Categories: WISDOM

ฝ่ายขายปรับตัวอย่างไรในยุคโควิด

4.5 / 5 ( 2 votes )

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่องานฝ่ายขายของหลายองค์กร ผู้จัดการฝ่ายขายแทบทุกคนกำลังคิดหนักว่าจะเพิ่มยอดขายให้มาก ๆ พร้อม ๆ กับสร้างความปลอดภัยให้แก่พนักงานภาคสนามได้อย่างไร นี่คือความท้าทายใหม่ของฝ่ายขายในยุคโควิด

แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายนี้ องค์กรฝ่ายขายจึงต้องปรับเปลี่ยนแผนการตลาด (Refocus) ปรับเปลี่ยนเครื่องมือทางการตลาด (Retool) ปรับลดพนักงานเพื่อลดรายจ่าย  (Retrench)  และรอจังหวะเพื่อการฟื้นตัว (Rebound) แต่ละข้อเป็นอย่างไรติดตามได้ใน passion gen

ปรับเปลี่ยนแผนการตลาด (Refocus)

ความคิดของผู้ซื้อเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก ในการปรับเปลี่ยนแผนการตลาด ผู้ขายต้องคำนึงถึงความไม่แน่นอนนี้ และออกแบบแผนการตลาดให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

เมื่อนายจ้าง และพนักงานขาย สามารถคลายความกังวลใจในเรื่องของความปลอดภัยส่วนตัวลงไปได้แล้ว ธุรกิจก็จะสามารถกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง  บริษัทต้องพิจารณาว่า ผู้บริโภคให้ “คุณค่า” กับเรื่องใด และองค์กรฝ่ายขายควรมีบทบาทอย่างไรในการส่งมอบ “คุณค่า” ดังกล่าวสู่ผู้บริโภค

ผู้ซื้อที่อยู่ในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง รวมถึงพบว่าความต้องการยังมีสูง จะยังต้องการความช่วยเหลือจากพนักงานขาย ขณะที่ผู้ซื้อที่อยู่ในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ยังต้องการความช่วยเหลือจากพนักงานขายในการปรับแก้ไขคำสั่งซื้อที่มีมาก่อนหน้านี้รวมถึงกำหนดการส่งมอบสินค้า และการวางแผนรับมือในสถานการณ์ไม่ปกติเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินไปได้ เพราะท่ามกลางสถานการณ์ที่การประกอบธุรกิจกำลังแย่ และลูกค้าของบริษัทหลายรายก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะล้มละลาย ธุรกิจที่เคยแข็งแกร่งในอดีต ก็จะไม่มั่นคงเหมือนเดิมอีกต่อไป

แม้จะยังมีคำสั่งซื้อเข้ามา แต่พนักงานขายอาจะไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพเท่าที่เคยเป็นมา จึงเป็นการง่ายกว่าสำหรับพนักงานที่จะดีลกับลูกค้าที่ซื้อซ้ำซึ่งคุ้นเคยกับบริษัท / คุณค่าที่มอบให้ / รวมถึงตัวพนักงานขาย

หากจะขยายธุรกิจ และบริการ ควรมุ่งเป้ากลุ่มลูกค้าที่เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและนิยมการสื่อสารผ่านทางวิดิโอคอลและ/หรือช่องทางดิจิตอลอื่น ๆ มากกว่าการพบปะโดยตรง และลูกค้ากลุ่มที่มีความรู้ และไม่ต้องการการสนับสนุนจากพนักงานฝ่ายขายมากนัก

อย่างไรก็ตาม หากช่วงนี้ลูกค้าของบริษัทกำลังเจอปัญหาหนัก เพราะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา  องค์กรฝ่ายขายก็สามารถใช้เวลาว่างนี้ไปทำสิ่งอื่นเพื่อความสำเร็จในอนาคตแทน อย่างเช่นว่า  การสำรวจหากลุ่มคนที่มีแนวโน้มว่าจะกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต การจัดลำดับความสำคัญของบัญชี และการวางแผนบัญชี เป็นต้น

ปรับเปลี่ยนเครื่องมือทางการตลาด (Retool)

นโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)  ทำให้แม้แต่พนักงานขายภาคสนามก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานไปเป็น การทำงานระยะไกล (Remote Working) ด้วยการขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียล มีเดีย อีเมล และการสนทนาด้วยวิดีโอคอล เป็นต้น

อันที่จริงแล้ว เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารทางดิจิทัล (Digital Communications) มีคุณภาพสูงขึ้นมาก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อ และผู้ขายซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาในยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม  มีพนักงานขายภาคสนาม และผู้ซื้อจำนวนมากที่ปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือใช้งานไม่เป็น โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาไม่มีจำเป็นต้องใช้มัน หรือไม่ก็ไม่ได้รับการฝึกอบรมให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะสถานการณ์ปัจจุบันจะบังคับให้แม้แต่คนที่ไม่ถนัดเรื่องของเทคโนโลยีต้องปรับตัวมาใช้ เช่นที่เราเห็นการใช้งานโปรแกรมสนทนาด้วยวีดีโอคอล อย่าง Zoom เป็นต้น

ปรับลดจำนวนพนักงาน  (Retrench)

ในหลายเดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  และอุตสาหกรรมบันเทิงมีการปลดพนักงานออกไปจำนวนมาก   องค์กรฝ่ายขายซึ่งถูกปรับลดจำนวนคนลงจะต้องเริ่มการขายภาคสนามอีกครั้ง ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท  นอกจากนั้น ก็ควรเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ เช่น การนำโมเดลธุรกิจแบบให้ลูกค้าบริการตนเองมาใช้  (อย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ที่ลูกค้าสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น) และการขายสินค้าด้วยช่องทางภายใน (Inside sale) เช่น การขายสินค้าผ่านการโทรศัพท์ และการขายสินค้าด้วยอีเมล  เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนหนึ่งได้ตัดสินใจเลือกเส้นทางที่กล้าหาญโดยการไม่ปลดพนักงานออก ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น  (HSBC) สาขากรุงลอนดอน ได้ประกาศแผนปรับลดจำนวนพนักงาน รวมไปถึงพนักงานฝ่ายขายด้วย แต่หลังจากที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ทางธนาคารก็ตัดสินใจหยุดแผนการเลย์ออฟพนักงานเอาไว้ก่อน ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปว่า องค์กรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 จะสามารถช่วยเหลือพนักงานในสังกัดของตนไปพร้อมกับพยุงกิจการของตนให้ดำเนินต่อไปตามปกติ ได้อีกนานแค่ไหน

การฟื้นตัวของธุรกิจ (Rebound)

อาจเป็นการยากที่จะมองข้ามช็อตจากที่ขณะนี้ต้องเร่งหาวิธีรับมือภาวะเศรษฐกิจชะงักจากโควิด – 19 การแพร่ระบาดอาจจะไม่จบลงในเร็ว ๆ นี้  แต่ซักวันหนึ่งสถานการณ์ก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน และเมื่อถึงเวลานั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็จะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ บางเทรนด์ที่เคยส่งผลกระทบต่อธุรกิจมาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด – 19 จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่รูปแบบการขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) ที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดก็จะกลายเป็น “New Normal” หลังจากสถานการณ์กลับเป็นปกติ

การขายสินค้าผ่านช่องทางดิจิทัลจะได้รับความนิยมมากขึ้น:  แม้จะเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 พนักงานขายภาคสนามส่วนใหญ่ก็ติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิตอลกันอยู่แล้ว  สถานการณ์ที่บีบบังคับให้พวกเราต้องพึ่งพาการสื่อสารเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี (Virtual Communication) เป็นระยะเวลานาน ๆ  ทำให้แม้แต่คนที่ปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ได้ช้า ก็หันมาฝึกใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น

จำนวนพนักงานขายภาคสนามลดลง  แต่จำนวนพนักงานขายภายใน และ ผู้จัดการความสำเร็จของลูกค้า (Customer Success Manager: CSM) เพิ่มขึ้น:  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  จำนวนตำแหน่งงานพนักงานขายภายใน และผู้จัดการความสำเร็จของลูกค้าที่เกิดขึ้นใหม่ มีอัตราสูงกว่าตำแหน่งงานพนักงานขายภาคสนาม  ซึ่งเทรนดังกล่าวจะมีชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังจากที่สถานการณ์กลับเป็นปกติ เพราะแต่ละบริษัทต่างย่อมอยากจะปรับแผนการตลาดของตนให้เข้ากับพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าของลูกค้า

การขายภายใน นอกจากจะช่วยการลดต้นทุนทางการตลาดแล้ว ยังเป็นรูปแบบการขายที่เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล   ส่วนผู้จัดการความสำเร็จของลูกค้า ก็เป็นตำแหน่งสำคัญ ที่จะไปช่วยเสริมสร้างความภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า และช่วยรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ต่อไป ด้วยการช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงคุณค่าของแบรนด์

สาเหตุที่ตำแหน่งงานผู้จัดการความสำเร็จของลูกค้ากำลังเพิ่มสูงขึ้นก็เป็นเพราะแต่ละองค์กร หันไปให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าที่มีอยู่แล้วมากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

คุณสมบัติใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับพนักงานขายภาคสนาม:  ด้วยเหตุที่การซื้อ-ขายสินค้าในปัจจุบันนิยมทำผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ลูกค้าที่มีทักษะด้านดิจิทัลจึงคาดหวังว่า พนักงานขายจะสามารถมอบอะไรให้กับพวกเขาได้มากกว่า สิ่งที่พวกเขาสามารถอ่านได้จากบนเว็บไซต์  นอกจากนี้  ความนิยมในการใช้งานเครื่องมือในการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ (Digital tools) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Analytic) ทำให้พนักงานขายทุกคนต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ติดตัวเอาไว้ นอกเหนือจากทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล

คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพนักงานขายภาคสนามในยุคปัจจุบัน คือ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ดี

องค์การขายประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น: องค์การขายจะนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้มากขึ้นในทุกองค์ประกอบ  ผู้จัดการฝ่ายขายจะสามารถบริหารจัดการ ให้คำแนะนำ-ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา จากภายนอกสถานที่ได้สะดวกสบายมากขึ้น  ส่วนองค์การขายก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในการสร้างยอดขาย การฝึกอบรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น   โดยคาดว่าช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ จะทำให้มีองค์กรกรขายภาคสนามที่ประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาในการทำตลาดเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก


 

แปล และเรียบเรียงจาก
4 Things Sales Organizations Must Do to Adapt to the Crisis
https://hbr.org/2020/04/4-things-sales-organizations-must-do-to-adapt-to-the-crisis?ab=hero-subleft-1

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.