Categories: WISDOM

ปัจจัยใดทำให้ “อินโดนีเซีย” เป็นประเทศที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตเร็วสุด

อีคอมเมิร์ซ (E-commerce)  ทำให้ผู้ประกอบการอิสระสามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ และการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ ยังช่วยลดภาระการเข้าสู่ธุรกิจซึ่งแต่เดิมต้องอาศัยองค์ประกอบมากมายตั้งแต่สถานที่ไปจนถึงบุคคลากรและยังเพิ่มโอกาสขยายเครือข่ายธุรกิจให้ยิ่งแข็งแกร่ง

อินโดนีเซีย  ได้ชื่อว่าเป็นประเทศตัวอย่างในแง่การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตัวเลขการสำรวจล่าสุดของแมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี พบว่า ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอินโดนีเซีย  270 ล้านคน ชื่นชอบการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งคาดว่า แนวโน้มการจับจ่ายในช่องทางนี้จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ผลสำรวจชี้ว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า อินโดนีเซียจะมีนักช็อปออนไลน์ทั้งสิ้น 44 ล้านคน และตลาดออนไลน์จะมีมูลค่าสูงถึง 55 – 65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ กูเกิ้ล และ เทมาเส็กโฮลดิ้งส์ กองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 ตลาดออนไลน์ของอินโดนีเซียจะมีมูลค่าราว 53 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่สำคัญ การตัดสินใจยกเลิกมาตรการเก็บภาษีการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆ นี้ ยิ่งส่งผลดีต่อตลาดออนไลน์ในอินโดนีเซีย ให้สามารถพัฒนาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ต่อไป

โอกาสอยู่ที่ใด?

ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตราว 103 ล้านคน และมูลค่าการใช้จ่ายรวมผ่านช่องทางออนไลน์ เฉลี่ยปีละ 228 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อินโดนีเซียกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซสูงที่สุด ทั้งในด้านของรายได้และดอกเบี้ย

รายงานPPRO High-Growth Market Reports 2018”  ระบุว่าอินโดนีเซียเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด ซึ่งในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดถึง 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนรายงานจาก Merchant Machine เผยว่าในปีที่ผ่านมา อัตราการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 78 โดยมีการใช้จ่ายในหมวดการท่องเที่ยว และเสื้อผ้ามากที่สุด

 

ผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่นอกตัวเมือง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการเข้ามาของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

รายงานของ แมคคินเซย์ แอนด์ คอมพานี ปี พ.ศ. 2561 ระบุว่า นอกจากอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังปลดล็อกผลกระทบทางสังคมในวงกว้าง ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน “The Digital Archipelago: How Online Commerce is Driving Indonesia’s Economic Development”  ที่ระบุว่า การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียที่อาศัยอยู่นอกเกาะชวา สามารถประหยัดเงินได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการจับจ่ายผ่านค้าปลีกระบบดั้งเดิมถึง 11 – 25 เปอร์เซนต์

แน่ชัดว่า ธุรกิจออนไลน์ช่วยให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าวสามารถลดภาระต้นทุนสินค้าคงคลังหรือการมีปริมาณสินค้าน้อยๆ กระจายในหลากหลายพื้นที่ลงไปได้มาก แม้จะยังคงมีความผันแปรอย่างมีนัยสำคัญอันเป็นผลมาจากการพัฒนาเครือข่ายกระจายสินค้าในท้องถิ่นที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอกัน และค่าขนส่งสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น กรณีที่ต้องส่งของไปยังพื้นที่ห่างไกล

ส่วนบริเวณพื้นที่เกาะชวา ซึ่งผู้บริโภคสามารถประหยัดได้ราว 4 – 14 เปอร์เซ็นต์ เป็นเขตที่เครือข่ายการกระจายสินค้าพัฒนาไปมากแล้ว  ส่งผลให้มีอัตราการประหยัดต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ แต่การประหยัดก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขตเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น เพราะบรรดาผู้ประกอบการค้าปลีกซึ่งมีหน้าร้านยังคงต้องเผชิญกับต้นทุนที่ดิน และค่าแรงงานที่สูง ขณะที่ต้นทุนการส่งสินค้าต่ำกว่า เพราะมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ใกล้ๆ

สำหรับการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์นั้น มากกว่าร้อยละ 55 มาจากมหานครจาการ์ตา (Greater Jakarta) ซึ่งตลาดค้าปลีกบนโลกออกไลน์มีการพัฒนาสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ โดยภาคครัวเรือนในกรุงจาร์กาต้ามีอัตราการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าพื้นที่อื่นๆ บนเกาะชวา 4 เท่า และมากกว่า 10 เท่า ของการใช้จ่ายจากพื้นที่นอกเกาะชวา ส่วนจังหวัดอื่นๆ มีอัตราการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใหม่ สูงกว่าการใช้จ่ายในกรุงจาการ์ตาร้อยละ 10  ซึ่งหากธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายออกไปนอกเขตมหานครจาการ์ตา และมีการเสนอทางเลือกตลอดจนราคาที่ดีกว่า อัตราการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใหม่อาจเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 30

มากกว่าเงินตรา

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสร้างประโยชน์อย่างมีนัยยะสำคัญให้สังคมอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเพิ่มพลังให้แก่ผู้หญิง เพราะธุรกิจอีคอมเมิร์ซอำนวยความสะดวกให้ผู้หญิงสามารถเข้าไปมีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากขึ้น

รายงานของแมคคินซีระบุว่า  การเข้ามาของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซีย ส่งผลดีต่อสังคม และเศรษฐกิจ 4 เรื่องคือ 1. ผลประโยชน์ด้านการเงิน 2.การสร้างงาน 3.ผลประโยชน์ต่อผู้ซื้อ และ 4.ความเท่าเทียมทางสังคม  ซึ่งทุกๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐที่ย้ายออกจากการซื้อขายแบบออฟไลน์ไปสู่การซื้อขายทางออนไลน์ จะทำให้มีเกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น 30 เซ็นต์ และผู้บริโภคจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 10 เซ็นต์

“ใน 5 ปีข้างหน้า เราคาดว่า จะมีปริมาณการขนส่งสินค้าโดยธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น 6 เท่า จะมีปริมาณชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดเพิ่มขึ้น 9 เท่า จะมีตำแหน่งงานบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น 6 เท่า จะมีธุรกิจออนไลน์ขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดจิ๋ว (Online MSME) มากขึ้น 2 เท่า และจะมีผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าจากที่เคยมีมา” รายงานระบุ

…………………………………..

แปล และเรียบเรียงจาก

https://www.entrepreneur.com/article/331838

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.