Categories: WISDOM

4 กลวิธีทำให้พนักงานกลายเป็นสมบัติล้ำค่าขององค์กร

4.4 / 5 ( 17 votes )

ปัจจุบันการจะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก แต่การจะพาให้ธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ และมีผลกำไรนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างไม่เปลี่ยนแปลง  ในปัจจุบันหลายองค์กรได้หันไปให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และจุดเด่นให้แก่องค์กรของตนเองให้ได้มากที่สุด

ต่อไปนี้ คือ 4 วิธีที่ผู้บริหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนพนักงานของคุณให้กลายเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าที่จะช่วยนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และป้องกันไม่ให้พวกเขาหนีออกไปอยู่ที่อื่น

1. รับฟังสิ่งที่พนักงานพูด

ความผิดพลาดใหญ่ ของผู้ปริหารจำนวนมาก ก็คือ พวกเขาคิดว่ากลุ่มผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะชี้นำทิศทางธุรกิจองค์กร เพราะในความเป็นจริงแล้วธุรกิจควรจะเป็นเสมือนโรงงานที่ผลิตความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาผ่านการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กร

ผู้ปริหารส่วนใหญ่มักบอกว่าปกติตนก็รับฟังความคิดเห็นของพนักงานอยู่แล้ว ผ่านการจัดประชุมเพื่อระดมสมอง และสอบถามความคิดเห็นจากพนักงานเป็นประจำทุกสัปดาห์อยู่แล้ว  แต่ทว่า การทำแค่นั้นมันยังไม่เพียงพอ หากเป็นไปได้ ผู้บริหารควรจัดช่องทางให้ทุกคนในองค์กรสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา และต่อเนื่อง ในระหว่างการทำโปรเจคต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถชี้แนะ ข้อปรับปรุง และแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ได้ทันทีตลอดขั้นตอนการดำเนินการ ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนที่พนักงานมารายงานความคืบหน้าประจำสัปดาห์

การทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้ปริหารรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของงานทุกอย่างในบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา เมื่อพนักงานเห็นว่า เจ้านายของเขาให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของพวกเขา เขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีส่วนร่วมในองค์กร และรู้สึกอยากจะเข้าไปเสนอไอเดียใหม่ๆ ให้กับเจ้านายของพวกเขาอีก

2. ส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง

พนักงานที่มีคุณภาพจะมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง ดังนั้น หากพนักงานคนไหนต้องการขอลางานไปเข้าฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือแม้แต่ขอลาเพื่อไปทำกิจกรรมจิตอาสา ผู้บริหารก็ควรส่งเสริมให้พวกเขาได้ไปทำในสิ่งที่ต้องการ หากโชคดี เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทก็จะกลายเป็นศูนย์รวมของพนักงานที่มีความสามารถ และทักษะที่หลากหลาย

ซึ่งไม่ว่าทักษะเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขององค์กรก็หรือไม่ ทางองค์กรก็สามารถวางใจได้ว่าพนักงานเหล่านั้นคือกลุ่มคนที่จะทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ เพราะผู้ที่ชอบขยันใฝ่หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ มักเห็นการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา ไม่ใช่เป็นแค่เพียงแค่หน้าที่ๆ ต้องทำเพื่อหารายได้

3. ส่งเสริมให้พนักงานทุ่มเทให้กับงานมากขึ้น ด้วยวัฒนธรรมองค์กร และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

จากข้อ 2 เมื่อพนักงานมีความทักษะ และความสามารถสูงแล้ว ก็ต้องหาวิธีดึงความสามารถของพวกเขาออกมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งองค์กรสามารถทำได้โดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีการส่งเสริม และให้รางวัลแก่ผู้ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานขยันทำงาน และแข่งกันสร้างผลงานให้ตัวเองเป็นที่โดดเด่นในองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้มีความคิดดีๆ และผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมาจากพนักงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เมื่อพนักงานเห็นว่าบริษัทไว้วางใจในความสามารถของพวกเขา และมีการให้รางวัลพวกเขา พวกเขาก็พร้อม และเต็มใจที่จะทำงานมากขึ้นเพื่อบริษัทของตน เสมือนกับว่าตนเองนั้นเป็นเจ้าของกิจการ ตัวอย่างเช่น พนักงานฝ่ายการตลาดจะพยายามมองหาลูกค้าใหม่ หาวิธีการทำตลาดใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขาย และผลกำไรให้กับบริษัทที่ตนทำงานให้โดยไม่ต้องได้รับคำสั่งจากหัวหน้างาน เป็นต้น  ซึ่งถ้าหากทางบริษัทมีการสนับสนุนพนักงาน ด้วยการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น เงินทุน และทรัพยากรที่จำเป็นเข้าด้วยอีกทาง ก็รับรองว่าพนักงานจะอยากอยู่ทำงานให้กับองค์กรไปอีกนาน

4. เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่พนักงาน

การทำงานไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิต ปัจจุบันกระแสการทำงานระยะไกล (Remote Working) และการทำงานจากบ้าน (Working From Home) กำลังได้ความนิยมมากขึ้น เพราะส่งผลดีหลายอย่างทั้งต่อองค์กร และตัวของพนักงาน โดยในต่างประเทศผลการวิจัยออกมาว่า การทำงานระยะไกล (รวมไปถึงการทำงานจากบ้าน) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ และองค์กรที่มีนโยบายส่งเสริมการทำงานระยะไกล หรือการทำงานจากบ้านก็มีผลประกอบการดีขึ้นเช่นกัน

ตัวอย่างประโยชน์ที่ชัดเจนของการทำงานระยะไกล และการทำงานจากบ้านก็คือ พนักงานขององค์กรก็จะสามารถเริ่มทำงานในแต่ละวันได้อย่างกระปรี้กระเปร่า เพราะพวกเขาไม่ต้องลำบากตื่นแต่เช้า เพื่อรีบไปตอกบัตรเข้าทำงานให้ตรงเวลา  และการได้นั่งทำงานจากสถานที่ๆ ชอบ ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มสร้างความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มสมาธิในการทำงานของพนักงานได้ดีอีกด้วย ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ผลงานที่พวกเขาทำให้กับบริษัทออกมาดีขึ้นเป็นเงาตามตัว

ทั้งนี้ การทำงานระยะไกลอาจไม่เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท และพนักงานที่เลือกจะทำงานระยะไกลต้องมีความรับผิดชอบตัวเองดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าองค์กรไหนสามารถดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างได้ผล ผลดีมหาศาลก็ตกมาสู่ตัวองค์กร

 

แปลและเรียบเรียงใหม่จาก https://www.entrepreneur.com/article/346833

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.