การพลิกโฉมสุดมันส์ – ของการทำธุรกิจ

การทำธุรกิจการค้าในปัจจุบันเรื่องของ Packaging นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อยอดขาดเพราะคนอยู่อย่าลืมว่าระบบจัดจำหน่ายและตลาดการวางสินค้าในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากหากคุณวางขายตามตลาดสดเล็ก ๆ ในชุมชนทั่วไปก็อีกเรื่องหนึ่งแต่ถ้าขยับขึ้นมาเป็นธุรกิจขนาดกลางสินค้าของคุณอาจต้องไปวางจำหน่ายอยู่ที่ร้านสะดวกซื้อหรือใน ซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีสินค้าวางขายอยู่เป็นนับพันประเภทแต่ละประเภทจะมีสินค้าที่เป็นคู่แข่งขันวางขายกันเป็นสิบเพื่อการเปรียบเทียบเลือกซื้อดังนั้นถ้าสินค้าของคุณมีบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สะดุดตาสะดุดใจผู้ซื้อพวกเขาก็อาจจะมองผ่านสินค้าของคุณไปทันทีเรื่องของบรรจุภัณฑ์จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้เลยในการทำธุรกิจยุคใหม่นอกจากจะเป็นเรื่องสำคัญแล้วยังเป็นเรื่องที่ท้าทายความสนุกในการทำธุรกิจอีกด้วยนะ

ใส่ชีวิตให้สินค้า – เติมคุณค่าให้ของเดิม

“นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องเริ่มจากการรู้ว่าใครเป็นผู้ใช้ความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้การรับรู้ของผู้ใช้ สภาพแวดล้อมของการใช้งานและประสบการณ์ของผู้ใช้ทั้งนี้ต้องพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายมากที่สุด”
ดร. เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม

ถ้าเอ่ยถึงชื่อแบรนด์ “แต้คุนฮะ” เชื่อเลยว่าคนรุ่นใหม่จะไม่ค่อยรู้จักแต่ถ้าเป็นคนรุ่นคุณพ่อรุ่นแม่หรือรุ่นอากงอาม่า คงจะคุ้นชื่อแบรนด์นี้อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียวเพราะนี่คือแบรนด์ของร้านข้าวสารชื่อดังในอดีตในย่านฝั่งธนฯแต่ร้านนี้จริง ๆ ไม่ใช่ร้านใหญ่โตเพียงร้านข้าวสารเล็ก ๆ อยู่แถวท่าดินแดงจำหน่ายข้าวสารคุณภาพดีมาตั้งแต่พ.ศ. 2497 ถ้าคิดกันจนถึงตอนนี้ก็ล่วงมากว่า 63 ปี กิจการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและก้าวเข้าสู่generation ที่ 3 ในปัจจุบันซึ่งตัวร้านที่ท่าดินแดงได้ปิดไปแล้วแต่แบรนด์ยังไม่ปิดกิจการยังอยู่และได้ขยับจากร้านเล็ก ๆ กระจายมาสู่ร้านค้าออนไลน์สิ่งที่ “แต้คุนฮะ” ทำยังคงขายข้าวสารเหมือนเดิมแต่เพิ่มเติมคือความประณีตของบรรจุภัณฑ์ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าคุณได้เห็นภาพของบรรจุภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ร้านข้าวสารร้านนี้เราเชื่อว่าคุณจะต้องหลงรักอย่างแน่นอนซึ่งคุณสามารถไปรับชมกันได้ที่ Facebook ของร้านแต้คุนฮะ  ได้เลยซึ่งการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ ”ฉ” มากขึ้นกว่าเดิมนี้ก็ไม่ใช่ผลงานของใครอื่นนอกจากทายาทรุ่นที่ 3 ของกิจการนี้ พยูณ วรชนะนันท์ หรือคุณยูน จริง ๆ แล้วธอเป็นนักออกแบบสาวยอดฝีมือที่ไปวาดลวดลายอยุ่ที่ญี่ปุ่นซึ่งคนไทยหลาย ๆ คนคงจะเห็นผลงานเธอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์อยู่บ่อยครั้งแต่ไม่มีใครรู้หรอกว่าเธอคือทายาทของร้านข้าวสารคุณภาพในอดีต

‘แต้คุนฮะ’ สิ่งดีที่ไม่อยากให้หายไป คุณ พยูณ วรชนะนันท์

  1. สานต่อกิจการด้วยงานออกแบบ
  2. ออกแบบให้ดูเป็นคนแก่ใจดี
  3. ไม่ใช่การออกแบบฉลากถุงข้าวสาร แต่คือการออกแบบฉลากบนของขวัญ
  4. งานออกแบบที่เกิดในสวรรค์ของนักออกแบบ
  5. ถุงข้าวสารที่ดีและจบในตัวเอง
  6. ความพอใจคือค่าแรง กำไรคือการพัฒนาตัวเอง
  7. งานออกแบบที่ลูกค้าคือครอบครัว
  8. พลังของงานที่ส่งถึงใจคน

อ้างอิงข้อมูล : ‘แต้คุนฮะ’ สิ่งดีที่ไม่อยากให้หายไป คุณ พยูณ วรชนะนันท์

บทความน่าสนใจ

อันที่จริงแล้วกิจการร้านข้าวสารแต้คุนฮะกำลังจะเลิกกิจการไปแล้วเพราะป๊า ม้า อาเจ๊ก จะวางมือกันหมดแล้วและรุ่นของพวกเธอต่างก็มีหน้าที่การงานแตกต่างกันไปด้วยความเสียดายกิจการที่เปิดมายาวนานเสียดายความรู้เรื่องข้าวที่คนรุ่นเก่าเก็บไว้อีกทั้งการมาได้คิดถึงเรื่องสด่วนตัวว่าสมัยเด็ก ๆ เธอและพี่น้องโชคดีที่ที่บ้านขายข้าวสารคุณภาพพวกเธอจึงได้กินแต่ข้าวดี ๆ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะสานต่อกิจการของครอบครัวแต่ขอทำในแบบที่ “ถนัด” เธอจึงนำหลาย ๆ อย่างมากพิจารณาซึ่งก็เห็นว่าตัวสินค้าเองดีอยู่แล้วและเธอก็เป็นนักออกแบบจึงนำ 2 สิ่งมาเจอกันครึ่งทางจึงไปลงตัวที่การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์เพียงเท่านั้น ข้าวสารดี ๆ ที่กำลังจะตายไปพร้อมกิจการก็ถูกชุบชีวิตขึ้น !!  สินค้าแบบเดิมที่ถูกแต่งแต่มไอเดียลงไปก็กลายเป็นคุณค่าใหม่ที่มากกว่าข้าวสารธรรมดาที่จะเอาไว้หุงกินกันในครัวเรือนทันทีเพราะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ภายใต้ Concept “คนแก่ใจดี” ที่มีกลิ่นอายญี่ปุ่นผสมจีนนิด ๆ ทำให้ข้าวสารธรรมดากลายเป็น “ของขวัญ” และ “ของชำร่วย” ในงานมงคลทันที

ได้มันส์ไปกับไอเดียนั่นก็คือกำไรแล้ว

แง่คิดดี ๆ ในการลงทุนพัฒนาบรรจุภัณฑ์สิ่งที่ยากในการทำตัวบรรจุภัณฑ์คือการอยากทำของดี ๆ ได้โดยไม่เจ็บตัวซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ และเราจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภครับภาระสินค้าที่แพงขึ้นจากการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องอีกเหมือนกัน
ดังนั้นถ้าคุณตัดเรื่องตัวเลขกำไรออกไป และเอาความพอใจของลูกค้าเป็นค่าแรงเอาความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีของบริษัทมายึดเป็นกำไรเท่านี้ก็จะถือว่าการลงทุนเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ของคนได้กำไรแล้ว
พยูณ วรชนะนันท์

ภายใต้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มองว่า “ลูกค้า คือ ครอบครัว”ทำให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นเปลี่ยนไปไม่ใช่เพียงข้าวสารธรรมดาที่จะวางไว้ตรงไหนในครัวก็ได้แต่เป็นข้าวสารที่สามารถเก็บไว้ในตู้โชว์ได้ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่และนำมาจัดจำหน่ายออนไลน์กระแสตอบรับก็ถือว่าเยี่ยมทีเดียวซึ่งคุณยูนก็ไม่ได้คำนึงว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นต้องสร้างกำไรมหาศาลแต่เธอรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำลงไปได้ใช้ความคิดไอเดียที่ตัวเองถนัดและได้สานต่อกิจการของครอบครัวเธอมองว่านั่นคือ “กำไร” ของเธอแล้ว

ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์มีผลต่อคุณค่าของผลิตภัณฑ์และแน่นอนส่งผลต่อยอดขายแน่แม้ว่าคุณจะไม่ใช่นักออกแบบก็ตามคุณอาจไม่สามารถที่จะคิดดัดแปลงบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยตัวเองแต่คุณก็สามารถหาผู้เชี่ยวชาญหรือระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้การให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยคิดการระดมความคิดและไอเดียจากหลาย ๆ คนทำให้เกิดรูปแบบ สีสันใหม่ ๆ บรรจุภัณฑ์ ขอเพียงคุณได้มีส่วนเข้าไปเลือกเข้าไปพิจารณาด้วยในทุกขั้นตอนแล้วคุณจะรุ้เลยว่าเป็นเรื่องที่สนุกมากเชื่อเถอะการลงทุนและเสียเวลาในเรื่องนี้ไม่เสียหายอะไรแม้การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์อาจจะไม่ได้สร้างกำไรให้คุณมากมายเพิ่มขึ้นแต่ความสนุกที่ได้ลองคิดทำและปรับเปลี่ยนนั่นก็คือกำไรอย่างอย่างหนึ่งของคุณแล้ว

บทความน่าสนใจ

อุปสรรคและความท้าทาย

สำหรับการทำธุรกิจในปัจจุบันการมีสินค้าที่ดีคุณภาพสูงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไปเพราะเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มจะมีลักษณะของ Immersive Experience คือเน้นไปในเรื่องของประสบการณ์ที่ดีอย่างถ้าไปใช้บริการที่ร้านก็ต้องรับบรรยากาศที่ดีสไตล์เท่ ๆ หรือซื้อสินค้าก็ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือใช้แล้วรู้สึกดีซึ่งนับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการว่าจะทำอย่างไรถึงจะตอบโจทย์ประสบการณ์ซึ่งเป็นความต้องการในส่วนลึกของผู้บริโภคยุคใหม่ได้และทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณดีจริง

แนวคิดผู้นำ เพื่อความสำเร็จ

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้โดนใจมีความสะดุดตาบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ส่งเสริมการขายกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้และสามารถที่จะทำให้กิจการที่อยู่ในช่วงขาลงสามารถที่จะพลิกฟื้นได้เลยทีเดียวเพียงแต่คุณจะต้องใส่ไอเดีย และเนื้อหาลงไปในบรรจุภัณฑ์ด้วยไม่ใช่เพียงแค่หีบห่อทั่วไปใส่สีสันและเรื่องราวเข้าช่วยหรือสร้างรูปลักษณ์ให้เป็นรูปทรงที่บ่งบอกเรื่องราวไปเลยก็ได้ถ้าลูกค้าสะดุดตาก่อนลูกค้าก็จะเริ่มเห็นคุณค่าของบรรจุภัณฑ์และเมื่อลูกค้าเริ่มรู้สึกถึงคุณค่าของบรรจุภัณฑ์นั่นหมายความว่าบรรจุภัณฑ์ได้ทำงานของมันแล้วอย่าลืมว่าบรรจุภัณฑ์เป็นด่านแรกที่จะทำให้ลูกค้ารับรู้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีคุณภาพ

Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.