“ยูเอ็น” ชี้การพัฒนามนุษย์ทั่วโลกยังไม่เท่าเทียมกัน แถมยังสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเข้าถึงการศึกษา เทคโนโลยี และทรัพยากร ส่วนประเทศไทยแม้มีการพัฒนาสูงสูงในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา แต่ความเหลื่อมล้ำก็ยังไม่แน่นอน  

เปิดรายงานฉบับล่าสุดปี 2019 เกี่ยวกับ การพัฒนามนุษย์ (Human Development Report Office: HDRO) ขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น พบข้อสรุปสำคัญ คือ การพัฒนามนุษย์ยังคงไม่เท่าเทียมกัน แม้ว่าทุกประเทศตั้งความหวังเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยมีหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่ทั่วไป

นอกจากนี้ ยังพบว่าความเหลื่อมล้ำ กำลังสร้างปัญหาให้กับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่อีกจำนวนมาก ยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เทคโนโลยี และโอกาสในการแข่งขันต่างๆ เช่น เรื่องเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันปัญหาอื่นๆ เช่น ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นต่อไป

รายงานชิ้นนี้ยังชี้ชัดว่า แม้จะมีการประท้วงเรียกร้องต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับไม่ได้ผล ทำให้ประชาชนในหลายๆประเทศ มีความหวังเกี่ยวกับอนาคตของตัวเองเพียงเล็กน้อย กล่าวได้ว่า ประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ มักนำไปสู่การทำร้ายสังคมรวมไปถึงการร่วมมือทำงานกับรัฐบาลของตัวเอง ได้น้อยกว่าประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงกว่า ปัญหาต่างๆเหล่านี้เป็นตัวขัดขวางเป้าหมายการพัฒนามนุษย์แบบยั่งยืน ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ตั้งเป้าไว้ที่ปี 2030

โดยทั่วไปแล้วการพัฒนามนุษย์ มักจะมุ่งการหลีกหนีความยากจน แต่ก็นำปัญหาอื่นๆมาอยู่ดี และหากพิจารณาเพียงปัจจัยเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน เป็นหัวใจในการเดินเข้าสู่ศตวรรษที่ 22 ก็อาจไม่เพียงพอ ควรต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องรายได้ ตัวเลขค่าเฉลี่ย และสถานการณ์ปัจจุบัน

โจทย์ใหญ่ๆ ที่ควรมีการกำหนดขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนามนุษย์ในอนาคต คือการลดเส้นบางๆที่ขีดเส้นระหว่างสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการคิดนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนามนุษย์ และลดความเท่าเทียมกัน ไปพร้อมๆกัน

องค์การสหประชาชาติชี้แนะว่า บางนโยบายยังคงใช้ได้ต่อไป ตัวอย่าง เช่น นโยบายด้านการศึกษา ควรมีการปรับคุณภาพการศึกษาให้กับคนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลและประถม รวมถึงอัตราค่าเล่าเรียน เป็นต้น ขณะเดียวกัน บางสังคมอาจใช้มาตรการการสร้างบรรทัดฐานสังคมให้อิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็ได้ หรืออาจจะคิดทางเลือกอื่นๆเข้ามาช่วยเสริมก็ได้

ก่อนหน้านี้ ยูเอ็นก็ได้สรุปรายงานอีกชิ้นหนึ่ง ระบุเฉพาะการพัฒนามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ว่ามีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ก็ยังไม่มีความเท่าเทียมกันอยู่ดี ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนามนุษย์ทั่วโลก

ทั้งนี้ ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้เตรียมมาตรการในการพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันนี้ช่องว่างพื้นฐานกำลังแคบลง เนื่องจากประชาชนสามารถหลีกหนีความยากจน ความอดอยาก และโรคภัยไข้เจ็บได้มากขึ้น แต่กำลังนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันรอบใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยี การศึกษา และวิกฤติสิ่งแวดล้อม

อาคิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า “นี่คือโฉมหน้าความไม่เท่าเทียมกันครั้งใหม่”

เมื่อมองดูภูมิภาคเอเชีย พบว่าเอเชียใต้มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุด 46% ในช่วงปี 1990-2018 ตามด้วยเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ระดับ 43% ในจำนวนนี้พบว่าประเทศไทย มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากไอร์แลนด์ ส่งผลให้ประเทศไทยขยับขึ้นสู่อันดับ 12 ในช่วงปี 2013- 2018 ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ก็มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงเช่นเดียวกัน

เมือเทียบกับ 189 ประเทศทั่วโลก พบว่าตัวเลขดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทย (Human Development Index: HDI) อยู่อันดับที่ 77 ซึ่งถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการพัฒนามากที่สุดในช่วงปี 1990-2018

อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมความยากจนเพียงอย่างเดียว พบว่าประเทศต่างๆ ยังมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เช่น มัลดีฟมีดัชนีความยากจนเพียง 0.8% ขณะที่อัฟกานิสถานอยู่ที่ 56% และเมื่อนับจำนวนคนยากจนทั่วโลกจำนวน 1.3 พันล้าน คนพบว่า 661 ล้านคนอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ในจำนวนนี้มากกว่า 41 % อยู่ในเอเชียใต้ แม้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศอินเดีย กำลังขยับหนีความยากจนได้อย่างโดดเด่นตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ 40% ของประชาชนในเอเชียใต้ยังไม่สามารถเข้าถึงสุขลักษณะที่ดี

ในเรื่องนี้ Kanni Wignaraja ผู้ช่วยเลขานุการและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุว่าหลายคนสามารถขจัดความยากจนไปได้ แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่ได้รับโอกาส หรือแม้กระทั่งเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานเพื่อการดำเนินชีวิต

ในส่วนของดัชนีการพัฒนาเกี่ยวกับเพศ พบว่าเกาหลีมีอัตราความไม่เท่าเทียมทางเพศมากสูงสุด ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในระดับต่ำสุดเรื่องกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง

เพื่อให้การพัฒนามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยูเอ็นได้แนะนำให้กำหนดนโยบายเพื่อดูแลประชาชนไม่ใช่เฉพาะเรื่องรายได้อย่างเดียว แต่ควรดูแลตลอดทั้งชีวิต ตั้งแต่ก่อนเกิด ก่อนวัยทำงาน กระทั่งหยุดทำงาน นโยบายเหล่านี้ควรดำเนินไปพร้อมๆกับเรื่องอื่นๆ เช่น นโยบายสุขภาพ การศึกษา


เรียบเรียงข้อมูลจาก  
hdr.undp.org
asia-pacific.undp.org
nationthailand.com

 

 

 

Category:

Passion in this story