ไม่แน่ใจว่ามีใครในประเทศไทยศึกษาทัศนคติของคนไทยต่อสถานที่ทำงานไว้บ้างหรือไม่ แต่ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ศึกษาคนอเมริกันเมื่อปีที่แล้ว และได้ผลออกมาว่า 61 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันซึ่งทำงานในออฟฟิศ เห็นว่า ที่ทำงานคือแหล่งสร้างความเครียดอันดับต้นๆ
ดอกเตอร์แอนเดรีย โบเนียร์ (Andrea Bonior) อาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และนักเขียนประจำนิตยสาร Psychology Today บอกว่า ไม่แปลกใจกับผลศึกษาเลย เพราะทุกวันนี้คนทำงานออฟฟิศเหมือนทำงานตลอดเวลาจนแทบไม่มีชีวิตส่วนตัว เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างความคาดหวังว่าพวกเขาต้องทำงานได้ทุกขณะเมื่อองค์กรหรือนายจ้างเรียกร้อง ซ้ำค่าครองชีพยังสูงเอาๆ จนรายรับที่ได้แทบไม่พอประทังชีวิต
ครั้นจะโทษนายจ้างว่าจ่ายค่าแรงต่ำก็ไม่ได้ เพราะปัญหารวยกระจุก จนกระจายของสังคม และภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้นายจ้างส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายค่าแรงแพงลิบโดยบริษัทไม่เจ๊งไปเสียก่อน
ดอกเตอร์โบเนียร์เชื่อว่า นายจ้างส่วนใหญ่เป็นห่วงพนักงานแต่มักคิดเอาเองว่าได้ดูแลพนักงานดีมากแล้ว ด้วยการจัดสถานที่และช่วงเวลาให้พนักงานออกกำลังกายบ้าง จัดอาหารสุขภาพให้พนักงานบ้าง
หากนั่นเป็นเพียงเปลือกนอก
สิ่งสำคัญกว่าและสำคัญที่สุดคือ “ใจ” ของคนทำงาน ซึ่งหากเป็นใจมีความสุข จะนำไปสู่บรรยากาศสร้างสรรค์ที่ส่งผลโดยตรงต่อความรุ่งโรจน์ขององค์กร
แต่ใจมีความสุข “เกิดขึ้นไม่ได้” หากอยู่ภายใต้ 10 ปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
งานศึกษาของดอกเตอร์โบเนียร์ชี้ให้เห็นว่า พนักงานส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานคุณภาพเสมอ แต่อุปสรรคมักเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างคิดว่า คุณภาพงานจะดีกว่าเดิมหากนายจ้างใส่ใจตรวจตราทุกรายละเอียด ซึ่งกลับเป็นการสร้างความอึดอัดคับข้องใจให้แก่พนักงาน และทำให้พนักงานตกอยู่ในกับดักความเชื่อว่าพวกเขาไร้ความสามารถ จนกลายเป็นความเครียดและด้อยสมรรถภาพในการทำงานขึ้นมาจริงๆ
ความคับข้องใจสำคัญในการทำงานที่ไม่เพียงเพิ่มความตึงเครียด แต่ยังทำให้เสียเวลาและพลังงาน คือความคาดหวังที่ไม่ชัดเจนของนายจ้างต่อพนักงานว่าต้องการให้พนักงานทำอะไร รวมถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ซึ่งทับซ้อนกับงานของเพื่อนร่วมงานคนอื่นจนพนักงานเกิดความไม่แน่ใจว่าหากทำไป จะก้าวก่ายงานของเพื่อนร่วมงานหรือไม่ หรือเกิดคำถามว่าใครควรเป็นหลักในการรับผิดชอบงานนี้ เป็นต้น
สืบเนื่องจากความคาดหวังที่ไม่ชัดเจน นำไปสู่ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของหัวหน้างานฝ่ายต่างๆ ที่ต้องการงานหรือมีวิธีทำงานในลักษณะแตกต่างกัน ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานระดับล่างลงมาก็จะเกิดปัญหา “นายหลายคน” ทั้งนายใหญ่นายเล็ก ต่างคนต่างสั่งงานจนปั่นป่วนไปหมด ไม่รู้ต้องทำให้ใครก่อนหลัง
ในสังคมยุคใหม่ แม้เราส่วนมากจะเริ่มคุ้นชินกับการถูกขัดจังหวะระหว่างสนทนาหรือระหว่างทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเสียงเตือนจากโทรศัพท์มือถือว่ามีเมลใหม่ หรือคำสั่งมอบหมายงานใหม่ หรือนัดหมายลูกค้าครั้งใหม่ แต่ความจริงในแง่ชีววิทยาการทำงานของสมองก็คือ การต้องใส่ใจหลายสิ่งพร้อมๆกันและเกือบจะเท่าๆกันตลอดเวลา ทำให้สมองล้าและนำไปสู่ความเครียด
พนักงานย่อมรู้สึกอึดอัดคับข้องใจ หากไม่สามารถรู้ชัดถึงความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ของตน ไมสามารถรู้ข้อดีและข้อบกพร่องของตนเพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือไม่มีคำติชมที่ชัดเจนและเป็นธรรมพร้อมข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานจากนายจ้างอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งนายจ้างหรือหัวหน้างานวางท่าเฉย แต่พูดให้รู้ว่าตรวจสอบพนักงานตลอดเวลา พนักงานจะเครียดมากเพราะไม่รู้ว่าจะได้รับคำวิจารณ์ด้านลบจากนายจ้างเมื่อใด
ที่ทำงานซึ่งไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ทางสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ประเด็นทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ไปจนถึงเรื่องรูปร่างหน้าตาและอื่นๆ รวมถึงปล่อยปละละเลยให้เกิดการระราน ข่มขู่ ล่วงละเมิด ย่อมทำให้พนักงานมีแนวโน้มจะทำงานท่ามกลางความรู้สึกไม่ปลอดภัย กระทั่งไม่สามารถสร้างสรรค์งานคุณภาพได้
งานวิจัยส่วนมากที่เกี่ยวกับความสุขของมนุษย์ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างความสุขชั่วขณะกับความสุขระยะยาวที่มีความหมายลึกซึ้ง มนุษย์ต้องการรู้สึกว่าชีวิตได้รับการเติมเต็มจากสิ่งต่างๆ ที่กระทำ รู้ว่าทำไมและเหตุใดจึงกระทำสิ่งนั้น
ความสามารถเชื่อมโยงตนเองและงานที่กำลังทำเข้ากับภาพใหญ่ของชีวิตและโลก ทำให้มนุษย์รู้สึกเติมเต็มและผูกพันกับงาน มีความแตกต่างระหว่างประโยคที่ว่า “งานทั้งหมดที่ฉันทำคือทำสำเนาเอกสาร” กับ ”แม้ดูเหมือนว่าในแต่ละวัน ฉันไม่ได้ทำอะไรนอกจากทำสำเนาเอกสาร แต่ถ้าฉันไม่ทำงานนี้ ก็จะไม่มีจุลสารเหล่านี้ และฉันรู้ว่า คนที่ได้อ่านจุลสารเหล่านี้จะไปทำสิ่งต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่าง”
ข้อเสนอของดอกเตอร์โบเนียร์คือ พนักงานสามารถช่วยกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองที่จะส่งผลในทางสร้างสรรค์ต่อมนุษยชาติและโลก
พนักงานหลายคนรู้สึกผิดที่จะลาหยุด และหลายองค์กรหรือบริษัทมีธรรมเนียมว่า สามารถเรียกตัวพนักงานทุกคนไปทำงานได้ 24 ชั่วโมงตลอดปีไม่มีวันหยุด ดังนั้น พนักงานจึงต้องคอยตรวจอีเมลหรือไลน์จากบริษัทเสมอแม้กำลังพักผ่อน เพื่อให้มั่นใจว่าตำแหน่งงานจะไม่หลุดลอยไปไหน เพราะสามารถตอบรับคำสั่งนายจ้างได้ทุกเวลา
ดอกเตอร์โบเนียร์เสนอว่า ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติทันที งานศึกษาวิจัยจำนวนมากพิสูจน์แล้วว่า การได้พักผ่อนจากงานประจำช่วยให้สมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายจ้างหรือหัวหน้างานต้องแสดงให้เห็นความเข้มแข็งเด็ดขาดและความสามารถในการบริหารงานด้วยความเที่ยงธรรม องค์กรหรือบริษัทที่พนักงานขาดความเชื่อมั่นในการบริหารงานของนายจ้างหรือหัวหน้างาน ส่งผลให้บรรยากาศในที่ทำงานอึดอัด ไม่เป็นมิตร เกิดความหวั่นวิตก ความกังวล และต่างคนต่างทำงานเพียงเอาตัวรอดไปวันๆ
แม้เป็นไปไม่ได้ที่พนักงานทุกคนจะมีโอกาสก้าวไปเป็น “ผู้บริหารระดับสูง” ขององค์กรหรือบริษัท แต่ทุกคนควรได้รับโอกาสที่จะหวังถึงความก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานที่สูงขึ้น หรือเงินเดือนที่สูงขึ้น ไปจนถึงความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่มากขึ้น หรือความรับผิดชอบในโปรเจคท์ที่ใหญ่ขึ้น สำคัญขึ้น หากไม่มีความชัดเจนเรื่องความก้าวหน้า พนักงานจะรู้สึกถูกกดดันอยู่ในกับดักของความสิ้นหวังเพราะไม่สามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้
เรียบเรียงจาก: https://www.psychologytoday.com/us/blog/friendship-20/201806/10-factors-make-your-workplace-more-stressful
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.