับหมายถึง การระบุผลประโยชน์ที่จะได้รับออกเป็นส่วนๆ แนวคิดเบื้องหลังก็มาจากการที่คนส่วนใหญ่ในจิตใต้สำนึกมักจะชอบที่จะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ประโยชน์ที่ได้รับนั้นถูกพูดหรือเอ่ยถึงเพียงครั้งเดียว เพื่อให้เข้าใจแนวคิดนี้ ลองนึกภาพตามจากสองเหตุการณ์นี้ หนึ่ง คือ คุณเจอธนบัตรมูลค่า 100 เหรียญสหรัฐตกอยู่บนพื้นหนึ่งใบ กับอีกเหตุการณ์ คือ คุณเจอธนบัตรใบละ 50 เหรียญสหรัฐสองใบหล่นบนพื้นในอีกครึ่งชั่วโมงถัดมา คิดว่า คุณจะดีใจกับสิ่งไหนมากกว่ากัน เมื่อใคร่ครวญดีๆ แล้ว ก็ไม่แปลกถ้าคุณจะบอกว่า คุณชอบเหตุการณ์หลังมากกว่า มันทำให้คุณมีความสุขมากกว่า  ดังนั้นเราสามารถนำหลักการเดียวกันนี้ ไปใช้ในการเจรจาต่อรองได้เช่นกัน

ภาพประกอบ จาก pexels.com

สำหรับตัวอย่างว่าจะทำอย่างไร ลองพิจารณาถ้อยคำต่อไปนี้ — โครงการจะเสร็จสิ้นก่อนกำหนดและอยู่ภายในงบ — คุณสามารถแยกส่วนผลที่ได้รับ จากข้อความนี้ เป็นดังนี้

– โครงการจะแล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ทุกประการ

– โครงการจะแล้วเสร็จพร้อมกับใช้งบประมาณ “ต่ำกว่า” ที่กำหนดไว้ 10 เปอร์เซนต์

– โครงการจะแล้วเสร็จ “ก่อนกำหนดเวลา” ถึง  2 สัปดาห์

พอทำลิสต์แบบนี้ ประโยชน์ที่ได้รับก็ดูเหมือนว่าจะเยอะ และล่อลวงให้ดีใจมากกว่า แต่ในอีกด้าน เมื่อต้องนำเสนอเรื่องการสูญเสีย ให้คุณรวบเป็นก้อนเดียว เพราะในการเจรจาต่อรอง การสูญเสีย เป็นสิ่งที่ฝ่ายตรงข้าม “ยอมแพ้” ฉะนั้น จึงเป็นการดีกว่า ที่จะนำเสนอเรื่องแบบนี้แบบรวมเป็นกลุ่มก้อน แทนการแจกแจงเป็นรายการอย่างละเอียด

6. แบ่งปันข้อมูล

นี่นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การต่อรองที่น่าประหลาดใจ เพราะในการต่อรองนั้น ข้อมูลถือว่าเป็นอำนาจของคนที่มี หากคุณมีข้อมูลมากกว่าฝ่ายตรงข้าม ก็มีแนวโน้มที่คุณจะได้ประโยชน์มากกว่า นี่หมายถึงการเจรจาต่อรองแบบที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน เพราะคุณมีแนวโน้มที่จะ “เก็บทุกอย่าง” ที่จะได้เปรียบอีกฝ่ายเท่าที่ทำได้ แต่แนวคิดอย่างนี้ ไม่ได้รับการยอมรับในการเจรจาต่อรองที่มักเกิดขึ้นในขีวิตทุกๆ วัน ขณะที่การเลือกใช้วิธีการที่ไม่ยืดหยุ่นในการเจรจาที่มีความเป็นมิตรมากกว่า มีแต่จะขัดขวางความเชื่อใจ และนำไปสู่ผลลบกับทุกฝ่าย เพราะมันทำลายความสัมพันธ์ที่อาจรุนแรงถึงระดับยากจะแก้ไข ดังนั้น แทนที่จะกักตุนข้อมูล แบ่งปันข้อมูลกันจะดีกว่า

ข้อมูลที่แบ่งปันอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาต่อรอง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของคุณ เป็นต้น แก่ฝ่ายตรงข้ามจะทำให้พวกเขามองเห็นโลกของคุณ และเปิดโอกาสให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลกันบ้าง และข้อมูลแบบนี้แหละ ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น เข้าใจกันได้มากขึ้น ตลอดจนยังเพิ่มความสัมพันธ์และความไว้วางใจต่อกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาในน้ำเสียงที่เป็นบวกมากขึ้น

ภาพประกอบ จาก pexels.com

7. อย่าคิดย่ามใจ หรือละโมบ เด็ดขาด

นี่คือประเด็นสุดท้ายที่จะพูดถึง แต่อย่าคิดว่ามันสำคัญน้อยกว่าประเด็นอื่นเด็ดขาด ผู้ชนะที่ดีย่อมไม่นำชัยชนะของตนไปสร้างความขุ่นใจแก่ผู้พ่ายแพ้ และนี่เป็นกลยุทธ์ที่ดีที่จะอยู่ร่วมกัน การทำย่ามใจมีแต่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามจากไปด้วยความขมชื่นและหากมีโอกาสต้องดีลงานกันอีกในอนาคต ก็แน่นอนว่า พวกเขาต้องคิด “เอาคืน” คุณบ้าง ดังนั้น อย่าสังเวยอนาคตของคุณด้วยการพึงพอใจกับเรื่องแบบนี้ แต่จง “อ่อนน้อมถ่อมตัว” และ “เจียมตัว” กับชัยชนะที่ได้รับ

การเจรจาต่อรองเป็นทักษะที่จำเป็นทั้งในการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิต หากปราศจากทักษะนี้ คุณจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งการต่อสู้ หรือแม้แต่การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ในการซื้อบ้านหลังใหม่ ฯลฯ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควรเรียนรู้ไว้ และฝึกใช้ทักษะการเจรจาต่อรองที่เหมาะสมและจำเป็นนี้ ลองนำเทคนิคข้อใดข้อหนึ่งที่นำเสนอนี้ไปใช้ในครั้งหน้าที่คุณต้องเจรจาต่อรองกับใคร คุณจะประหลาดใจกับผลที่เกิดขึ้นที่แตกต่างไปจากเดิม


Source
- Seven winning negotiation strategies for any situation
entrepreneur.com

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.