Categories: WISDOM

ความท้าทายของธนาคารกรุงไทย ในยุค Digital Disruption : เปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวต่อ

การเกิดขึ้นใหม่และล้มหายตายจากของบริษัทคือเรื่องธรรมดาของการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ บริษัทที่ไม่ยอมปรับตัว ย่อมไม่อาจอยู่รอดได้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่พัดพาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งกระหน่ำเข้ามาพร้อมกันทุกด้านตั้งแต่เทคโนโลยี ไปจนถึงแนวคิดและวิถีชีวิตประจำวัน หลาย ๆ บริษัทจึงมีการปรับตัวและเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจเพื่อความอยู่รอด และการมองหา “พาร์ทเนอร์” หรือ “พันธมิตรทางธุรกิจ” เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยกันฝ่าฟันพายุที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลง เสริมจุดอ่อน สร้างจุดแข็ง ร่วมกันพัฒนานวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค

PassionGen ชวนติดตาม 1 ในบริษัทที่มีการปรับตัวโดยอาศัยเทคโนโลยีและพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วย เพื่อสร้างบริการใหม่ที่บริษัทประกาศเข็มมุ่งว่า “ต้องเป็นเลิศและเป็นผู้ช่วยให้แก่ผู้บริโภคในทุกมิติ”

การปรับตัวอย่างไม่หยุดยั้ง

ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารที่เก่าแก่และดำเนินกิจการมานาน กว่า 50 ปี ฝ่าช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจมาหลายต่อหลายครั้ง แต่การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้ ไม่ใช่เพราะความเก่าแก่ขององค์กร หากเป็นความสามารถในการปรับตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทใหญ่ทั่วโลก ธนาคารกรุงไทยมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำธุรกิจมาโดยตลอด เพื่อเผชิญหน้าและรับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการเงินการธนาคารในแต่ละยุคสมัย แต่ ยุค Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นโจทย์ใหญ่ที่ยากและท้าทายสำหรับธนาคารกรุงไทยมากกว่าครั้งไหน ๆ ยิ่งบวกกับความต้องการจะสลัดทิ้งภาพลักษณ์เดิม ๆ ของกรุงไทยที่ถูกมองว่า ช้า เชย และล้าหลัง ไม่ก้าวตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ธนาคารยิ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงิน และก้าวไปสู่การเป็น Invisible Banking/Open Banking หรือธนาคารที่ลูกค้าสามารถใช้บริการทำธุรกรรมได้ไม่ว่าจะเวลาไหนหรือที่ใดก็ตาม เป็นธนาคารให้บริการธุรกรรมในอากาศ ที่ติดตัวและเคลื่อนที่ไปกับลูกค้าทุกที่

ภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Invisible Banking/Open Banking กรุงไทยตั้งเป้าหมายในการให้บริการแก่ลูกค้าด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้ง 5 Ecosystem ได้แก่

  • กลุ่มการชำระเงิน (Payment)
  • กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (Government)
  • กลุ่มระบบขนส่ง (Mass transit)
  • กลุ่มสุขภาพและการรักษาพยาบาล (Healthcare)
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยและการศึกษา (Education)

นอกจากจะประกาศยกระดับคุณภาพการให้บริการที่เน้นความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ธนาคารยังเน้นการใช้เทคโนโลยีทางการเงินที่ล้ำสมัยมาตอบสนองความต้องการซึ่งเปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคทั้ง 5 กลุ่มนี้ด้วย

ที่สำคัญคือ การประกาศปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรครั้งใหญ่

โครงการ “กรุงไทยคุณธรรม” เป็นความพยายามของธนาคารกรุงไทยที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ประชาชน และสังคม หลังเผชิญหน้ากับเรื่องอื้อฉาวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการปรับภาพลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กรให้มีความโปร่งใส เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และป้องกันการทุจริต โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนธนาคารให้เป็นต้นแบบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ยิ่งพนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร จะยิ่งช่วยกันพัฒนาองค์กรไปในทางสร้างสรรค์ และกล้าเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะยกระดับองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการให้บริการแก่ลูกค้า

ในด้านของพาร์ตเนอร์ หรือพันธมิตรร่วมงาน ธนาคารกรุงไทย ได้ผนึกกำลังจับมือกับหลายองค์กร เช่น บริษัท Visa ที่จะมาช่วยเรื่องระบบการชำระเงิน (payment) รวมถึงเชื่อมโยงกรุงไทยเข้ากับลูกค้า และ บริษัท Plug and Play ที่จะช่วยดึงบริษัท Start Up หรือ Fintech ต่าง ๆ เข้ามาช่วยกรุงไทยในการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ ๆ เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ ธนาคารกรุงไทยให้ความสนใจอย่างจริงจังกับการถอดบทเรียนจากความผิดพลาดของสถาบันการเงินระดับโลกอย่าง Wells Fargo ซึ่งเป็นข่าวใหญ่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559 ว่าประสบปัญหาทุจริตภายในจนส่งผลอย่างมหาศาลต่อความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กรุงไทยสามารถป้องกันความผิดพลาดแบบเดียวกัน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

วันนี้ ธนาคารกรุงไทยพยายามพลิกโฉมวัฒนธรรมองค์กรของตัวเอง สลัดภาพเก่า ๆ ของกรุงไทยว่าเป็นธนาคารของรัฐที่อุ้ยอ้าย เชื่องช้า และเฉิ่มเชย นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อไล่ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในรูปแบบใหม่ ๆ ของผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงินและเป็น Invisible Banking/Open Banking ควบคู่กับการนำสังคมไปสู่ยุคดิจิตัลอย่างเต็มรูปแบบ

ในตอนหน้า ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปเจาะลึกอย่างละเอียดกับการนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาใช้ของธนาคารกรุงไทย รวมถึงการศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การหาพันธมิตรเพื่อ ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีและการบริการ และ พาไปดูว่าเทคโนโลยีที่ธนาคารกรุงไทยนำมาใช้นั้นมีอะไร เป็นอย่างไร

เพื่อร่วมกันหาคำตอบว่า การที่ธนาคารกรุงไทยวางเข็มมุ่งจะเป็น “ธนาคารแห่งอนาคต” นั้น เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.