Categories: WISDOM

เคล็ดลับแก้ง่วงนอนในเวลาทำงาน…ฉบับคนชอบนอนดึก

4 / 5 ( 2 votes )

ฮ้าวววววว…….. คุณหาวออกมาในขณะที่คุณกำลังนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิตของคุณ สมองของคุณไม่แล่น นิ้วมือที่แตะคีย์บอร์ดอยู่หยุดนิ่ง สติเริ่มเรือนราง เปลือกตาหนักอึ้ง และคุณต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เพื่อระวังไม่ให้ตัวเองหลับคาโต๊ะทำงาน  แม้ว่าคุณจะลุกไปล้างหน้าแต่พอกลับมานั่งที่โต๊ะได้ไม่นานความง่วงก็กลับมาเยือนอีกครั้ง

เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้คือ สัญญาณที่บ่งชี้ว่าในช่วงนี้คุณขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอต่อเนื่องมาหลายวัน และมันก็เริ่มส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคุณแล้ว

ปัจจุบัน การนอนไม่ตรงเวลา หรือการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นปัญหาใหญ่ของคนในสังคมยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้พวกเรามีความบันเทิงให้เลือกมากขึ้นในช่วงก่อนนอน  ซึ่งมนุษย์เราก็แปลก พวกเรามักจะเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองทำแล้วมีความสุข มากกว่าสิ่งที่ถูกต้อง

แม้พวกเราจะรู้ถึงข้อเสียของการนอนหลับไม่เพียงพออยู่เต็มอก แต่คนจำนวนมากก็ยังชอบเล่นอินเทอร์เน็ต ชอบดูซีรีย์ หรือเล่นเกมอยู่จนดึกๆ เพื่อคลายเครียดจากการทำงาน  

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ชอบนอนดึก คุณควรพิจารณารีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณ แล้วเพิ่มเวลานอนให้มากขึ้น เริ่มตั้งคืนนี้เป็นต้นไป…

แต่ช้าก่อน!นั่นมันเรื่องสำหรับคืนนี้ ตอนนี้คุณยังอยู่ในเวลางาน และยังอีกเหลือหลายชั่วโมงกว่าจะถึงเวลาเลิกงาน  ตอนนี้คุณต้องเอาตัวรอดจากสถานการณ์ง่วงนอนนี้ไปให้ได้ซะก่อน  


บทความที่คุณอาจสนใจ
Work-Life Balance
“นอน” คือหนทางสู่ความสำเร็จ
จะหลับให้สนิทได้อย่างไรในภาวะวิกฤตโควิด – 19

ในบทความนี้ passion gen จึงขอมาแนะนำวิธีแก้ง่วงนอน แบบเฉพาะหน้าจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง เพื่อให้คุณสามารถลืมตาตื่นอยู่ได้ในช่วงเวลาทำงาน ก่อนที่คุณจะสามารถกลับไปนอนพักผ่อนที่บ้าน

1.ขยับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย

สำหรับคนที่นอนพักผ่อนเพียงพอ สถานที่มีบรรยากาศเงียบสงบ และสภาพอากาศเย็นสบาย ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่จะช่วยเสริมสร้างสมาธิในการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม แต่ในทางกลับกัน หากคุณขาดการพักผ่อน สภาพแวดล้อมที่เงียบสงบก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณรู้สึกง่วงนอนขึ้นมาได้เป็นอย่างดี

เมื่อคุณเริ่มรู้สึกง่วง คุณจะต้องทำให้ร่างกายของคุณมีการเคลื่อนไหวให้มากที่สุด เพื่อให้สมองของคุณรับรู้ว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลานอนนะ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นไปเดินรอบห้อง คุณสามารถนั่งอยู่ที่โต๊ะของคุณเหมือนเดิม แล้วทำการขยับแขน แกว่งขา หรือ ย่ำเท้าอยู่ใต้โต๊ะของคุณอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับท่าบริหารร่างกายที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำให้ทำเพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เรียกได้ว่า นอกจากคุณจะกำจัดให้ความง่วงหายไปได้แล้ว คุณยังได้บริหารร่างกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย

2.หาความบันเทิงในระหว่างการทำงาน

เชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงชอบนั่งฟังเพลง ไปพร้อมกับการทำงานอยู่แล้ว  เพื่อความเพลิดเพลิน และเพิ่มสมาธิในการทำงาน  แต่เรื่องแปลกก็คือ สำหรับบางคน รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย การมีเสียงเพลงกรอกหูอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ช่วยป้องกันความง่วงเสมอไป  การจะเผลอกลับไปทั้งๆที่กำลังใส่หูฟัง และฟังเพลงเสียงดังอยู่นั้นเป็นไปได้ โดยเฉพาะในตอนที่วงอย่างหนัก ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนกลุ่มนี้ควรทำอย่างไร?

คำตอบก็คือ คุณต้องหาสื่อที่มีเนื้อหาตลกขบขันมาฟัง  เพราะว่าการหัวเราะ คือ ยาแก้ง่วงชั้นดี  (แต่คุณต้องกลั้นขำให้ดี เพราะมันอาจรบกวนเพื่อนร่วมงานคนอื่นได้) แต่ไม่แนะนำให้คุณเปิดคลิปวิดิโอขึ้นมาดูบนหน้าจอ เพราะเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้าที่เดินผ่านมาอาจคิดว่าคุณแอบอู้งานได้  คุณควรเปิดคลิปที่คุณสามารถฟังแต่เสียงพูดของพิธีกร หรือเสียงบรรยายแล้วสนุกไปกับเนื้อหาได้ หรือไม่ก็หา Podcast สนุกๆ มาฟัง เพื่อให้คุณสามารถทำงานไปพร้อมกันได้อย่างแนบเนียน โดยไม่ต้องคอยสลับหน้าต่างไปดูวิดิโอ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกฟังสื่อที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องที่คุณสนใจ หรือชื่นชอบก็ได้ เพราะสติของคุณจะตื่นตัวในยามที่คุณกำลังให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3.นอนหลับสั้นๆ

แน่นอนว่าวิธีป้องกันการง่วงนอนที่ดีที่สุดอย่างไรก็หนีไม่พ้นการนอนหลับ และการนอนพักผ่อนช่วงสั้นๆ ระหว่างวันเพียง 15-20 นาที ในระหว่างวันสามารถช่วยให้คุณกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์

โชคร้ายที่ในออฟฟิต คุณไม่สามารถแอบนอนบนโต๊ะได้เหมือนในห้องเรียน ดังนั้น ให้คุณใช้วิธีการในข้อ 1-2 เอาตัวรอดผ่านช่วงเช้าให้ได้ และพอถึงช่วงพักกลางวัน ก็รีบรับประทานข้าวกลางวันให้เสร็จแล้วใช้เวลาพักที่เหลือ หามุมเงียบๆแล้วปิดตานอน ซึ่งบริษัทบางที่จะมีการจัดพื้นที่ไว้ให้พนักงานสามารถไปนอนพักได้ แต่ถ้าบริษัทคุณไม่มีพื้นที่แบบนั้นก็ให้นอนหลับที่โต๊ะของคุณแทน และอาจจะบอกให้เพื่อนร่วมงานของคุณให้ช่วยปลุกให้คุณตื่นเมื่อหมดเวลาพัก

ทุกท่านอาจจะสงสัยว่า อะไรมีประสิทธิภาพมากกว่ากันระหว่าง การดื่มกาแฟ กับการนอนพักผ่อนช่วงสั้นๆ  ที่ต่างประเทศมีการวิจัยออกมาว่า

การทำทั้งสองอย่างด้วยกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว  ตามเทคนิคที่เรียกว่า “Coffee Nap”  หรือ การดื่มกาแฟอย่างเร็วๆ แล้วไปนอนเป็นเวลาไม่เกิน 20 นาที  

เทคนิคนี้มีหลักการ คือ ปกติแล้วคาเฟอีนที่ร่างกายรับเข้าไปจะออกฤทธิ์หลังจากผ่านไปประมาณ 20 นาที ดังนั้น หากคุณดื่มแล้วไปนอนทันที คาเฟอีนจะไม่ขัดขวางการนอนของคุณ และเมื่อคุณตื่นขึ้นมาหลัง 20 นาทีผ่านไป คุณก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นทั้งจากการนอน และคาเฟอีนพร้อมๆกัน

แต่มีข้อควรระวังก็คือ ต้องระวังอย่าหลับเกิน 20 นาที เพราะคุณจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการสะลึมสะลือแทน และคุณไม่ควรหลับ หรือดื่มกาแฟในช่วง 6 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลานอนปกติ เพราะจะทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น

 


 

ทั้งหมดนี้ก็คือ เคล็ดลับแก้อาการง่วงนอนขณะอยู่ในออฟฟิตที่ผู้เขียนนำมาฝาก หวังว่ามันคงจะสามารถช่วยทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย  แต่ขอเตือนซักนิดว่า คุณไม่ควรใช้วิธีเหล่านี้เพื่อลดเวลานอนตามปกติของคุณ เพราะว่าไม่มีการพักผ่อนใดจะดีต่อสุขภาพมากไปกว่าการนอนหลับอย่างเพียงพออีกแล้ว

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.