ประโยชน์และคุณค่าจุดยืนที่ต้องสานต่อในการสร้างธุรกิจ
เมื่อเล่าถึงครอบครัวผมอยากจะขอกล่าวถึงท่าน เจี่ย เอ็กชอ คุณพ่อของผมซึ่งในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนท่านต้องอาศัยอยู่ในฮ่องกงและสิงคโปร์ส่วนผมอยู่ในประเทศไทยจึงมีโอกาสพบคุณพ่อน้อยมากแต่ทุกครั้งที่ได้พบกันท่านจะถ่ายทอดข้อคิดดี ๆ ให้ผมฟังอยู่เสมอซึ่งช่วยจุดประกายความคิดให้ผมนำไปต่อยอดได้เป็นอย่างดี
ธนินท์ เจียรวนนท์
อย่างเช่นเรื่องของการ “สร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น” คนรุ่นเก่าผ่านการทำงานแบบลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานเจอทั้งความผิดพลาดเจอทั้งชัยชนะเคี่ยวกรำและหลอมรวมจนเป็นประสบการณ์ส่วนตัวทำให้สามารถมองขาดและเกิดทัศนคติเชิงบวกต่อการทำธุรกิจว่าจุดเริ่มต้นต้องมาจากการให้ “ประโยชน์” และสร้าง “คุณค่า” ให้แก่ผู้บริโภคและสังคมแต่คนรุ่นใหม่นั้นมักจะมองข้ามเรื่องนี้และก้าวเข้ามาด้วยความยึดติดในแรงปรารถนาส่วนตัวจึงทำให้เริ่มต้นทำธุรกิจได้ไม่นานก็พังและก็ถอยออกไปจากความอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองและกลับไปสู่วงจรการเป็นพนักงานบริษัทกลายเป็นลูกน้องคนรุ่นก่อนอีกเหมือนเดิม
คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน
- ธุรกิจส่วนตัวไปได้สวย – วางแผนขยายธุรกิจอย่างไรดี
- เมื่อต้องแตะมือ – สืบทอดการบริหารจัดการจากรุ่นเก๋าสู่รุ่นใหม่
- รู้หรือไม่ อยากทำธุรกิจส่วนตัว ต้องทำตัวนอกกรอบ
- ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ – ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
- จากพ่อค้าขายของเก่า – สู่ผู้บริหารตลาดนัดวินเทจที่ยิ่งใหญ่
- เมื่อผู้ใหญ่เปลี่ยนยาก VS เด็กรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนง่าย จัด MINDSET อย่างไรให้ทำงานเป็นสุข
นี่จึงเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้จากคนรุ่นก่อนหากคิดจะก้าวมาเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนก็ต้องหันมาใส่ใจโจทย์ที่ว่า “ธุรกิจของคุณตอบโจทย์ความต้องการของสังคมอย่างไรบ้าง” ในตอนนี้คนในยุค Baby Boomer ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประธานอาวุโสกันหมดแล้วบางส่วนก็รอวันเกษียณ CEO ที่นั่งบริหารกันในทุกวันนี้ก็จะเป็นผู้บริหารพันธุ์ x หรือคนใน Generation x เป็นส่วนใหญ่และอีกไม่นานก็กำลังจะต้องส่งต่องานทั้งหลายให้กับคนรุ่นใหม่ที่อยู่ใน Generation Y สิ่งที่คนรุ่นใหม่ในคิดนั้นพวกเขาจะมองว่าพวกเขาไม่มีอะไรต้องปรับเปลี่ยนเยอะนักเพราะสิ่งที่พวกเขาคิดคือสิ่งที่เป็นปัจจุบันคนรุ่นเก่านั่นแหละคือพวกที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิดนี้ส่วนหนึ่งก็ถูกต้องแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดมีทัศนคติบางส่วนที่คนใน Generation ก่อนสามารถสร้างสัมพันธภาพเชื่อมโยงกันติดแล้วระหว่าง Baby Boomer กับ Generation x แต่ความคิดและมุมมองดังกล่าวนั้นยังไม่สามารถสื่อสารเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ได้
ความสำเร็จในการสร้างธุรกิจขึ้นอยู่กับแผนการ
ในการสร้างธุรกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้จากคนรุ่นก่อนด้วยสังคมในสมัยก่อนนั้นทางเลือกในชีวิตมีให้ไม่มากนักคนรุ่นก่อนเวลาเริ่มต้นทำธุรกิจจึงต้องคิดเยอะวางแผนเยอะแล้วลงมือทำลองดูตามแผนแต่เด็กรุ่นใหม่มองว่าทางเลือกมีมากกว่าถ้าทำแล้วเจ๊งก็กลับไปเป็นพนักงานได้เพราะอย่างน้อยตัวเองก็เรียนจบปริญญามาแต่คนรุ่นก่อนนั้นความรู้อาจไม่สูงบางคน ป.6 บางคน ม.3 เมื่อความรู้น้อยทางเลือกก็น้อยถ้าตัดสินใจทำแล้วก็ต้องวางแผนให้มากและลงมือทำด้วยความมุ่งมั่นถ้าเกิดวางแผนแล้วยังพลาดสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำคือเดินต่อหาแผนการใหม่แต่คนรุ่นใหม่ถ้าทำธุรกิจแล้วพลาดก็จะเปลี่ยนทันทีไม่กลับไปทำอีกตรงนี้เป็นข้อแตกต่างของคนแต่ละ Generation ถ้าหากคุณล้มเหลวขอให้คุณลองนำความคิดของคนรุ่นก่อนมาใช้ “เมื่อสิ่งที่คุณคิดไว้วางแผนไว้ไม่เป็นไปตามนั้นก็คิดเสียว่ามันล้มเหลวชั่วคราว”
“ถ้าวิธีคิดเปลี่ยนการกระทำเปลี่ยนถ้าการกระทำเปลี่ยนผลลัพธ์ก็เปลี่ยนถ้าผลลัพธ์เปลี่ยนชีวิตก็เปลี่ยน”
เถ้าแก่น้อย
เจมส์ เจ. ฮิลล์ มองเห็นปัญหาและความไม่สะดวกในการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝังตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเขาจึงมีความคิดที่จะจัดการปัญหานี้โดยการริเริ่มสร้างทางรถไฟ Transcontinental Great Northern เริ่มต้นจากเมืองเซนต์พอลรัฐมินนิโซตาไปยังเมืองซีแอตเทิลรัฐวอชิงตันซึ่งแล้วเสร็จในปี ค.ศ1893 รวมระยะทาง 2,736 กิโลเมตรคุณคิดว่าการสร้างทางรถไฟที่เส้นทางยาวไกลเป็นพัน ๆ กิโลเมตรนี้จะทำได้อย่างราบเรียบใช่หรือไม่แต่จริง ๆ แล้วเปล่าเลย เจมส์ เจ. ฮิลล์ พานพบกับความล้มเหลวตั้งแต่เขาเริ่มต้นคิดแล้วเพราะพอเขาคิดที่จะทำเอาแผนการไปเสนอคนที่เกี่ยวข้องต่างก็ปฏิเสธทุกรายแต่ใช่ว่าเขาจะยุติแผนของเขาเพราะคำปฏิเสธเหล่านั้น เจมส์ เจ. ฮิลล์ กลับคิดว่าความล้มเหลวนั้นเป็นเพียง “ความล้มเหลวชั่วคราว” เท่านั้นเขาเปลี่ยนแผนการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่และนำกลับไปเสนอชาวไร่ชาวนาให้เห็นถึงประโยชน์ของทางรถไฟสายนี้และในที่สุดด้วยเสียงของชาวบ้านบวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจอันดีของ เจมส์ เจ. ฮิลล์ ก็ทำให้ทางรถไฟสายสำคัญนี้เกิดขึ้นจนได้ในที่สุด
จุดเริ่มต้นที่น่าสนใจในการสร้างธุรกิจของคนรุ่นใหม่
- เรียนรู้แนวคิดจากคนรุ่นเก่าแล้วนำมาปรับใช้
- นำปณิธานและความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจของคนรุ่นก่อนมาเป็นหลักยึดในการฟันฝ่าอุปสรรค
- คิดถึง “ประโยชน์และคุณค่า” ของสิ่งที่จะทำว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่
- ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองรักเสมอไปแต่ควรจะสนใจในสิ่งที่ตัวเองทำได้ดี
- เปลี่ยนคำว่า “อย่ากลัวที่จะล้มเหลว” เป็นคำว่า “ทำอย่างไรถึงจะไม่ล้มเหลว”