ปัญหาอย่างหนึ่งของคนทำงานเป็นลูกจ้างหรือผู้บริหารคือ “ความสมดุลของชีวิตและเรื่องงาน” (Work-Life Balance) หลายคนชีวิตต้องพังเพราะหาความสมดุลตรงนี้ไม่เจอ หลายคนเครียด เกลียดงาน กลายเป็นคนซึมเศร้า มีโรคประจำตัว เพราะชีวิตยุ่งเหยิง จับต้นชนปลายไม่ถูก
เรื่องนี้จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แต่เหมือนบริษัทแต่ละที่จะมีคำพูดสวยๆ คำนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายของพนักงาน แต่ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ว่าพนักงานจะหาสมดุลตรงนี้เจอได้อย่างไร จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในฐานะลูกจ้างมืออาชีพและผู้บริหาร ผมมีข้อคิดในเรื่องนี้ที่อยากแนะนำตามนี้ครับ
ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมายจะเหมือนเรือที่เดินทางโดยไม่มีเข็มทิศ ลอยเคว้งคว้างไปมา เริ่มต้นโดยกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ชัดเจนและให้สมดุลทั้งเรื่องงาน ครอบครัว ความรัก การเงิน สุขภาพ และจิตวิญญาณ ยิ่งเป้าหมายชัดเจนเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างกำลังใจให้เราอยากเดินเข้าถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้นเท่านั้น
หัดจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆในชีวิต อย่าพยายามทำทุกเรื่อง เน้นคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ รู้ว่าเรื่องอะไรสำคัญและเร่งด่วนที่ต้องรีบทำก่อน ยิ่งคนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จะเรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
เรียนรู้ที่จะปฏิเสธบ้าง โดยเฉพาะเรื่องที่เรากลั่นกรองแล้วว่าไม่สำคัญหรือยังไม่มีผลกับเป้าหมายที่เราวางไว้ บางคนปฏิเสธไม่เป็น รับทุกอย่างเข้ามาหมดและทำออกมาไม่ดีสักเรื่อง เรียนรู้ที่จะปฏิเสธอย่างสุภาพ ให้ทางเลือกหรือข้อแนะนำว่าจะทำเรื่องนั้นให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร ในฐานะผู้บริหารผมกลับชอบพนักงานที่รู้จักปฏิเสธ แต่ให้มุมมองที่แตกต่าง
เรียนรู้ที่จะทำงานให้สมาร์ทขึ้น ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมแนะนำให้สรุป To Do List ของงาน 3 สิ่งที่จะต้องทำให้เสร็จในอาทิตย์นั้นและโฟกัสความตั้งใจทุกอย่างที่จะทำงานนั้นให้บรรลุเป้าหมาย ผมไม่แนะนำให้มี To Do List มากเกิน 3 เรื่อง เพราะถ้ามากกว่านั้นแสดงว่าเรายังอาจจัดความสำคัญของงานไม่ดีพอ
เล่นให้สมบทบาทตีบทให้แตก ในที่นี้หมายถึงว่ารู้ตัวเสมอว่าสวมหมวกใบไหนอยู่ เช่น เมื่ออยู่ที่ทำงาน ก็ทำงานเต็มที่บนเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นเจ้านายที่เต็มที่กับลูกน้อง เมื่อกลับบ้านในบทสามีและผู้นำครอบครัวก็ต้องเต็มที่ในการดูแลความเป็นอยู่ของทุกคนในครอบครัว ในบทของลูกก็เต็มที่ในการดูแลพ่อแม่ที่เจ็บไข้ได้ป่วย คนหนึ่งคนสามารถมีหลายบทบาท แต่ไม่ควรเล่นหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน รู้จัก focus พลังงานและความตั้งใจให้กับคนที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น
อย่ายึดติดในความสมบูรณ์แบบ อย่าเปรียบเทียบความสุขของเรากับใคร หัดสร้างความพอใจในแบบฉบับของตนเอง เมื่อเราทำทุกเรื่องเต็มกำลังความสามารถของเรา ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าดีที่สุดแล้ว ยิ่งคนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จะรู้เลยว่าทุกความก้าวหน้าคือการเข้าใกล้ความสำเร็จเข้าไปทุกที จะมีความพอใจและรักตัวเองมากขึ้น
ลงทุนลงเวลากับคนรอบข้างไปแล้ว ต้องรู้จักลงทุนลงเวลากับตัวเองบ้าง เพราะเราอาจเป็นสามีคนเดียว ภรรยาคนเดียว หรือลูกคนเดียว ของคนในครอบครัวที่ไม่สามารถหาใครมาแทนได้ รู้จักแบ่งเวลามาดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย หางานอดิเรกทำ และให้รางวัลตัวเองบ้าง เมื่อเรามีความสุข ความสุขของเราจะล้นไปถึงคนรอบข้างจนสามารถสัมผัสได้
About the Author ณรงค์ สีตลายน อดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทข้ามชาติที่เรียกตัวเองว่าเป็น Think Tank หรือ นักคิด นักวางแผน ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรในระดับ Big Chance ปัจจุบัน ณรงค์เป็นเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาที่เป็น Think Tank ให้กับหลายธุรกิจ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในระดับ Transformation
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.