การทอดทิ้งเด็กทารกเกิดใหม่โดยมารดาที่ขาดความพร้อมในการเลี้ยงดู เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งพบเจอได้ในหลายพื้นที่ของโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา
เด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งมักถูกเจออยู่ในถังขยะ หรือถูกวางไว้หน้าสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล เพื่อรอให้มีผู้ใจบุญมาพบ ซึ่งบางครั้งกว่าที่จะมีใครมาเจอเด็กเข้า พวกเขาก็อาจจะป่วยหนัก หรือเสียชีวิตไปแล้ว
หนึ่งในวิธีที่สามารถบรรเทาปัญหานี้ก็คือ การติดตั้ง “Baby Box” หรือ “กล่องรับเด็กทารก” ไว้ตามจุดต่างๆ ของเมือง
ใน รัฐอินดีแอนา (Indiana) รัฐโอไฮโอ (Ohio ) และ รัฐอาร์คันซอ (Arkansas) ของสหรัฐอเมริกา มีการติดตั้ง “Baby Box” หรือ “กล่องรับเด็กทารก” ไว้เป็นจำนวนมากบนผนังด้านนอกอาคารของ สถานนีดับเพลิง สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล ต่างๆ ซึ่งกล่องเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้มารดาที่รับภาระเลี้ยงดูเด็กเกิดใหม่ไม่ไหว สามารถนำเด็กมา “วาง” ไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน แทนที่จะนำพวกเขาไปไว้ทิ้งในที่สกปรก และลับตาคน
เมื่อตัวเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้ภายในกล่องตรวจจับได้ว่ามีเด็กทารกถูกนำมาวางไว้ ประตูจากทางด้านนอกก็จะปิดล๊อคโดยอัตโนมัต หลังจากนั้นระบบจะส่งสัญญาณแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ของแต่ละสถานที่ ให้รีบนำตัวเด็กออกมาจากกล่องผ่านทางประตูฝั่งด้านในอาคาร เพื่อทำการดูแลรักษาในเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งมอบเด็กให้หน่วยงานคุ้มครองเด็ก (Child Protective Services) ของรัฐดูแลต่อไป
“กล่องรับเด็กทารก” เป็นโครงการขององค์กรไม่แสวงผลกำไรชื่อ “Safe Haven Baby Boxes” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาการทอดทิ้งเด็กทารกเกิดใหม่โดยมารดา โดยนอกจากการติดตั้งกล่องรับเด็กทารกเพื่อเป็นทางเลือกสุดท้ายในยามวิกฤติให้แก่มารดาแล้ว ทางองค์กรยังเปิดสายด่วนเพื่อให้คำปรึกษาแก่เหล่าคุณแม่ที่มีปัญหา จัดสัมมนาให้ความรู้แก่ทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อพบว่ามีเด็กทารกถูกนำมาวางไว้ในกล่องรับเด็กทารก
Safe Haven Baby Boxes เผยว่า นับตั้งแต่ที่เริ่มติดตั้งกล่องในปี พ.ศ. 2559 มีเด็กทารกจำนวนทั้งสิ้น 5 คน ได้ถูกนำมาวางไว้ในกล่องรับเด็กขององค์กร โดยเด็กทารกรายล่าสุดถูกพบอยู่ในกล่องที่สถานีดับเพลิงแห่งหนึ่งในเมืองซีมัวร์ ของรัฐอินดีแอนา เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมานี้ และกลายเป็นข่าวดังในท้องถิ่น ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นของกล่องฯ เหล่านี้ โดยชายวัย 19 ปี ซึ่งสะสมเงินซื้อกล่องมาติดตั้งให้กับสถานนีดับเพลิงดังกล่าวเมื่อปีที่แล้ว ได้รับการยกย่องจากทางการเมืองซีมัวร์ สำหรับการทำความดีของเขา
อ่านถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านอาจตกใจว่า จุดรับเด็กทารกเหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมให้มารดาที่ไม่พร้อมทอดทิ้งลูกของตัวเองกันมากขึ้นหรือเปล่า? แล้วมารดาที่เอาเด็กมาวางในกล่องไม่มีความผิดทางกฏหมายหรือ? เรื่องนี้ขออธิบายว่าที่สหรัฐอเมริกานั้นมีกฏหมาย “Safe-haven law” ซึ่ง อนุญาตให้มารดาที่ไม่พร้อมจะเลี้ยงดูบุตรของตน สามารถนำเด็กทารกไปมอบที่จุดรับเด็กทารกตามสถานที่ต่างๆ อย่างเช่น สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ และโรงพยาบาลที่จัดไว้ได้ โดยมารดาจะไม่มีความผิดใดๆ ตามกฏหมาย และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน
การที่มารดาไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และได้รับการยกเว้นจากความผิดทางกฏหมาย เป็นการจูงใจให้พวกเธอกล้านำเด็กทารกมาส่งมอบที่จุดรับเด็กทารก ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัยมากกว่าการนำเด็กไปทิ้งไว้ในสถานที่อันตราย หรือสถานที่ลับตาคน โดยจุดประสงค์หลักของกฏหมายข้อนี้ คือ การป้องกันเด็กทารกจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทอดทิ้งอย่างผิดกฏหมายนั่นเอง
รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของกฏหมายฉบับนี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ หากผู้อ่านสนใจสามารถอ่านรายละเอียดของกฏหมาย Safe-haven law ได้ที่ https://www.childwelfare.gov/pubPDFs/safehaven.pdf
#เด็ก #เด็กทารก #คุณแม่ #สหรัฐอเมริกา #babybox
ขอบคุณข้อมูลจาก shbb childwelfare childwelfare cnn washingtonexaminer
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.