Categories: WISDOM

ROWE เมื่อทำงาน เราจะประเมินกันที่ตัวผลงาน ไม่สำคัญว่าทำที่ไหนและเมื่อไร

5 / 5 ( 1 vote )

อย่างที่จั่วหัวไว้เลย ที่อเมริกา บริษัทให้คำปรึกษาทางธุรกิจ อย่าง JL Buchanan เลือกนำแนวคิด ROWE ซึ่งย่อมาจากคำว่า Results – only work environment หรือ การให้ความสำคัญต่อผลที่เกิดขึ้นและการทำงานของพนักงาน มากกว่า จะเพ่งมองว่า พนักงานทำงานที่ไหน และตอนไหน มาใช้ในองค์กร

Susan Hoaby ซีอีโอ ของ JL Buchanan บอกว่า เธอไม่แปลกใจหากไล่หน้าฟีดในอินสตาแกรมแล้วเจอพนักงานโพสต์ว่า “ตอนนี้ ฉันอยู่ที่ปารีส” เธอบอกว่า หลักการบริหารจัดการ ROWE ที่บริษัทนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2009 มุ่งให้ความสำคัญกับ “การเชื่อใจกัน” เธอสามารถวางใจได้ว่า แม้พนักงานจะไปเที่ยว แต่จะมีงานส่งกลับให้เธอแน่นอน

ขณะที่ Jody Thompson เจ้าของแนวคิด ROWE ก็บอกว่า ภายใต้หลักคิดนี้ พนักงานแต่ละคนจะได้รับความไว้วางใจจากองค์กรแบบเต็มร้อยเปอร์เซนต์ รวมถึงมีอำนาจการตัดสินใจเต็มเปี่ยม ในการจัดการงานของตัวเองให้เสร็จเรียบร้อย แม้ว่า สำนักงานที่เป็นกายภาพจะยังต้องมีอยู่ แต่อันที่จริง ความต้องการพื้นที่สำนักงานในลักษณะนี้ ก็ลดน้อยลงทุกขณะ

ผู้เขียนก็เห็นว่าจริง คนทำงานสมัยนี้ สามารถทำงานได้ทุกที่ ขอแค่มีสัญญาณไวไฟ เชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้ อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ อย่างที่เราเห็น โค-เวิร์กกิ้งสเปซ ผุดขึ้นในที่ต่างๆ หรือในร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่มีเน็ตแรงๆ ให้ใช้ก็ดึงดูดคนเข้าไปนั่งทำงานไม่น้อย ที่สำคัญ เจ้าของ ผู้ประกอบการ ก็ลดภาระค่าใช้จ่าย “สำนักงาน” ไปได้ไม่น้อยเลย และพนักงานยังไม่ต้องวุ่นวายใจกับการที่ต้องพาตัวไป “สำนักงาน” เพื่อทำงาน ทำให้สามารถเพ่งความสนใจและทุ่มเทกับการสร้างสรรค์ผลงานได้ดีขึ้น ในสภาพพื้นที่ทำงานที่เลือกได้หลากหลายไม่จำเจ

ผลที่เกิดจากการนำแนวคิด ROWE มาใช้ ที่ JL Buchanan คือ การมีส่วนร่วมของพนักงานดีขึ้น ตลอดจนผลิตผลการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานก็ล้วนแต่เพิ่มขึ้น และแน่นอน…. ผลกำไรและยอดขายขององค์กรก็ขยับดีขึ้นด้วยเช่นกัน

การจะนำแนวคิดนี้มาใช้ให้เกิดผล อย่างแรกต้องทลายความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า พนักงานที่ดี คือ คนที่มักนั่งประจำอยู่ที่โต๊ะทำงานออกไปก่อน แบบนี้ จะทำให้คนทำงานที่บางครั้งอาจมีภาระต้องไปจัดการเรื่องลูกๆ ที่โรงเรียนในช่วงเที่ยงวัน หรืออยากจะขอไปออกกำลังกายสักหน่อยตอนหลังพักเที่ยงก็จะไม่รู้สึกผิด รวมถึงยังยุติคำถามที่มักเกิดขึ้นเวลาใครหายไปจากสำนักงาน ซึ่งมักเป็นคำถามที่มีน้ำเสียงแห่งความตำหนิอยู่ในที ที่พีกสุดๆ คือ พนักงานสามารถหยุดพักร้อนได้ไม่จำกัดวัน และไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า ถือเป็นการให้อำนาจเต็มแก่พนักงาน

แล้วถ้าทำแบบนี้ เรายังจะคาดหวัง เก็บรักษาพนักงานคุณภาพไว้กับองค์กรได้หรือไม่ ข้อนี้ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะ Greg Watt แห่ง WATT Global Media บริษัทที่ให้บริการด้านการตลาดและข้อมูลในอุตสาหกรรมการเกษตร และนำหลักคิด ROWE มาใช้ตั้งแต่ปี 2012 บอกว่า เดิมทีเขาก็เคยกังวลเรื่องนี้ แต่ปรากฎว่า ไม่เพียงแต่อัตราการเก็บรักษาพนักงานคุณภาพไว้กับองค์กรจะดีขึ้น แต่สิ่งนี้ ยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการรับคนใหม่ๆ เข้ามาทำงานด้วย (แน่นอน เป็นเราก็อยากทำงานกับองค์กรที่ดูแต่ผลของงาน ไม่ดูว่า เราต้องปรากฎตัวในสำนักงาน แต่สมองว่างเปล่า เท่านั้น)

Watt ย้ำว่า การที่นั่งก้นติดเก้าอี้ตลอดเวลาไม่ได้แปลว่า จะทำงานได้ดี มันเป็นแค่ความเข้าใจว่า จะเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับเจ้าของแนวคิด ROWE Thompson ที่บอกว่า พนักงานจะทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและวิธีการวัดผลที่ชัดเจน และทุกคนต้องรู้ว่า จะได้รับการตอบแทนจากผลการทำงานตามเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร รวมถึงในองค์กรทุกคนจะถูกตัดสินด้วยเกณฑ์เดียวกัน เท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นลูกรัก ลูกชัง ดูกันที่ตัวเนื้องานอย่างเดียวเท่านั้น จริงๆ

องค์กรที่มีระบบบริหารจัดการภายใต้หลักคิดนี้ จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการกำหนดเป้าหมายเสียใหม่ จากเดิม เป็นการกำหนดโดยคนระดับบนในองค์กร ก็เปลี่ยนเป็นคนระดับล่างสามารถส่งเสียงสะท้อนไปถึงระดับบนในองค์กรและร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ขณะที่บทบาทของ ผู้จัดการ ก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม มาเน้นเรื่องการทำอย่างไรให้พนักงานแต่ละคนสามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จะช่วยจัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อให้การทำงานราบรื่นที่สุด นั่นก็คือ ผู้จัดการ ทำหน้าที่เหมือนกับ โค๊ช ที่ชี้แนะหนทางสร้างงานให้ประสบความสำเร็จต่อพนักงานแต่ละคน

รูปแบบการทำงานภายใต้หลักคิดนี้ ไม่เพียงช่วยจัดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว แต่ยังเป็นการผนวกรวมชีวิตและงานให้เดินไปด้วยกันได้อย่างดี อิสระที่พนักงานได้รับ ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะทำงานได้น้อยลง แต่ทุกๆ ชิ้นงาน จะเปี่ยมประสิทธิภาพมากขึ้นต่างหาก

และนี่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์การทำงานที่กำลังเกิดขึ้น ไม่แน่ว่า เราจะได้เห็นในบ้านเราบ้างในอนาคตอันใกล้


Source
These employees don't care when or where you work : cnn.com : October 18, 2019

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.