เมื่อต้องแตะมือ – สืบทอดการบริหารจัดการจากรุ่นเก๋าสู่รุ่นใหม่

3.4 / 5 ( 54 votes )

คงจะทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประกาศจะล้างมือจากการบริหารจัดการงานในอาณาจักรธุรกิจอันยิ่งใหญ่ของตนเองและส่งมอบการบริหารการจัดการงานให้แก่ทายาทและผู้บริหารคนต่อไปได้ดูแลและพัฒนาต่อจึงทำให้เป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายไม่น้อยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ไป

“วิกฤตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์สำหรับผมวิกฤตไม่ได้มีประโยชน์แค่ผมแต่มันมีประโยชน์ต่อคนที่จะมารับช่วงต่อจากผมด้วย” ธนินท์ เจียรวนนท์

วิกฤตคือสะพานเชื่อมความพยายามกับความสำเร็จ

ไม่มีคนที่ประสบความสำเร็จคนใดที่ไม่เคยไม่พบเจอกับปัญหาชาวจีนมีคำกล่าวเอาไว้ว่า “ความสำเร็จต่าง ๆ ที่คนรุ่นก่อนทำไว้จะหยุดลงแค่รุ่นที่ 3” แต่สำหรับการส่งต่อธุรกิจให้ทายาทของ คุณธนินท์ เมื่อดูแนวโน้มแล้วน่าจะทำลายความเชื่อโบราณอันนี้ไปอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียวเพราะ คุณธนินท์ นั้นมีวิสัยทัศน์ที่ไกลและออกจะทันสมัยเสียด้วยอีกทั้งวิธีการที่จะส่งต่อนั้นก็มีความแยบยลทีเดียวซึ่งถ้าเราจะมองกันจริง ๆ แล้วมีกิจการอันยิ่งใหญ่มากมายที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของบรรพบุรุษแล้วถูกส่งต่อมายังลูกหลานทายาทรุ่นต่าง ๆ มากกว่า 3 รุ่นบางกิจการส่งต่อกันมาถึง 10 รุ่นแล้วก็มีทั้งนี้ก็อยู่ที่วิธีการส่งต่อนั่นเองว่าคนรุ่นก่อนหน้าจะส่งให้คนรุ่นหลังกันแบบไหนและวิธีใดมีหลายกิจการรุ่นปู่บุกเบิกสร้างรุ่นพ่อพัฒนารุ่นลูกก็มาสานต่อสิ่งที่ทั้งสองรุ่นก่อนหน้าทำไว้อีกทีแต่พอจะมารุ่นที่ 4 นี่ก็ถึงทางตันและในที่สุดก็ไม่รอดเช่นนั้นเพราะการส่งมอบนั้นไม่มีวิธีการที่ดีคนรุ่นก่อนทำทุกอย่างปูทางไว้ให้หมดแล้วทำให้คนที่มารับรุ่นต่อมาแทบจะไม่ต้องทำหรือดิ้นรนอะไรเลยรับทุกอย่างมาอย่างสบาย ๆ จนในที่สุดก็มาตกม้าตายเพราะความสบายนั่นเอง

“ถ้าคุณทำ 10 อย่างสำเร็จเพียง 3 อย่างก็ถือว่าเก่งแล้วคนยิ่งทำเยอะก็ผิดเยอะแต่คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่คิดทำอะไรเลย” ธนินท์ เจียรวนนท์
สำหรับ คุณธนินท์ ไม่ใช้วิธีแบบนั้นก่อนจะส่งต่อธุรกิจให้ทายาท คุณธนินท์ จะมอบหมายงานยาก ๆ ให้พวกเขาลองแก้ไขซึ่งคุณธนินท์จะปล่อยให้พวกเขาคิดและหาวิธีการแก้ปัญหากันเองนอกจากงานที่ยากแล้วการทำธุรกิจก็ย่อมมี “วิกฤต” หรือปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดอยู่ตลอดเวลาซึ่งตรงจุดนั้นเองที่จะเป็นบทสอบความพร้อมในการเป็นผู้นำของทายาทรุ่นต่อไปว่าเหมาะสมและมีความสามารถในการที่จะรับช่วงธุรกิจต่อหรือไม่
อันที่จริงแล้ว คุณธนินท์ ประกาศที่จะถอยหลังวางมือมานานหลายสิบปีแล้วแต่เนื่องจากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนช่วงนั้นมีวิกฤตเศรษฐกิจคุณธนินท์จึงตัดสินใจกลับมาโอบอุ้มธุรกิจไว้ให้ฝ่าวิกฤตไปให้ได้เสียก่อนซึ่งการตัดสินใจกลับมาช่วยแก้ไขวิกฤตก่อนนั้นไม่ใช่เพื่อต้องการสร้างความสมบูรณ์แบบไว้ให้คนรุ่นหลังแต่ต้องการสร้างทางที่มั่นคงไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้เดินอย่างถูกต้องหากมีถนนที่ดีรถทุกคันก็จะวิ่งไปได้อย่างราบรื่นไม่เกิดอุบัติเหตุการตัดสินใจของคุณธนินท์ก็เป็นเช่นนั้นคือเมื่อทางมันไม่ดีก็กลับมาทำทางให้เดินได้เสียก่อนที่เหลือเขาจะเดินยังไงจะไปทางไหนจะพบก้อนกรวดก้อนหินอันเป็นอุปสรรคอย่างไรก็ต้องเป็นเรื่องที่จะต้องไปแก้ไขกันเองตามสติปัญญาและความสามารถของแต่ละคน

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

คุณธนินท์ มองว่าวิกฤตในตอนนั้นเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาก ๆ ซึ่งถ้าไม่มีวิกฤตในตอนนั้นเขาก็คงถอยออกมานานแล้วซึ่งนั่นก็เท่ากับเขาทำผิดพลาดไปด้วยเพราะทายาทที่จะมารับช่วงต่อเขาจะไม่รู้วิธีการที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤตอย่างถูกต้องและอาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดจนธุรกิจล้มลงเลยก็ได้สิ่งที่ คุณธนินท์ ทำในตอนช่วงวิกฤตของธุรกิจนั้นเสมือนเป็นการสอนงานสอนการบริหารองค์กรให้กับทายาททุกคนจะได้เรียนรู้ในทุกเรื่องที่คุณธนินท์ทำทุกความคิดทุกการตัดสินใจพวกเขาทุกคนจะได้เห็นและรับรู้ตลอดทำให้พวกเขามีความรู้ที่รอบด้านและมีความแข็งแกร่งมากขึ้นคือพ่อเป็นหนูทดลองแล้วถ้าอะไรไม่ดีลูก ๆ ก็จะรู้และไม่ทำผิดซ้ำอีกเมื่อพวกเขามีประสบการณ์มาแล้ววิกฤตต่อไปถ้าเกิดขึ้นอีกพวกเขาก็จะรู้วิถีการหาทางออกที่ดีได้เองดังนั้นวิกฤตจึงเสมือนบทเรียนสำหรับฝึกคนเป็นผู้นำในการบริหารจัดการโดยเฉพาะเลยก็ว่าได้

คนทุก Generation ล้วนสำคัญทั้งสิ้น

การส่งต่อธุรกิจสู่รุ่นถัดไปถ้ามองกันเผิน ๆ ก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องยากแต่จริง ๆ แล้วเป็นปัญหาที่น่าหนักใจไม่น้อย เพราะการเริ่มต้นสร้างครอบครัวธุรกิจ (business family) มาตั้งแต่รุ่นก่อน ๆ นั้นเป็นบ่อเกิดของความสำคัญอะไรหลายอย่างมากตั้งแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนการสร้างงานการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ การเพิ่มมูลค่าสินค้าวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจชาติในอนาคตเลยทีเดียวเราจึงมองข้ามผ่านเรื่องนี้ไปไม่ได้เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อภาพรวมของประเทศเลยทีเดียวความสำคัญของการสืบทอดธุรกิจนั้นคนส่วนมากจะจับตามองไปที่คนรุ่นใหม่ที่จะมารับช่วงต่อแต่แท้ที่จริงแล้วคนทุกรุ่นนั้นล้วนมีความสำคัญไม่แพ้กันเลยเพราะถ้าไม่มีปู่ก็ไม่มีพ่อไม่มีพ่อก็ไม่มีลูกและถ้าคนรุ่นก่อนตัดสินใจมอบหมายงานสำคัญให้คนผิดคนธุรกิจอาจล้มลงทันทีซึ่งนั่นก็จะเรียกว่าเป็นหนึ่งฉากของความผิดพลาดในการบริหารคนนั่นเองดังนั้นการตัดสินใจและการลงมือทำของคนทุกรุ่นล้วนสำคัญเท่ากัน

ในประเทศจีนนั้นพบว่ามีปัญหาในลักษณะนี้มาเนิ่นนานแล้วและก็ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศตลอดมาจึงทำให้นักวิชาและภาครัฐของจีนเริ่มเข้ามาให้ความสนใจศึกษาการสืบทอดธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จกันมากขึ้นเพื่อดูลักษณะรูปแบบวิธีการและแนวคิดและ shared values ที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสืบทอดธุรกิจประเด็นที่รัฐบาลจีนให้ความสนใจมากก็คือการสื่อสารระหว่าง generation ของครอบครัวธุรกิจแต่ละครอบครัวว่ามีวิธีการบริหารจัดการอย่างไรมีกลยุทธ์ใดที่สามารถทำให้คนแต่ละ generation สามารถประสานสัมพันธ์กันได้เพราะปัญหาที่พวกเขาพบก็จะเหมือน ๆ กับที่เกิดขึ้นทั่วไปในวัฒนธรรมเอเชียคือรุ่นลูกหลานที่ได้รับการศึกษาในต่างประเทศแบบตะวันตกซึ่งจากค้นคว้าศึกษาทำความเข้าใจพวกเขาก็เริ่มเข้าใจว่า shared values หรือค่านิยมร่วมของครอบครัวธุรกิจนั้น ๆ จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันซึ่งนั่นก็เกิดขึ้นจากการสั่งสอนอบรมของพ่อแม่ด้วยจึงจะทำให้การบริหารคนประสานสัมพันธ์คนแต่ละรุ่นลงตัวจนส่งผลไปยังการสืบทอดธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้นั่นเอง

อุปสรรคและความท้าทาย

ครอบครัวธุรกิจ (business family) มีอิทธิพลและมีความสำคัญมากกับระบบเศรษฐกิจการส่งต่อธุรกิจไปสู่ทายาทหรือคนรุ่นต่อไปจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของคนที่จะตัดสินใจส่งมอบธุรกิจ

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

  • ประคับประคองและโอบอุ้มธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตหรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อไปให้ได้เสียก่อนแล้วค่อยส่งมอบต่อไป
  • ขณะที่ทำงานสำคัญหรือทำการแก้ไขวิกฤตขององค์กรต้องให้ทายาทเข้ามามีส่วนรับรู้ในทุกเรื่องด้วยเสมอ
  • มอบหมายงานและหน้าที่ให้เหมาะสมกับคนจำไว้ว่าคนที่จะมาสืบทอดธุรกิจของคุณนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเป็น
  • คนในครอบครัวเลือกใครก็ได้ที่เหมาะสมมีความรู้ความสามารถมีความเป็นผู้นำมารับช่วงต่อก็ได้และให้ทายาท
  • คอยดูแลเรื่องอื่น ๆ อย่างการเงินหรือบัญชีก็ได้
  • ให้ความสำคัญกับคนทุกรุ่นไม่ละทิ้งรุ่นเก่าและให้ความสนใจรุ่นใหม่ในน้ำหนักที่เท่ากันไม่เอนเอียง
Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.