สำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่หลาย ๆ คนคงจะคิดว่าการทำธุรกิจคือเรื่องของ “ความร่ำรวย” แต่แท้ที่จริงแล้วความร่ำรวยคือฉากหนึ่งของโลกธุรกิจเท่านั้นไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกว่าคุณประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงนักธุรกิจรุ่นก่อนที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงจะเข้าใจมิติให้การทำธุรกิจอีกแบบหนึ่งคนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้จะมองว่า “ธุรกิจคือชีวิต” ดังนั้นวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตก็คือวิถีเดียวกันกับหลักการและวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจด้วยเช่นเดียวกัน
“ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ผมได้เรียนรู้จากคุณแม่ก็คือ “การให้” การให้นี้เองเป็นพื้นฐานของบริษัทผู้บริหารจะต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรารู้จักเข้าใจผู้อื่นและต้องรู้จักให้โอกาสให้ประโยชน์กับพนักงานและลูกค้า” -ธนินท์ เจียรวนนท์
ใครจะรู้บ้างว่าวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ที่เราได้พบเห็นเป็นรูปธรรมในวันนี้แท้ที่จริงแล้วล้วนได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากครอบครัวทั้งสิ้นอย่างที่เราทราบกันว่าคุณพ่อของคุณธนินท์คือสุดยอดนักธุรกิจเป็นบุคคลสำคัญที่จีนให้การคารวะแน่นอนว่าคุณธนินท์ได้สายเลือดของพ่อค้าที่เก่งกาจมาจากบิดาแต่อีกครึ่งหนึ่งที่ทำให้วิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจของ คุณธนินท์ อยู่บนความพอดีสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้นมาจากหญิงผู้เป็นมารดาของคุณธนินท์นั่นเอง
ในช่วงวัยเด็กคุณธนินท์มักจะอยู่ใกล้ชิดกับคุณแม่เป็นหลักเพราะคุณพ่อต้องเดินทางไปติดต่อทำธุรกิจที่ต่างประเทศและก็ด้วยเหตุการณ์สงครามโลกทำให้คุณพ่อไม่สามารถเดินทางกลับมาพบครอบครัวได้สะดวกนั่นจึงทำให้คุณธนินท์ต้องอยู่กับคุณแม่เป็นส่วนใหญ่ซึ่งตลอดเวลาที่คุณธนินท์ได้อยู่ใกล้ชิดคุณแม่ก็จะได้เห็นสิ่งที่คุณแม่คิดสิ่งที่คุณแม่ปฏิบัติกับผู้คนทั้งคนในบ้านและคนอื่น ๆ นอกบ้านความโอบอ้อมอารีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นคิดถึงผู้อื่นเสมอไม่เอาเปรียบใครรู้จักให้รู้จักเสียสละและพร้อมที่จะให้สิ่งที่ดีกับผู้อื่นอย่างเท่าเทียมเสมออันเป็นรากฐานพื้นเพดั้งเดิมของคนจีนแต้จิ๋วที่ตกทอดผ่านวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
ทั้งหมดนี้คุณธนินท์ได้รับผ่านคุณแม่มาโดยไม่รู้ตัวเพราะคุณแม่คุณธนินท์ไม่ได้พร่ำสอนให้เสียเวลาแต่ทุกคำสอนได้สอดแทรกไปกับวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติต่อผู้คนทุกวันอยู่แล้วเมื่อถึงเวลากินข้าวคุณแม่ของคุณธนินท์ก็ไม่ลืมที่จะคิดถึงคนอื่นด้วยเธอไม่เคยถือยศถืออย่างว่า “เจ้านายต้องก่อนลูกน้องต้องทีหลัง” เธอพูดกับคนงานของเธอว่า “พวกเธอทุกคนทำงานและเตรียมกับข้าวเสร็จแล้วตอนนี้ฉันหิวแล้วพวกเธอก็คงหิวเช่นกันงานตรงนี้ไม่มีอะไรแล้วไปกินข้าวพร้อม ๆ กันเถอะ” เป็นคำพูดที่แสดงถึงความโอบอ้อมอารีและเข้าใจผู้อื่นอยู่เสมอรู้จักที่จะสละรู้จักที่จะให้สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีปฏิบัติในชีวิตที่หลายคนมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับการทำธุรกิจได้แต่สิ่งเหล่านี้คุณธนินท์ได้พิสูจน์ให้คนรุ่นหลังเห็นแล้วว่าสามารถผสานให้เข้ากันได้
CEO ที่ยึดเอาปรัชญาชีวิตและวิถีแห่งการดำรงชีวิตประจำวันมาใช้เป็นหลักในการทำธุรกิจไม่ได้มีแค่ คุณธนินท์ เพียงเท่านั้นยังมีตัวอย่างอีกหลายคนทีเดียวหนึ่งในนั้นที่เราขอยกตัวอย่างก็คือ “แซม วอลตัน” ผู้ก่อตั้ง Wal – Mart บริษัทค้าปลีกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสิ่งที่ทำให้ แซม วอลพัน สามารถนำพาให้ Wal – Mart ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ได้ต้องบอกว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัวจากหลาย ๆ แนวคิดแต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้วเมื่อนำมาย่อยรวมกันแนวคิดทั้งหลายก็อยู่บนพื้นฐาน “มนุษยธรรม” เราปฏิบัติต่อตัวเองอย่างไรเราก็ต้องไม่ลืมคิดถึงและปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกันกับตัวเราอย่างเรื่องของการดูแลพนักงานการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ควรต้องอยู่บนพื้นฐานของการ “ให้เกียรติซึ่งกันและกัน อยู่เสมอ” ที่ Wal – Mart จะไม่เรียกพนักงานว่า “ลูกจ้าง” แต่จะเรียกว่า “ผู้ร่วมงาน” (Associates) ซึ่งคุณเชื่อไหมว่าการเปลี่ยนคำเรียกง่าย ๆ แค่นี้ก็สามารถทำให้ความรู้สึกของพนักงานเปลี่ยนไปได้มากทีเดียวหลายคนรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติมากขึ้นนอกจากการเรียกพนักงานแล้วเรื่องของค่าจ้างค่าตอบแทน แซม วอลตัน ก็มีความเคร่งครัดอยู่เสมอเขาจะดูแลให้เหมาะสมตามความสามารถและผลงาน
แต่ทั้งหมดนี้ก็อยู่ในกรอบของความไม่ฟุ่มเฟือยด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกสบายใจในการทำงานมากขึ้นและรู้สึกถึงความเป็นกันเองขององค์กรและผู้บริหารนอกจากนั้นแล้วในส่วนของลูกค้า แซม วอลตัน ก็ยึดนโยบาย “ราคาเยี่ยมเปี่ยมล้นเรื่องบริการ” มาใช้เขานึกถึงตัวเองว่าถ้าเขาจะซื้อของสักชิ้นเขาเองก็ต้องการของถูกดี และบริการเยี่ยมดังนั้นเขาจึงพยายามขายสินค้าของเขาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดและพยายามดูแลลูกค้าอย่างดีเยี่ยมที่สุดเพราะเขาเข้าใจดีว่า “ถ้าเขาดูแลลูกค้าอย่างดีลูกค้าก็จะให้การสนับสนุนและดูแลแบรนด์ของเขาอย่างดีด้วยเช่นกัน” สิ่งเหล่านี้จะว่าเป็นปรัชญาชีวิตหรือเป็นสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจของคนรุ่นก่อนก็ว่าได้หากคนรุ่นใหม่จะนำไปใช้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่เชยเกินไปเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกผู้ทุกคนนั่นเอง
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
View Comments