Categories: WISDOM

5 เหตุผลที่ทำให้การยกย่องชมเชย คือทักษะความเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุดของนายจ้าง

การได้รับคำยกย่องชมเชย เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน…….

ลองนึกถึงตอนที่มีคนกล่าวชม หลังจากคุณนำเสนอผลงานชิ้นสำคัญที่ใช้เวลาเตรียมตัวมาทั้งคืนว่า มันทำให้คุณรู้สึกยินดีและมีกำลังใจในการทำงานต่อไป ใช่หรือไม่ ?

คำชมเพียงเล็กๆ น้อยๆ จากนายจ้าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ และจะนำไปสู่การสร้างผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการเติบโตขององค์กร

ต่อไปนี้คือเหตุผล 5 ข้อ ที่นายจ้างทุกคนควรรู้ เกี่ยวกับความสำคัญของการยกย่องชมเชย

 

1. พนักงานอยากทำงานกับบริษัทมากขึ้น

เหตุผลอันดับแรกๆ ที่พนักงานลาออกจากงานก็คือ พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความวางใจจากนายจ้าง เพราะองค์กรที่พนักงานทุกคนอยากทำงานด้วย คือองค์กรที่มองเห็นคุณค่าของพวกเขา

ดังนั้น หากองค์กรใดมีนายจ้างที่สามารถเข้าถึงจิตใจของพนักงงานได้ องค์กรนั้นก็จะสามารถเก็บรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้

2. พนักงานตั้งใจทำงานมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและพนักงาน มีหลักการคล้ายกับความรักระหว่าง ชาย-หญิง ซึ่งฝ่ายหนึ่งจะรู้สึกอยากสานสัมพันธ์กับอีกฝ่ายมากขึ้น ถ้าเห็นว่าอีกฝ่ายให้ความสำคัญ และความเคารพตนเอง

ดังนั้น การที่นายจ้างให้ความสำคัญกับพนักงาน ย่อมกระตุ้นพนักงานให้ตั้งใจทำงานเพื่อองค์กรมากขึ้น

3. พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ดีขึ้น

พนักงานทุกคนมาจากภูมิหลังแตกต่างกัน มีกระบวนการคิดแตกต่างกัน และทุกคนล้วนอยากแสดงความคิดเห็นของตน ดังนั้น นายจ้างควรเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด และคอยให้คำแนะนำติชมอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้พนักงานมีความกล้าคิดกล้าเสี่ยงมากขึ้นในการทำงาน

4. พนักงานลาหยุดน้อยลง และมีวันทำงานเพิ่มขึ้น

องค์กรจะเติบโตได้ ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกคน  ความรู้สึกไม่พอใจของพนักงานคนหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในสถานที่ที่ทำงาน และพาให้พนักงานคนอื่นๆ อารมณ์ไม่ดีไปด้วย  ซึ่งความรู้สึกด้านลบดังกล่าวจะยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว หากพวกเขากำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความสนใจจากองค์กร

5. พนักงานมีความสุข

ความเป็นผู้นำที่สามารถเข้าถึงจิตใจของพนักงานได้ จะทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน  ดังนั้น หากนายจ้างต้องการพนักงานที่มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร และมีความรับผิดชอบสูง ก็ต้องรู้จักการกล่าวยกย่องชมเชยพนักงาน

แล้วนายจ้างควรแสดงการยกย่องชมเชยอย่างไร?

การที่บริษัทจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทีมงานที่ยอดเยี่ยม มีความขยันขันแข็ง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบสูง ซึ่งหากนายจ้างต้องการรักษาระดับคุณภาพการทำงานเช่นนั้นให้ได้ตลอดรอดฝั่ง พนักงานทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ไม่ใช่เพียงเรื่องของค่าแรง แต่นายจ้างยังต้องใจใส่พนักงานทุกๆ คน คอยให้คำแนะนำ ติชมอย่างจริงใจ และต่อเนื่อง

ทั้งหมดนี้จะทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทเป็นสุข และเอื้อต่อการเกิดของนวัตกรรมใหม่ๆ

 

แปลและเรียบเรียงจาก
https://www.entrepreneur.com/article/328506
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.