เปิดรายงานฉบับล่าสุดปี 2019 เกี่ยวกับ การพัฒนามนุษย์ (Human Development Report Office: HDRO) ขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น พบข้อสรุปสำคัญ คือ การพัฒนามนุษย์ยังคงไม่เท่าเทียมกัน แม้ว่าทุกประเทศตั้งความหวังเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยมีหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่ทั่วไป
นอกจากนี้ ยังพบว่าความเหลื่อมล้ำ กำลังสร้างปัญหาให้กับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่อีกจำนวนมาก ยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เทคโนโลยี และโอกาสในการแข่งขันต่างๆ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันปัญหาอื่นๆ เช่น ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นต่อไป
โจทย์ใหญ่ๆ ที่ควรมีการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนามนุษย์ในอนาคต คือการลดเส้นบางๆที่ขีดเส้นระหว่างสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการคิดนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนามนุษย์ และลดความเท่าเทียมกัน ไปพร้อมๆกัน
องค์การสหประชาชาติชี้แนะว่า บางนโยบายยังคงใช้ได้ต่อไป ตัวอย่าง เช่น นโยบายด้านการศึกษา ควรมีการปรับคุณภาพการศึกษาให้กับคนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลและประถม รวมถึงอัตราค่าเล่าเรียน เป็นต้น ขณะเดียวกัน บางสังคมอาจใช้มาตรการการสร้างบรรทัดฐานสังคมให้อิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็ได้ หรืออาจจะคิดทางเลือกอื่นๆเข้ามาช่วยเสริมก็ได้
ก่อนหน้านี้ ยูเอ็นก็ได้สรุปรายงานอีกชิ้นหนึ่ง ระบุเฉพาะการพัฒนามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ว่ามีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ก็ยังไม่มีความเท่าเทียมกันอยู่ดี ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนามนุษย์ทั่วโลก
ทั้งนี้ ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้เตรียมมาตรการในการพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันนี้ช่องว่างพื้นฐานกำลังแคบลง เนื่องจากประชาชนสามารถหลีกหนีความยากจน ความอดอยาก และโรคภัยไข้เจ็บได้มากขึ้น แต่กำลังนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันรอบใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยี การศึกษา และวิกฤติสิ่งแวดล้อม
เมื่อมองดูภูมิภาคเอเชีย พบว่าเอเชียใต้มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุด 46% ในช่วงปี 1990-2018 ตามด้วยเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ระดับ 43% ในจำนวนนี้พบว่าประเทศไทย มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากไอร์แลนด์ ส่งผลให้ประเทศไทยขยับขึ้นสู่อันดับ 12 ในช่วงปี 2013- 2018 ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ก็มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงเช่นเดียวกัน
เมือเทียบกับ 189 ประเทศทั่วโลก พบว่าตัวเลขดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทย (Human Development Index: HDI) อยู่อันดับที่ 77 ซึ่งถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการพัฒนามากที่สุดในช่วงปี 1990-2018
ในเรื่องนี้ Kanni Wignaraja ผู้ช่วยเลขานุการและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุว่าหลายคนสามารถขจัดความยากจนไปได้ แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่ได้รับโอกาส หรือแม้กระทั่งเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานเพื่อการดำเนินชีวิต
ในส่วนของดัชนีการพัฒนาเกี่ยวกับเพศ พบว่าเกาหลีมีอัตราความไม่เท่าเทียมทางเพศมากสูงสุด ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในระดับต่ำสุดเรื่องกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง
เรียบเรียงข้อมูลจาก hdr.undp.org asia-pacific.undp.org nationthailand.com
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.