พูดกันตรงไปตรงมาก็คือ คนเป็นพ่อแม่มักรู้สึกว่าไม่ค่อยเข้าใจลูกหรือคนรุ่นลูกอยู่เสมอ เพราะช่องว่างระหว่างวัย และตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา ต้องนับว่าเป็นยุคที่ความแตกต่างปะทะกันแรงมาก จนเด็ก ๆ รุ่นนั้น ได้ฉายาว่าเป็นพวก “ประหลาด” หรือ weird gen กันเลยทีเดียว
แม้ครอบครัวปากกัดตีนถีบทางเศรษฐกิจอีกจำนวนมากในประเทศไทยและทั่วโลกที่บรรดาพ่อแม่ปู่ย่าตายายของครอบครัวอาจบอกว่า ไม่มีเวลานึกถึงเรื่องเข้าใจหรือไม่เข้าใจลูกหลาน ไม่มีเวลานึกถึงเรื่องการเลี้ยงลูกหลานให้ดีวิเศษตามตำราใด ๆ เพราะแค่ให้มีกินยังยาก แต่ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การเลี้ยงหรือเตรียมตัวเด็ก ๆ ให้มีชีวิตรอดอย่างแข็งแรงทั้งทางกายทางใจย่อมเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด หรือหากพ่อแม่ตาย ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวไม่ว่าจะยากดีมีจนอยู่แล้ว
ที่สำคัญมันยังเป็นหน้าที่ของรัฐบาลผู้บริหารประเทศ ที่จะเอื้ออำนวยโอกาสต่าง ๆ ของชีวิตตั้งแต่สุขภาพอนามัยไปจนถึงการศึกษาและการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค
น่าสนใจว่าวิธีการเลี้ยงดูเด็ก ๆ ในหนังสือ “Future Proof Your Child for the 2020’s and Beyond” ไม่จำกัดว่าเฉพาะพ่อแม่คนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้นที่จะทำได้ และไม่ได้บอกว่าพ่อแม่ต้องเป็นคนสมบูรณ์แบบ อีกทั้งไม่ได้บอกว่า ต้องปั้นลูกเป็นอัจฉริยะ ถ้าทำไม่ได้คือพ่อแม่ด้อยความสามารถ
แก่นแกนของเนื้อหาที่หนังสือย้ำ มีเพียง ช่วยให้เด็กได้เติบโตเป็นคนเต็มคน
แน่นอนว่า พูดง่ายกว่าทำ แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ หากตั้งใจจะทำ
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ บุช และคอดริงตัน เป็นชาวแอฟริกาใต้ที่เชี่ยวชาญเรื่องเด็กและมีชื่อเสียงในระดับโลก ซึ่งควรต้องบอกด้วยว่าขณะนี้ประเทศแอฟริกาใต้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นผลจากยุทธศาสตร์ 20 ปีของการสร้างฐานความรู้ผ่านกระบวนการศึกษา วิทยาศาสตร์และงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อต่อกรกับปัญหาความยากจน การว่างงาน โรคระบาดและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
บุชและคอดริงตันบอกว่า เมื่อเด็กทุกคนเติบโตมาถึงขั้นที่รับรู้ความหมายของ “อนาคต” พวกเขามักมีคำถามเสมอว่า พวกเขาจะเป็นอย่างไรเมื่อโตขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนคนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองอาจตอบง่าย ๆ เหมือนเพลง “Whatever will be, will be (Que Sera Sera) ในรุ่นทศวรรษ 50 ของดอริส เดย์ (Doris Day) ที่ยังโด่งดังต่อมาอีกนานว่า “อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อย่ากังวลไปเลย (เพราะเราก็จะผ่านมันมาได้เหมือนที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายผ่านมาแล้ว)”
แต่ยุคนี้ คำตอบอาจไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะนี่คือศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนโลกเดิมของคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายอย่างกลับหัวกลับหาง
ไม่เพียงวิธีทำงานและสถานที่ทำงานเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม แต่อาชีพต่างๆ และอุตสาหกรรมทั้งหมดก็กำลังถูกเขย่า เราแทบไม่สามารถพูดถึงความสำเร็จและล้มเหลวในแบบเดิมๆ ได้ด้วยซ้ำ
ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงอาจตอบคำถามลูกหลานไม่ได้ เพราะพ่อแม่ผุ้ปกครองเองก็ยังคาดการณ์อนาคตไม่ถูก นึกไม่ออกว่าลูกหลานต้องการอะไร อยากทำอะไรหรือควรทำอะไรในอนาคตที่จะอยู่รอด
กฎทองที่ผู้เขียนเสนอคือพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเตรียมเด็ก ๆ ให้เป็นคนเต็มคน นั่นคือ ให้เข้าใจตนเอง เข้าใจจุดเด่นและความสามารถของตัวเอง (ความสามารถของคนมีมากกว่าเรียนเก่งหรือสอบเก่งในวิชาใดวิชาหนึ่ง) ให้พยายามเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ให้สามารถมองโลกตามที่เป็นจริง รับรู้ว่าโลกไม่ได้มีแต่ด้านสวยงาม แต่คนช่วยกันทำให้สวยงามได้ และให้มีทักษะต่าง ๆในการดำรงชีวิตและการทำงาน พึ่งตัวเองได้ แก้ไขปัญหาได้ ไม่สิ้นหวังท้อถอย เป็นต้น
หากทำได้เช่นนี้ ก็ไม่ต้องกังวลกับอนาคตในอีกสามสิบปีข้างหน้าว่าลูกหลานจะรับมืออย่างไร เพราะเมื่อเด็กเติบโตเป็นคนเต็มคนที่เข้าใจตนเองและโลกแล้ว ความสามารถในการปรับตัว การยืดหยุ่นทางความคิดและการกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความคิดและการกระทำที่สร้างสรรค์ ย่อมตามมา
ผู้เขียนแนะนำว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ มองเห็น และสนับสนุนความถนัดเฉพาะตัวของลูกหลาน เพื่อช่วยให้ลูกหลานแข็งแรงในระยะยาว
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.