Categories: WISDOM

เกาะติดผู้นำทั่วโลกฝ่าวิกฤติ COVID-19

4.5 / 5 ( 10 votes )

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่มีสัญญาณว่าจะหยุดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้บางพื้นที่จะสามารถชะลอการติดเชื้อใหม่ไว้ได้ เช่น จีนและไต้หวัน ขณะที่หลายประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อิตาลี สเปน หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อสะสมยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เตือนว่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้าทั่วโลกจะมียอดผู้ติดเชื้อถึง 1 ล้านคน และจำนวนผู้เสียชีวิตจะผ่าน 50,000 คนอย่างแน่นอน

การระบาดของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ตัวนี้ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก หรือ Pandemic สร้างความหวาดวิตกให้กับผู้นำประเทศต่างๆอย่างมาก อย่างไรก็ดี ปัญหานี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการรับมือและแก้ปัญหาของผู้นำประเทศต่างๆได้เป็นอย่างดี passion gen ถอดบทเรียนบางส่วนของผู้นำหลายๆประเทศ เพื่อให้เห็นถึงการรับมือไวรัสตัวนี้

เริ่มจากประเทศจีนซึ่งได้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ ณ ขณะนี้ ว่าเป็นต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทันทีที่มีการยืนยันว่าเจอเชื้อโรคตัวใหม่นี้ ดูเหมือนว่าทางการจีนยังไม่ค่อยอยากเปิดเผยเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ก็ได้รายงานให้องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้รับทราบ กระทั้งการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็ประกาศปิดเมืองอู่ฮั่นและอีกหลายเมือง พร้อมกับสร้างโรงพยาบาลสนามขึ้นทันทีหลายแห่ง

ภายใต้การนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้ทำหน้าที่เป็นทัพหน้าแก้วิกฤติและการสื่อสารกับประชาชนและนานาชาติ ได้สั่งปิดพื้นที่อู่ฮั้น พร้อมห้ามมีการเดินทางเข้าออกเมือง แต่อนุญาตให้ต่างชาติขนพลเมืองของตัวเองกลับประเทศ ขณะเดียวกัน เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องสุขอนามัย รวมถึงการกักตัวอยู่กับบ้านเพื่อต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 จนเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง สี จิ้นผิงเดินทางไปเยือนอู่ฮั้น เพื่อประกาศว่าเอาชนะโรคนี้ได้แล้ว

หลังจากสถานการณ์ในประเทศจีนดีขึ้นเรื่อยๆ ทางการเริ่มแสดงความขอบคุณนานาประเทศที่ส่งกำลังใจไปให้ รวมถึงการส่งความช่วยเหลือไปบางประเทศที่วิกฤติ เช่น อิตาลี ทำให้จีนได้รับคำชมจากทั่วโลกว่าสามารถผ่านวิกฤติอันเลวร้ายไปได้ แม้ว่าจะสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 3.3 พันคน มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 8.1 หมื่นคน

ท่ามกลางความตื่นตะลึงของประเทศต่างๆ ไต้หวันซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับประเทศจีน ประกาศรับมือทันทีด้วยมาตรการสกัดกั้นการระบาดเชื้อไวรัสอย่างเข้มข้น ว่ากันว่าไต้หวันประสบความสำเร็จในการสกัด COVID-19 มากที่สุด ยาแรงที่ไต้หวันใช้ทันที คือ การตรวจเช็คสุขภาพผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินขาเข้า และกักตัวเพื่อดูอาการ 14 วันทุกคน ส่วนประชาชนทั่วไปให้อยู่บ้าน ทุกคนจะถูกติดตามตัวด้วยระบบออนไลน์ทางมือถือ หากไม่อยู่บ้านถือว่าผิดกฎหมายจะถูกคาดโทษทันที ด้วยเหตุนี้ทำให้มีผู้ติดเชื้อในไต้หวันประมาณ 50 คน และเสียชีวิตเพียงแค่คนเดียว

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ ประธานาธิบดี ไช่ อิง-เหวิน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการวิกฤติครั้งนี้ด้วยตัวเอง ผู้นำคนนี้สามารถจับสัญญาณอันตรายได้ทันทีที่รู้ข่าวว่ามีคนติดเชื้อที่อู่ฮั่น จากนั้นก็จัดตั้งศูนย์บัญชาการสุขภาพแห่งชาติ หรือ NHCC ขึ้นมาทันที โดยมีศูนย์บัญชาการโรคระบาด หรือ CECC  เป็นศูนย์กลางทำงานอีกที อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไต้หวันรับมือไวรัสนี้ได้ดี เพราะเคยมีบทเรียนสำคัญเมื่อครั้งเกิดโรคซารส์เมื่อปี 2003

เมื่อการระบาดของเชื้อ COVID-19 แพร่ขยายไปไกลมากขึ้น ประเทศต่างๆที่อยู่รายรอบจีน ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ อินเดีย ประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมด รวมถึงเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และโอเชียเนียทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ได้ลุกขึ้นมารับมือวิกฤตินี้ ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป

กรณีของญี่ปุ่นนั้น นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ประกาศเตือนชาวญี่ปุ่นให้เตรียมรับมือวิกฤติตั้งแต่เริ่มมีการระบาด พร้อมทั้งเริ่มออกกฎห้ามมีการชุมชนและจัดงานต่างๆ รวมไปถึงปิดโรงเรียนอนุบาลและปฐมศึกษาทั่วประเทศ ล่าสุดก็ตัดสินใจเลื่อนการจัดงาน Tokyo Olympic 2020 ไปเป็นปี 2021 แม้จะรู้ดีว่าต้องเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไปมหาศาล

ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการญี่ปุ่นยังคงสื่อสารกับประชาชนของตนเอง เรียกว่าเป็นแบบฉบับของสังคมญี่ปุ่นมากๆ ทุกคนจะเชื่อฟังผู้นำและปฏิบัติตาม ทำให้ญี่ปุ่นชะลอวิกฤติไปได้เยอะ ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเหลือไม่ถึง 3 พันคน จากช่วงแรกๆที่เป็นมีตัวเลขสูงเป็นอันดันต้นๆ

เช่นเดียวกับที่เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ชอง ซเย-คยอง และศูนย์ควบคุมป้องกันโรค หรือ KDCD ได้สื่อสารกับประชาชนถึงความคืบหน้าของสถานการณ์ไวรัสตลอดเวลา และได้ขอความร่วมมือกับประชาชนแบ่งสันปันส่วนหน้ากากอนามัย ให้ซื้อได้คนละ 2 ชิ้นต่อสัปดาห์ จากมาตรการนี้ทำให้เกาหลีใต้สามารถชะลอการติดเชื้อสะสมไม่เกินหมื่นคน และมากกว่าครึ่งรักษาหายแล้วขณะนี้

มาตรการที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสกัดกั้นการระบาดของเชื้อไรวัสอุบัติใหม่อีกแห่งคือ ที่ฮ่องกง ซึ่งทางการได้ประกาศห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็ห้ามคนฮ่องกงเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่ มาเก๊า และไต้หวันด้วย อาจพูดได้ว่าฮ่องกงปิดเมืองหรือที่เรียกว่า Lockdown ก็ว่าได้

ประเทศอื่นที่ใช้มาตรการล๊อกดาวน์ปิดประเทศคล้ายๆที่ฮ่องกง เช่น มาเลเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรี มูฮิดดิน ยัสซิน เป็นคนนำมาตรการที่เรียกว่า Movement Control Order มาใช้ ขณะที่สิงคโปร์ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ก็นำมาตรการเข้มข้นนี้มาใช้หลังจากจำนวนผู้ติดเชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศให้พนักงานบริษัทต่างๆทำงานที่บ้านยกเว้นกรณีจำเป็น หากบริษัทใดฝ่าฝืนสามารถสั่งปิดได้ และ สปป.ลาวก็ประกาศปิดประเทศเช่นกันหลังจากที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งแล้ว

สำหรับประเทศที่มีประชากรมากเป็นอับดับสองของโลกอย่างอินเดีย ก็ได้ประกาศล๊อกดาวน์ด้วย ส่งผลให้คนอินเดียหลายล้านคนตกทันที และมีคนนับล้านต้องเดินเท้ากลับบ้านเกิดเนื่องจากรถสาธารณะไม่เพียงพอ แต่การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวและตัดไฟแต่ต้นลมของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี อาจไม่สามารถหยุดโรคร้ายนี้ได้เต็มที่เพราะระบบสาธารณสุขของประเทศยังไม่ดีพอ ส่วนที่ภูฐาน สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ก็ได้ประกาศปิดประเทศเช่นเดียวกัน เพื่อปกป้องประชาชนชาวภูฐาน

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ดูเหมือนว่าประเทศตะวันตกและตะวันออกกลางบางประเทศ เช่น อิหร่าน ได้เข้าสู่ภาวะสู่วิกฤติมากกว่าประเทศในแถบเอเชียซะอีก องค์การอนามัยโลกประกาศชัดเจนว่า อเมริกา อิตาลี สปน อยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะล่าสุดมีผู้ติดเชื้อสะสมของทั้ง 3 ประเทศมีจำนวนสูงสุด 3 อันดับแรกของโลก (อเมริกาติดเชื้อสะสมกว่า 2 แสนคน อิตาลีเกินกว่า 1.0 แสนคน สเปนกว่า 1 แสนคน ส่วนผู้เสียชีวิตของ 3 ประเทศที่ 3.8 พันคน 1.2 หมื่นคน และ 8.4 พันคน ตามลำดับ (เฉพาะข้อมูลผู้เสียชีวิตจาก Sina Weibo, Worldometers วันที่ 1 เมษายน 2563)

การแพร่ระบาดในประเทศตะวันตก ไม่ได้แพร่เฉพาะในหมู่ประชาชนทั่วไป แต่ยังมีบุคคลสำคัญๆหลายคนไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ นักกีฬา ดารา รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็ไม่รอดพ้นจากเชื้อ COVID-19 ไปได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียก็ต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน หลังจากพบว่ามีความเสี่ยง เช่นเดียวกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษก็เพิ่งหมดระยะกักตัว

อังเกโล บอร์เรลี ประธานสำนักงานป้องกันภัยพลเรือนของอิตาลี ได้พยายามอย่างสุดความสามารถทุกวิธีทางในการสกัดเชื้อไวรัส รวมถึงมาตรการปิดประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างน่าพอใจ ขณะที่ทางการจีนได้ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่จำนวนผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่สเปนที่พบว่าการแพร่เชื้อไวรัสนี้ ยังคงร่าชีวิตผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ที่ประเทศอังกฤษก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในระดับที่พอใจ แต่นโยบายของอังกฤษเองก็สร้างความประหลาดใจให้กับนานาประเทศไม่น้อย หลังจากที่หยั่งเชิงว่าจะใช้นโยบาย Herd Immunity คือ การปล่อยให้เชื้อโรคระบาดไปเรื่อยๆและปล่อยให้หยุดหายไปเอง นั่นหมายความว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ทั้งนี้ อังกฤษยังไม่ใช้นโยบายนี้แต่อย่างใด

ผู้นำอีกคนหนึ่งที่กำลังถูกจับตาคือ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ซึ้งขณะนี้มีอำนาจพิเศษในการสั่งการกรณีฉุกเฉินได้ทั้งหมด ในช่วงที่เริ่มวิกฤติทรัมป์ประกาศสู้กับโรคระบาดนี้ด้วยการปิดเมืองหลายเมือง แต่สถานการณ์กลับเลวร้ายมากขึ้น ล่าสุดทรัมป์ประกาศเตือนให้พร้อมรับมือการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งเดือนแรกเมษายนนี้ พร้อมประกาศว่าจะควบคุมจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ให้เกิน 1 แสนคน และยังมีแผนอื่นเตรียมไว้อีก เช่น การเพิ่มมาตรการปิดประเทศกับประเทศต่างๆมากขึ้น หลังจากที่ได้ปิดการเดินทางกับหลายประเทศไปแล้วรวมถึงยุโรป

เป็นที่น่าสังเกตว่ากลยุทธ์การสู้กับไวรัสอุบัติใหม่ของผู้นำโลกคนนี้ มีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง บางช่วงเวลาก็ประกาศจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าสุขภาพชาวอเมริกัน สร้างความไม่พอใจกับประชาชนอย่างมาก ต่อมาประกาศจะให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการแจกเงิน หรือการเปลี่ยนแผนล๊อกดาวน์มหานครนิวยอร์คแบบกระทัน เนื่องจากอาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับผู้ว่าการมลรัฐอื่นๆ นี่ไม่นับรวมการจัดการเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีนหลังจากที่ตนเองเรียกเชื้อไวรัส COVID-19 ว่าเป็น Chinese virus ทำให้จีนไม่พอใจอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสหรัฐแสดงท่าทีคลายความตึงเครียดลง และเริ่มหารือความร่วมมือกับผู้นำจีน สี จิ้งผิง แม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่ค่อยจะดีนักต่อกรณีโรคระบาด COVID-19 นี้ เป็นที่น่าจับตาอีกว่า ทรัมป์จะสามารถฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เพราะนั่นคือเดิมพันต่อเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยหน้านั่นเอง เดิมทีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีขึ้นในปลายปีนี้แต่ขณะนี้ได้เลื่อนออกไปก่อน อีกปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้คืออัตราการว่างการของชาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 3.3 ล้านคน และผลกระทบที่จะตามมาหลังจากวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าอเมริกาเองจะใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูประเทศเช่นเดียวกับหลายๆประเทศทั่วโลก

จากปรากฏการณ์โรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการแพทย์ จำนวนหนึ่งได้เริ่มแสดงความเห็นไปในทำนองว่า โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สิ่งใหม่หลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไป อาจจะเห็นวิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น อาจจะอยู่เป็นหลักแหล่งมากขึ้น ทำงานและใช้ชีชีวิตนอกบ้านน้อยลง ธุรกิจใหม่ๆจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะที่เกี่ยวการแพทย์ สุขภาพ ธุรกิจขนส่งแบบเร่งด่วน เทคโนโลยีสำหรับการทำงานและการประชุมออนไลน์ ธรรมชาติและพืชพันธุ์ต่างๆถือโอกาสเบ่งบานขึ้นมาอีกครั้ง คนจะรู้จักการอยู่กับตัวเองและพึ่งตนเองมากขึ้น เป็นต้น วิกฤติมักสร้างโอกาสใหม่ๆเสมอ ต้องรอดูกันต่อไป

เช่นเดียวกับสังคมไทย วิกฤติครั้งนี้กำลังนำโอกาสมาให้เราทุกคนได้ส่งน้ำใจและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเอื้ออารีย์ แสดงออกให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความเป็นคนไทยที่เป็นมิตรกับทุกคน เป็นโอกาสที่จะสร้างจุดแข็งซึ่งดีอยู่แล้วให้โดดเด่นขึ้นไปอีก เมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปใครๆก็จะนึกถึงเราและกลับมาท่องเที่ยวบ้านเราอีกครั้ง


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.