Categories: WISDOM

ความท้าทายของธนาคารกรุงไทย ในยุค Digital Disruption : ชิม ช็อป ใช้

ผ่านไปแล้วเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กับโครงการ “ชิม ช้อป ใช้” ระยะ 1 หรือเฟส 1 ของรัฐบาลไทยยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2 ด้วยเหตุผลที่รัฐบาลระบุว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยจ่ายเงินให้ประชาชนที่มาใช้สิทธิลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละ 1,000 บาท ไป “ชิม” “ช้อป” และ “ใช้” ตามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งต้องไม่ใช่จังหวัดตามทะเบียนบ้าน

เป้าหมายคือดึงคนให้หันมาเที่ยวในประเทศมากขึ้น ให้เงินกระจายไปตามภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น ในนัยที่ว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก

เฟส 1  มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 10 ล้านราย มียอดใช้จ่ายสะพัดกว่า 8,000 ล้านบาท ใน 19 วันแรกของโครงการ เฉพาะที่จังหวัดชลบุรี มีร้านอาหาร ที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ สมัครเข้าร่วมมากกว่า 2,700 แห่ง ทำให้ยอดการใช้จ่ายในพื้นที่ นับจากวันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม อยู่ที่ 81 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานครซึ่งมียอดใช้จ่าย 164 ล้านบาท และอันดับ 3 คือจังหวัดสมุทรปราการ 54 ล้านบาท

เฟส 2  รัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศช่วงปลายปี จากเดิมที่ให้สิทธิคนละ 1,000 บาท เปลี่ยนเป็นการคืนเงินให้ผู้ที่ใช้จ่ายถึงอัตราที่กำหนดแทน ซึ่งรัฐบาลหวังว่าจะสามารถชักชวนประชาชนให้ควักเงินจากกระเป๋าตัวเองมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น

หากขั้นตอนก่อนจะมาเป็น “ชิม ช้อป ใช้”  ซึ่งไม่ใช่ “ยุคโบราณ” ประเภทเกณฑ์ประชาชนมาเข้าแถวรับเงินที่ควบคุมระเบียบยากและตรวจสอบยาก แต่เป็น “สมัยใหม่” ที่ประชาชนต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆในการรับสิทธิ รับเงินและใช้จ่าย

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยี และ องค์การสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการจัดทำระบบให้บริการ “ชิม ช้อป ใช้”  ก็คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นั่นเอง

ธนาคารกรุงไทย วางระบบการทำธุรกรรมและสนับสนุนหลากหลายโครงการของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นับแต่โครงการ “บัตรคนจน” ไปจนถึง ระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตุง” “เป๋าตัง”, พัฒนาและดูแลแพลตฟอร์มบัตรแมงมุม, M-Pass  ตลอดจนวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการ “ชิม ช้อป ใช้”  เป็นต้น

ทั้งหมดนั้น คือการวางรากฐานเทคโนโลยีและดิจิทัลอีโคโนมีให้สังคมไทย เริ่มจากสร้างความเคยชินเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินแบบดิจิทัลเพื่อก้าวสู่สังคมไร้เงินสดยุคดิจิทัล 5.0  เตรียมคนไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการรับมือกับยุคทำลายล้างด้วยเทคโนโลยี (Disruption) และยังสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับตัวเองได้ในอนาคต

เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำธุรกรรมทางการเงิน ผลคือรัฐบาลสามารถอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและไปถึงมือประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านมือตัวกลางหลายซับหลายซ้อนเหมือนอดีต ซึ่งเงินอาจรั่วไหลระหว่างทางจนไม่เหลือถึงมือประชาชน

ระบบเทคโนโลยีที่มีการสแกนหน้ายืนยันตัวตน รวมถึงร้านค้าที่ต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตน ช่วยป้องกันการสวมสิทธิหรือการทุจริตได้ค่อนข้างแน่นอนกว่า

สำหรับโครงการ “ชิม ช้อป ใช้” นี้ ทำให้ธนาคารกรุงไทยได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นถึง 10 ล้านคน ซึ่งธนาคารสามารถนำ ของลูกค้าและร้านค้าที่เข้าร่วมกับโครงการไปต่อยอดการบริการได้อีกมากมายในอนาคต เพื่อพัฒนาการบริการให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคเป็นรายบุคคล

ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน IT (IT Structure) และโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Data Structure) คือ องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถพัฒนาไปสู่การเป็น Open Banking ระดับคุณภาพ

การเป็น Open Banking ซึ่งหมายถึงการที่ธนาคารเปิดระบบให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ สามารถเชื่อมต่อบริการทางการเงินและสร้างการทำงานแบบอัตโนมัติกับธนาคารได้ เข้าถึงข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธนาคารภายใต้การยินยอมของลูกค้าได้ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแบบรายบุคคลได้

คือโอกาสก้าวสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตของภาคธุรกิจการเงิน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค

สำหรับโครงการ “ชิม ช้อป ใช้” นั้น แม้มีความขลุกขลักและอุปสรรคอยู่บ้างในโครงการ ถ้าฟังจากเสียงสะท้อนของประชาชนที่บ่นกันระงม เช่น ลงทะเบียนไม่ได้ แอปพลิเคชันมีปัญหา ไม่สะดวกสำหรับประชาชน และ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการถอนตัวกระทันหัน

ก็ต้องนับเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับสังคมไทยไปสู่สังคมดิจิทัล ทำให้เราเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ

ตอนหน้าเราจะพาท่านผู้อ่านไปดูความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของธนาคารกรุงไทย ว่ากรุงไทยได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้บริการธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้าอย่างไร กรุงไทยและพันธมิตรร่วมมือกันอย่างไร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีมาตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และรับมือกับการทำลายล้างของเทคโนโลยีในยุค Digital Disruption


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.