Categories: WISDOM

ภัยแล้ง ปัญหาที่ไม่เคยหายกับคำถามว่าเราจะรับมืออย่างไร

5 / 5 ( 2 votes )

ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นตัวกับปัญหาร้อนต่างๆ ทั้งฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จนต้องไปหาหน้ากากมาใส่กันให้วุ่น แต่คนไทยก็ต้องไม่ลืมกันว่าปัญหาเก่าที่ค้างคามาจากปีที่แล้วอย่าง “ภัยแล้ง” ก็ยังไม่ได้หายไปไหน และมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปอีกนานในปีนี้

กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเผชิญฝนแล้งยาวนานไปจนถึงเดือนมิถุนายน  ขณะที่ข้อมูลจากสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ก็ระบุในทิศทางเดียวกันว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปริมาณน้ำในแม่สายหลักรวมทุกภาค อยู่ในเกณฑ์ที่น้อยถึงปานกลาง ส่วนปริมาณน้ำรวมทั่วประเทศก็เหลืออยู่ที่ระดับประมาณ 60% ของความจุแหล่งเก็บน้ำรวมทั้งหมด

14 จว.กระทบหนัก-อีก43 จว.เสี่ยง

มีการคาดการณ์ว่าจะมีอย่างน้อย 14 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างรุนแรง และถูกประกาศเป็นเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว ได้แก่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 3,785 หมู่บ้าน ขณะที่อีก 43 จังหวัดถูกกำหนดเป็นพ้นที่เสี่ยงแล้ว

อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องน้ำประปาเค็มในเขตกรุงเทพและปริมณฑล อันเกินจากน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น แต่ไม่มีการปล่อยน้ำจากเหนือมาเพื่อผลักให้น้ำเค็มลงทะเล ทำให้น้ำประปาเค็มสูงกว่าค่ามาตรฐาน

จากสถานการณ์ภัยแล้วและน้ำน้อยดังกล่าว จึงมีการคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการผลิตโดยเฉพาะเกษตรกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะพื้นดินที่ขาดน้ำและความชุ่มชื้น จะทำให้พืชผลเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ผลผลิตทั้งคุณภาพ-ปริมาณต่ำลง ก็จะส่งผลถึงปริมาณสินค้าในท้องตลาดน้อยกกว่าปกติ สุดท้ายราคาจะดีดสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณ 3,079 ล้านบาทไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สำหรับขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อรับมือปัญหาภัยแล้ว โดยแบ่งเป็นงบสำหรับพื้นที่ในความดูแลของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 1,100 ล้านบาท และพื้นที่นอกการดูแลของ กปภ. 1,900 ล้านบาท

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยได้มีการรณรงค์ให้ทุกฝ่ายช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอจนกว่าจะพ้นวิกฤติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้นำน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านการบำบัด กลับมาใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเหล่าเกษตรกร

แก้อย่างไรดี

อย่างไรก็ตาม วิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำที่ดีสุดก็คือ การเพิ่มปริมาณน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคที่มีอยู่ให้มากขึ้น โดยวิธีที่อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดก็คือ การแปลงน้ำทะเลที่มีอยู่มากมายมหาศาลให้กลายเป็นน้ำจืดนั่นเอง

การแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการบริโภค ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงค์โปร ซึ่งเป็นประเทศที่เสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำจืดภายในปี 2583 ตามรายงานของ World Resource Institute ก็ได้เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตด้วยการสร้างโรงกลั่นน้ำทะเลขึ้นมาถึง 5 แห่ง และยังมีแผนจะสร้างเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนั้นแล้ว

ก่อนหน้านี้หลายปีก่อนสิงค์โปรได้เริ่มโครงการการนำน้ำจากบ้านเรือนและสถานประกอบการต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “New Water Project” หรือเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นน้ำใหม่ น้ำใหม่ที่ว่านี้สามารถดื่มกินได้อย่างปลอดภัยจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันมีการสร้างพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำฝน รวมไปถึงทำการทดลองสร้างถนนที่สามารถดูดซับน้ำบนพื้นถนนไปเก็บไว้ในถังข้างใต้พื้นอีกด้วย

หันกลับมามองปัญหาน้ำในประเทศ จะพบว่าปัญหาภัยแล้งน่าจะเป็นปัญหาใหญ่อีกต่อไป แต่ที่เป็นปัญหามายาวนานและสามารถแก้ไขได้ค่อนข้างดีคือ ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดในบางพื้นที่หรือในบางฤดูกาลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นเกาะ เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะสีชัง และเกาะอื่นๆอีกหลายแห่ง เกาะเหล่านี้ทั้งหน่วยงานรัฐหรือผู้ประกอบการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้เพียงพอกับความต้องการ จึงไม่น่าห่วงอะไร

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ถึงเวลารึยังที่ประเทศไทยจะมีโรงงานผลิตน้ำจืดขนาดใหญ่โดยใช้น้ำเค็มจากทะเลเช่นเดียวกับสิงคโปร์ เพราะประเทศไทยมีแหล่งน้ำทะเลอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถผลิตน้ำจืดป้อนทั้งประเทศได้ เพียงแต่ว่าภาครัฐจะมองเห็นปัญหาใหญ่นี้บ้างหรือยัง?

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.