การรักษาพนักงานเก่งๆ ให้ทำงานกับบริษัทตลอดรอดฝั่ง ดูเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย แต่ถ้าผู้บริหารรู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ ก็อาจสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือข้อผิดพลาดต่างๆ ที่จะนำไปสู่การลาออกของพนักงานเก่งๆได้
โดยทั่วไปแล้ว พนักงานกลุ่มที่เก่งที่สุดของบริษัทหรือ “กลุ่มหัวกะทิ” มักเป็นพวกแรกๆ ที่ขอลาออกเมื่อรู้สึกไม่พอใจกับการทำงานในบริษัท เพราะความสามารถมากมายของพวกเขา ทำให้การหางานใหม่เป็นเรื่องง่าย พวกเขาไม่จำเป็นต้องทนทำงานในบริษัทที่พวกเขาไม่ชอบ
มีการศึกษาของหลายหน่วยงานเผยให้เห็นว่า พนักงานที่ลาออก มักสะสมความไม่พอใจเป็นเวลายาวนาน จนความสนใจในงานที่ทำลดลงเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุดที่ไม่อยากทำอีกต่อไปและลาออกในที่สุด
ผู้บริหารของบริษัทจึงต้องคอยระวังว่า รูปแบบบริหารจัดการในปัจจุบัน กำลังสร้างความไม่พอใจให้พนักงานหรือไม่
แน่นอนว่าทุกบริษัทต้องมีกฎเอาไว้เพื่อความเรียบร้อยในการดำเนินธุรกิจ แต่กฎเหล่านั้นไม่ควรเข้มงวด หรือเอารัดเอาเปรียบจนเกินความจำเป็น เพราะมันจะทำให้พนักงานรู้สึกกดดันและเครียด เมื่อผ่านไปนานๆ เข้าคนที่ทนไม่ไหวก็จะลาออกไปหางานในที่ๆ ทำงานแล้วมีความสุขมากกว่า
แม้เป็นหลักการที่ฟังดูดีในสถานการณ์ทั่วไป แต่ในที่ทำงาน หากผู้บริหารปฏิบัติกับพนักงานทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน จะทำให้กลุ่มหัวกะทิ (ซึ่งมักเป็นผู้ที่ขยันทำงานมากที่สุด) รู้สึกน้อยใจว่า จะตั้งใจและขยันทำงานไปมากแค่ไหนก็ไม่มีความหมาย เพราะสุดท้ายกลุ่มที่วันๆ เอาแต่นั่งเม้าท์ นั่งเล่นเกมเพื่อความเพลิดเพลินส่วนตัว ได้ดิบได้ดีพอๆ กัน คนเก่งย่อมอยากให้บริษัทเห็นคุณค่าของพวกเขา
มีคำกล่าวว่า ฝีมือของวงดนตรีแจ๊สวงหนึ่ง เทียบเท่ากับคนที่เล่นดนตรีแย่ที่สุดในวง เพราะวงดนตรีแจ๊สนั้น ไม่ว่าคนอื่นๆ จะเล่นได้ดีแค่ไหน เสียงดนตรีที่แย่ที่สุดจะลอยเด่นออกมากลบเสียงดีๆ หมด การทำงานในบริษัทก็เช่นเดียวกัน หากผู้บริหารยอมปล่อยให้พนักงานที่เป็นจุดอ่อนเดินลอยชายอยู่ในบริษัท ย่อมเป็นตัวถ่วงให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมลดลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มหัวกะทิขัดอกขัดใจอย่างแรง
พนักงานทุกคนต่างต้องการคำชมหรือรางวัล โดยเฉพาะกลุ่มหัวกะทิที่ขยันทำงานอย่างหนัก เพราะมันทำให้พวกเขารู้สึกว่าบริษัทมองเห็นคุณค่าในตัวของพวกเขา
ผู้บริหารควรหมั่นพูดคุยกับพนักงานว่า พวกเขาต้องการอะไร เพื่อจะได้รู้ว่าควรให้อะไรเป็นรางวัลเมื่อพวกเขาทำงานชิ้นสำคัญสำเร็จ ซึ่งหากคุณให้สิ่งที่ตรงใจ ก็จะเป็นการกระตุ้นให้พนักงานขยันสร้างผลงานดีๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่มหัวกะทิในบริษัท
สาเหตุที่พนักงานหลายคนลาออก เพราะไม่ชอบหัวหน้างาน ไม่มีใครอยากทนทำงานวันละ 8 ชั่วโมง กับคนที่ไม่ใส่ใจความรู้สึกของพวกเขา และไม่สนใจอะไรเลยนอกจากผลการปฏิบัติงาน
องค์กรที่ดีจะชี้แนะให้คนที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร รู้จักหาจุดสมดุลระหว่างความเป็นมืออาชีพกับความเป็นมนุษย์ ผู้บริหารควรชื่นชมความสำเร็จของพนักงาน และแสดงความเป็นห่วงเป็นใยแก่พนักงานที่กำลังลำบาก
การที่ผู้บริหารมอบหมายงาน โดยไม่ได้อธิบายชี้แจงว่างานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และมีความสำคัญอย่างไร ส่งผลให้กลุ่มหัวกะทิเกิดความขุ่นเคือง เพราะพวกเขามีความมุ่งมั่นกับงานที่กำลังอยู่อย่างแท้จริง ดังนั้น พวกเขาควรทราบถึงความสำคัญ และเป้าหมายของงานที่กำลังทำอยู่ หากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว พวกเขาจะรู้สึกว่าไม่มีเป้าหมายให้ไล่ตาม และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำงานที่นี่
กลุ่มหัวกะทิเป็นกลุ่มคนที่มี Passion ในการทำงานสูง การให้โอกาสพวกเขาทำสิ่งที่เป็นความสนใจส่วนตัว (ที่จะกลายเป็นประโยชน์กับทางบริษัท) นอกเหนือจากหน้าที่ปกติ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และทำให้ความพึงพอใจในการทำงานให้สูงขึ้น
หากพนักงานไม่รู้สึกสนุกไปกับการทำงาน หมายความว่าองค์กรบริหารงานผิดพลาดแล้ว เพราะถ้าพนักงานเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ก็จะไม่ทุ่มแรงทุ่มใจไปกับงานอย่างเต็มที่ ตัวอย่างขององค์กรที่พนักงานทำงานแล้วสนุก เช่น กูเกิ้ล (Google) เพราะมีทั้งอาหารฟรี โรงโบว์ลิ่ง คลาสเรียนฟิตเนส และอื่นๆ อีกมากมายให้พนักงานได้ผ่อนคลายจากการทำงานได้เต็มที่
สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้างานที่ทำสนุก นอกจากประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะสูงขึ้นแล้ว พนักงานจะอยากอยู่ทำงานต่อที่บริษัทหลังเวลาเลิกงาน และอยากทำงานกับบริษัทต่อไปอีกนานๆ
สรุป
ผู้บริหารมักจะสรรหาเหตุผลต่างๆ นานา มาอธิบายปัญหาการลาออกของพนักงาน แต่พวกเขากลับพลาดประเด็นสำคัญไปก็คือ “พนักงานไม่ได้ลาออกหนีจากงาน แต่พวกเขาลาออกเพื่อหนีจากเจ้านาย”
………………………………………………………..
แปลและเรียบเรียงจากบทความต้นฉบับโดย Dr. Travis Bradberry
www.linkedin.com/pulse/bad-mistakes-make-good-employees-leave-dr-travis-bradberry
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.