คำว่า “Toxic work environment” ประกอบด้วย คำว่า ‘Toxic’ ซึ่งมีความหมายว่า “เป็นพิษ” หรือ “มีพิษ” และ คำว่า ‘work environment’ ซึ่งแปลว่า “สภาพแวดล้อมในการทำงาน ” เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายว่า “สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างเป็นสุข และมีประสิทธิภาพ” หรือ “บรรยากาศการทำงานเป็นพิษ”
การฝืนทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ Toxic หรือ เป็นพิษ ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคนทำงานอย่างมาก ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้ที่จะตรวจจับสัญญาณว่า ที่ทำงานของคุณมีสภาวะเป็นพิษหรือไม่ เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการรับมือได้อย่างเหมาะสม ก่อนจะตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อไป หรือ ลาออก………………..
1.พนักงาน ‘ป่วย’ เยอะ – Toxic work environment ส่งผลให้พนักงานทุกคนรู้สึกไม่มีกะจิตกะใจในการทำงาน หมดเรี่ยวหมดแรง เนื่องจากความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจของเรา ถ้ามีคนลาป่วยเยอะๆ นั่นละ….สัญญาณเบื้องต้น
3.บรรยากาศในสถานที่ทำงานดูหดหู่ – ลองมองไปรอบๆ ออฟฟิศของคุณ แต่ละวันคุณเห็นใครที่ทำงานอย่างมีความสุขไหม? เห็นใครที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไหม? ได้ยินการสนทนากันอย่างมีชีวิตชีวา สนุกสนานบ้างไหม? ถ้าทุกคำถาม คุณตอบว่า ‘ไม่’ ก็แปลว่า คุณกำลังอยู่ใน Toxic workplace
5. อัตราการลาออกของพนักงานสูง – แน่ละ… ไม่มีใครอยากทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แย่
2. หาอะไรทำแก้เครียดหลังเวลาเลิกงาน – ไปออกกำลังกาย จัดบ้าน หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำชีวิตให้ของคุณนอกรั้วออฟฟิศให้เต็มร้อย
3.กำหนดรายการสิ่งที่ต้องทำ – การกำหนดรายการสิ่งที่ต้องทำ และทำตามรายสิ่งที่คุณเขียนไว้จะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสอยู่กับงานของคุณ แทนที่จะไปสนใจกับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในออฟฟิศ
4. บันทึกทุกอย่างที่คุณทำไว้เป็นหลักฐาน – เก็บอีเมล จดบันทึกข้อเสนอแนะ และการตัดสินใจทุกๆ อย่างจากที่ประชุม จากการสนทนาทางโทรศัพท์ และจากทุกๆ คนที่คุณสนทนาด้วย เพื่อให้คุณมีหลักฐานมาสนับสนุนการยื่นเรื่องร้องทุกข์ของคุณหากจำเป็น
5. วางแผนการลาออกไว้ให้พร้อม – แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคต สถานการณ์ในที่ทำงานของคุณอาจจะดีขึ้น และคุณอาจจะตัดสินใจอยู่ทำงานที่เดิมต่อไป แต่คุณควรเตรียมหางานใหม่ไว้ให้พร้อม เพื่อให้คุณมีความหวัง หากว่าสถานการณ์เลวร้ายลงจนคุณจำเป็นต้องออกจากงานจริงๆ
……………………………………
แปลและเรียบเรียงจาก
https://www.topresume.com/career-advice/how-to-handle-toxic-work-environment
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.