สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่มีสัญญาณว่าจะหยุดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้บางพื้นที่จะสามารถชะลอการติดเชื้อใหม่ไว้ได้ เช่น จีนและไต้หวัน ขณะที่หลายประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อิตาลี สเปน หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อสะสมยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เตือนว่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้าทั่วโลกจะมียอดผู้ติดเชื้อถึง 1 ล้านคน และจำนวนผู้เสียชีวิตจะผ่าน 50,000 คนอย่างแน่นอน
การระบาดของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ตัวนี้ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก หรือ Pandemic สร้างความหวาดวิตกให้กับผู้นำประเทศต่างๆอย่างมาก อย่างไรก็ดี ปัญหานี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการรับมือและแก้ปัญหาของผู้นำประเทศต่างๆได้เป็นอย่างดี passion gen ถอดบทเรียนบางส่วนของผู้นำหลายๆประเทศ เพื่อให้เห็นถึงการรับมือไวรัสตัวนี้
เริ่มจากประเทศจีนซึ่งได้มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ ณ ขณะนี้ ว่าเป็นต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทันทีที่มีการยืนยันว่าเจอเชื้อโรคตัวใหม่นี้ ดูเหมือนว่าทางการจีนยังไม่ค่อยอยากเปิดเผยเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ก็ได้รายงานให้องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้รับทราบ กระทั้งการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็ประกาศปิดเมืองอู่ฮั่นและอีกหลายเมือง พร้อมกับสร้างโรงพยาบาลสนามขึ้นทันทีหลายแห่ง
ภายใต้การนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้ทำหน้าที่เป็นทัพหน้าแก้วิกฤติและการสื่อสารกับประชาชนและนานาชาติ ได้สั่งปิดพื้นที่อู่ฮั้น พร้อมห้ามมีการเดินทางเข้าออกเมือง แต่อนุญาตให้ต่างชาติขนพลเมืองของตัวเองกลับประเทศ ขณะเดียวกัน เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องสุขอนามัย รวมถึงการกักตัวอยู่กับบ้านเพื่อต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 จนเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง สี จิ้นผิงเดินทางไปเยือนอู่ฮั้น เพื่อประกาศว่าเอาชนะโรคนี้ได้แล้ว
หลังจากสถานการณ์ในประเทศจีนดีขึ้นเรื่อยๆ ทางการเริ่มแสดงความขอบคุณนานาประเทศที่ส่งกำลังใจไปให้ รวมถึงการส่งความช่วยเหลือไปบางประเทศที่วิกฤติ เช่น อิตาลี ทำให้จีนได้รับคำชมจากทั่วโลกว่าสามารถผ่านวิกฤติอันเลวร้ายไปได้ แม้ว่าจะสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 3.3 พันคน มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 8.1 หมื่นคน
ท่ามกลางความตื่นตะลึงของประเทศต่างๆ ไต้หวันซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับประเทศจีน ประกาศรับมือทันทีด้วยมาตรการสกัดกั้นการระบาดเชื้อไวรัสอย่างเข้มข้น ว่ากันว่าไต้หวันประสบความสำเร็จในการสกัด COVID-19 มากที่สุด ยาแรงที่ไต้หวันใช้ทันที คือ การตรวจเช็คสุขภาพผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินขาเข้า และกักตัวเพื่อดูอาการ 14 วันทุกคน ส่วนประชาชนทั่วไปให้อยู่บ้าน ทุกคนจะถูกติดตามตัวด้วยระบบออนไลน์ทางมือถือ หากไม่อยู่บ้านถือว่าผิดกฎหมายจะถูกคาดโทษทันที ด้วยเหตุนี้ทำให้มีผู้ติดเชื้อในไต้หวันประมาณ 50 คน และเสียชีวิตเพียงแค่คนเดียว
ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ ประธานาธิบดี ไช่ อิง-เหวิน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการวิกฤติครั้งนี้ด้วยตัวเอง ผู้นำคนนี้สามารถจับสัญญาณอันตรายได้ทันทีที่รู้ข่าวว่ามีคนติดเชื้อที่อู่ฮั่น จากนั้นก็จัดตั้งศูนย์บัญชาการสุขภาพแห่งชาติ หรือ NHCC ขึ้นมาทันที โดยมีศูนย์บัญชาการโรคระบาด หรือ CECC เป็นศูนย์กลางทำงานอีกที อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไต้หวันรับมือไวรัสนี้ได้ดี เพราะเคยมีบทเรียนสำคัญเมื่อครั้งเกิดโรคซารส์เมื่อปี 2003
เมื่อการระบาดของเชื้อ COVID-19 แพร่ขยายไปไกลมากขึ้น ประเทศต่างๆที่อยู่รายรอบจีน ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ อินเดีย ประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมด รวมถึงเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และโอเชียเนียทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ได้ลุกขึ้นมารับมือวิกฤตินี้ ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป
กรณีของญี่ปุ่นนั้น นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ประกาศเตือนชาวญี่ปุ่นให้เตรียมรับมือวิกฤติตั้งแต่เริ่มมีการระบาด พร้อมทั้งเริ่มออกกฎห้ามมีการชุมชนและจัดงานต่างๆ รวมไปถึงปิดโรงเรียนอนุบาลและปฐมศึกษาทั่วประเทศ ล่าสุดก็ตัดสินใจเลื่อนการจัดงาน Tokyo Olympic 2020 ไปเป็นปี 2021 แม้จะรู้ดีว่าต้องเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไปมหาศาล
ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการญี่ปุ่นยังคงสื่อสารกับประชาชนของตนเอง เรียกว่าเป็นแบบฉบับของสังคมญี่ปุ่นมากๆ ทุกคนจะเชื่อฟังผู้นำและปฏิบัติตาม ทำให้ญี่ปุ่นชะลอวิกฤติไปได้เยอะ ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเหลือไม่ถึง 3 พันคน จากช่วงแรกๆที่เป็นมีตัวเลขสูงเป็นอันดันต้นๆ
เช่นเดียวกับที่เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ชอง ซเย-คยอง และศูนย์ควบคุมป้องกันโรค หรือ KDCD ได้สื่อสารกับประชาชนถึงความคืบหน้าของสถานการณ์ไวรัสตลอดเวลา และได้ขอความร่วมมือกับประชาชนแบ่งสันปันส่วนหน้ากากอนามัย ให้ซื้อได้คนละ 2 ชิ้นต่อสัปดาห์ จากมาตรการนี้ทำให้เกาหลีใต้สามารถชะลอการติดเชื้อสะสมไม่เกินหมื่นคน และมากกว่าครึ่งรักษาหายแล้วขณะนี้
มาตรการที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสกัดกั้นการระบาดของเชื้อไรวัสอุบัติใหม่อีกแห่งคือ ที่ฮ่องกง ซึ่งทางการได้ประกาศห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็ห้ามคนฮ่องกงเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่ มาเก๊า และไต้หวันด้วย อาจพูดได้ว่าฮ่องกงปิดเมืองหรือที่เรียกว่า Lockdown ก็ว่าได้
ประเทศอื่นที่ใช้มาตรการล๊อกดาวน์ปิดประเทศคล้ายๆที่ฮ่องกง เช่น มาเลเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรี มูฮิดดิน ยัสซิน เป็นคนนำมาตรการที่เรียกว่า Movement Control Order มาใช้ ขณะที่สิงคโปร์ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ก็นำมาตรการเข้มข้นนี้มาใช้หลังจากจำนวนผู้ติดเชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศให้พนักงานบริษัทต่างๆทำงานที่บ้านยกเว้นกรณีจำเป็น หากบริษัทใดฝ่าฝืนสามารถสั่งปิดได้ และ สปป.ลาวก็ประกาศปิดประเทศเช่นกันหลังจากที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งแล้ว
สำหรับประเทศที่มีประชากรมากเป็นอับดับสองของโลกอย่างอินเดีย ก็ได้ประกาศล๊อกดาวน์ด้วย ส่งผลให้คนอินเดียหลายล้านคนตกทันที และมีคนนับล้านต้องเดินเท้ากลับบ้านเกิดเนื่องจากรถสาธารณะไม่เพียงพอ แต่การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวและตัดไฟแต่ต้นลมของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี อาจไม่สามารถหยุดโรคร้ายนี้ได้เต็มที่เพราะระบบสาธารณสุขของประเทศยังไม่ดีพอ ส่วนที่ภูฐาน สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ก็ได้ประกาศปิดประเทศเช่นเดียวกัน เพื่อปกป้องประชาชนชาวภูฐาน
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ดูเหมือนว่าประเทศตะวันตกและตะวันออกกลางบางประเทศ เช่น อิหร่าน ได้เข้าสู่ภาวะสู่วิกฤติมากกว่าประเทศในแถบเอเชียซะอีก องค์การอนามัยโลกประกาศชัดเจนว่า อเมริกา อิตาลี สปน อยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะล่าสุดมีผู้ติดเชื้อสะสมของทั้ง 3 ประเทศมีจำนวนสูงสุด 3 อันดับแรกของโลก (อเมริกาติดเชื้อสะสมกว่า 2 แสนคน อิตาลีเกินกว่า 1.0 แสนคน สเปนกว่า 1 แสนคน ส่วนผู้เสียชีวิตของ 3 ประเทศที่ 3.8 พันคน 1.2 หมื่นคน และ 8.4 พันคน ตามลำดับ (เฉพาะข้อมูลผู้เสียชีวิตจาก Sina Weibo, Worldometers วันที่ 1 เมษายน 2563)
การแพร่ระบาดในประเทศตะวันตก ไม่ได้แพร่เฉพาะในหมู่ประชาชนทั่วไป แต่ยังมีบุคคลสำคัญๆหลายคนไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ นักกีฬา ดารา รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็ไม่รอดพ้นจากเชื้อ COVID-19 ไปได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียก็ต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน หลังจากพบว่ามีความเสี่ยง เช่นเดียวกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษก็เพิ่งหมดระยะกักตัว
อังเกโล บอร์เรลี ประธานสำนักงานป้องกันภัยพลเรือนของอิตาลี ได้พยายามอย่างสุดความสามารถทุกวิธีทางในการสกัดเชื้อไวรัส รวมถึงมาตรการปิดประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างน่าพอใจ ขณะที่ทางการจีนได้ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่จำนวนผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่สเปนที่พบว่าการแพร่เชื้อไวรัสนี้ ยังคงร่าชีวิตผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ ที่ประเทศอังกฤษก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในระดับที่พอใจ แต่นโยบายของอังกฤษเองก็สร้างความประหลาดใจให้กับนานาประเทศไม่น้อย หลังจากที่หยั่งเชิงว่าจะใช้นโยบาย Herd Immunity คือ การปล่อยให้เชื้อโรคระบาดไปเรื่อยๆและปล่อยให้หยุดหายไปเอง นั่นหมายความว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ทั้งนี้ อังกฤษยังไม่ใช้นโยบายนี้แต่อย่างใด
ผู้นำอีกคนหนึ่งที่กำลังถูกจับตาคือ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ซึ้งขณะนี้มีอำนาจพิเศษในการสั่งการกรณีฉุกเฉินได้ทั้งหมด ในช่วงที่เริ่มวิกฤติทรัมป์ประกาศสู้กับโรคระบาดนี้ด้วยการปิดเมืองหลายเมือง แต่สถานการณ์กลับเลวร้ายมากขึ้น ล่าสุดทรัมป์ประกาศเตือนให้พร้อมรับมือการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งเดือนแรกเมษายนนี้ พร้อมประกาศว่าจะควบคุมจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ให้เกิน 1 แสนคน และยังมีแผนอื่นเตรียมไว้อีก เช่น การเพิ่มมาตรการปิดประเทศกับประเทศต่างๆมากขึ้น หลังจากที่ได้ปิดการเดินทางกับหลายประเทศไปแล้วรวมถึงยุโรป
เป็นที่น่าสังเกตว่ากลยุทธ์การสู้กับไวรัสอุบัติใหม่ของผู้นำโลกคนนี้ มีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง บางช่วงเวลาก็ประกาศจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าสุขภาพชาวอเมริกัน สร้างความไม่พอใจกับประชาชนอย่างมาก ต่อมาประกาศจะให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วยการแจกเงิน หรือการเปลี่ยนแผนล๊อกดาวน์มหานครนิวยอร์คแบบกระทัน เนื่องจากอาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับผู้ว่าการมลรัฐอื่นๆ นี่ไม่นับรวมการจัดการเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีนหลังจากที่ตนเองเรียกเชื้อไวรัส COVID-19 ว่าเป็น Chinese virus ทำให้จีนไม่พอใจอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสหรัฐแสดงท่าทีคลายความตึงเครียดลง และเริ่มหารือความร่วมมือกับผู้นำจีน สี จิ้งผิง แม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่ค่อยจะดีนักต่อกรณีโรคระบาด COVID-19 นี้ เป็นที่น่าจับตาอีกว่า ทรัมป์จะสามารถฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เพราะนั่นคือเดิมพันต่อเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยหน้านั่นเอง เดิมทีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีขึ้นในปลายปีนี้แต่ขณะนี้ได้เลื่อนออกไปก่อน อีกปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้คืออัตราการว่างการของชาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 3.3 ล้านคน และผลกระทบที่จะตามมาหลังจากวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าอเมริกาเองจะใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูประเทศเช่นเดียวกับหลายๆประเทศทั่วโลก
จากปรากฏการณ์โรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการแพทย์ จำนวนหนึ่งได้เริ่มแสดงความเห็นไปในทำนองว่า โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สิ่งใหม่หลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไป อาจจะเห็นวิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น อาจจะอยู่เป็นหลักแหล่งมากขึ้น ทำงานและใช้ชีชีวิตนอกบ้านน้อยลง ธุรกิจใหม่ๆจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะที่เกี่ยวการแพทย์ สุขภาพ ธุรกิจขนส่งแบบเร่งด่วน เทคโนโลยีสำหรับการทำงานและการประชุมออนไลน์ ธรรมชาติและพืชพันธุ์ต่างๆถือโอกาสเบ่งบานขึ้นมาอีกครั้ง คนจะรู้จักการอยู่กับตัวเองและพึ่งตนเองมากขึ้น เป็นต้น วิกฤติมักสร้างโอกาสใหม่ๆเสมอ ต้องรอดูกันต่อไป
เช่นเดียวกับสังคมไทย วิกฤติครั้งนี้กำลังนำโอกาสมาให้เราทุกคนได้ส่งน้ำใจและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเอื้ออารีย์ แสดงออกให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความเป็นคนไทยที่เป็นมิตรกับทุกคน เป็นโอกาสที่จะสร้างจุดแข็งซึ่งดีอยู่แล้วให้โดดเด่นขึ้นไปอีก เมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปใครๆก็จะนึกถึงเราและกลับมาท่องเที่ยวบ้านเราอีกครั้ง
Category: