Categories: WISDOM

องค์กรจะปัง หรือ พัง อยู่ที่ EI ของพนักงาน

5 / 5 ( 1 vote )

องค์กร ของคุณอยู่ในสภาพเช่นนี้หรือไม่ ?

  • อัตราการลาออกสูง
  • พนักงานเครียดจนป่วยจำนวนมาก
  • พนักงานจับกลุ่มนินทา เล่นงานกันลับหลัง

ถ้าใช่ แสดงว่า องค์กรและพนักงานกำลังมีปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient –EQ หรือ Emotional Intelligence- EI) !  ซึ่งปัจจุบันนี้  เป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่ใช่เรื่องเฉพาะบุคคลอีกต่อไปแล้ว

 

ล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในที่ประชุม World Economic Forum หรือ สภาเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันว่า ในปี 2020 นี้ ความฉลาดทางอารมณ์ จะเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำธุรกิจ

 

 

อะไรคือ “ความฉลาดทางอารมณ์” ?  คำนี้หมายถึงการรู้จักและเข้าใจอารมณ์ตนเอง รู้ว่า ตนเองกำลังมีความสุข กำลังเศร้า ทุกข์ใจ หรือหงุดหงิดใช่หรือไม่?

 

 

คำตอบคือ “ ไม่ใช่ ” นั่นเป็นเพียง 1 ในองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่าความฉลาดทางอารมณ์ ที่ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ

  • การรู้จักตนเอง Self-Perception
  • การแสดงลักษณะเฉพาะตัว Self-Expression
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล Interpersonal
  • การตัดสินใจ Decision Making
  • การจัดการกับความเครียด Stress Management

 

พูดง่ายๆ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง เข้าใจอารมณ์ตนเอง สามารถแสดงออกซึ่งตัวตนของตนเองอย่างอิสระ พร้อมกับวุฒิภาวะที่สามารถพอใจกับความสัมพันธ์ที่มีกับคนทั่วไป มีความสามารถในการตัดสินใจ สามารถบริหารความเครียด และกล้าเผชิญอนาคตด้วยมุมมองเชิงบวก

 

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ จะสามารถใช้ชีวิตทั้งในเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวได้อย่างมีคุณภาพ

หัวหน้างานทั้งหลาย จึงควรให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์ของพนักงานด้วย เพราะทีมงานที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะเป็นทีมงานที่มีสุขภาพดี ผลิตผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมงานที่ทุกคนมีความฉลาดทางอารมณ์จะสื่อสารกันอย่างดี กระตือรือร้น และจดจ่อกับการทำเป้าหมายที่กำหนดไว้ในกระดาษให้เป็นจริง รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างเพื่อนร่วมงาน และแน่นอน ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะผลักดันให้องค์กรของคุณเดินหน้า รวมถึงสามารถรักษาพนักงานคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ

 

แล้วจะประเมินอย่างไรว่า องค์กร หรือ คนในองค์กร มีความฉลาดทางอารมณ์ ?

หลักการง่ายๆ คือ หากพบสิ่งต่อไปนี้ในองค์กร ให้พึงรู้ว่า มันคือสัญญาณบอกให้คุณต้องเร่งจัดการเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ในองค์กรได้แล้ว

  • มีอัตราการลาออกสูง
  • มีการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเกิดขึ้นบ่อยกับคนในองค์กร
  • มีวัฒนธรรมการจับกลุ่มนินทา หรือพฤติกรรมลอบทำร้ายกันลับหลัง
  • มีช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้จัดการกับผู้ใต้บังคับบัญชา
  • เมื่อมีการทำสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น บทลงโทษจะรุนแรง
  • มีพนักงานบางคนเท่านั้นที่เป็นคนโปรด ในขณะที่คนอื่นๆ ที่เหลือ ถูกละเลย หลงลืม
  • ไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระดับบุคคลและความสามารถในการทำงาน
  • องค์กรขาดพนักงานที่มีความหลากหลาย

องค์กรจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร หากมีพนักงานจำนวนมากลาออกกันทุกเดือน เพราะพวกเขารู้สึกว่าโดนรังแกจากผู้จัดการ หรือเมื่อผู้บริหารไม่สามารถจ้างพนักงานที่มีความสามารถหลากหลายเข้ามาร่วมงานได้ในช่วง 5  ปีที่ผ่านมา จนทำให้ขาดมุมมองสำคัญ และถูกปล่อยทิ้งไว้ข้างหลังในเวทีการแข่งขันทางธุรกิจ

ในฐานะผู้นำ การยกระดับความฉลาดทางอารมณ์ของคุณเองเป็นเรื่องแรกที่ควรทำ เพราะการยกระดับความฉลาดทางอารมณ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในทุกระดับ ทำให้คุณเป็น “มนุษย์” ที่พร้อมทำงานและมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

 

ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ เจ้าของรางวัล โนเบลไพรซ์ สาขาสันติภาพ และผู้ก่อตั้ง กรามีนแบงก์หรือธนาคารหมู่บ้านของบังกลาเทศ กล่าวในงาน Social Business Day ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า “ ธุรกิจที่มีความเป็นมนุษย์ ” คือการแสวงหากำไร ขณะเดียวกับที่แบ่งปันสังคมและสร้างความสุขให้กับผู้อื่นด้วย

นี่ก็คือเรื่อง EI เหมือนกัน

เริ่มที่ตัวคุณ แล้วส่งเสริม-สนับสนุนให้พนักงาน ผู้ที่ทำงานให้คุณทุกๆ คน สามารถพัฒนา “ความฉลาดทางอารมณ์” องค์กรของคุณจะไปได้รอด และไปได้ไกล ไม่ว่า สภาพการแข่งขันในธุรกิจของคุณจะเป็นเช่นไร

หากอยากไปเร็ว ให้ไปคนเดียว

แต่หากอยากไปได้ไกล ต้องไปด้วยกัน

 

แปลและเรียบเรียงจาก 

Why Emotional intelligence can make or break your organization 
www.entrepreneur.com 

"ยูนุส" กับ "ธุรกิจเพื่อสังคม" ความสุขที่ยิ่งกว่ากำไรของนักธุรกิจ
www.prachachat.net
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.