Categories: TRENDTREND

ทำสื่อยุคใหม่…ต้องสร้างแบรนด์ก่อน ?

ในช่วงระยะเวลา 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจสื่อปรับตัวครั้งแล้วครั้งเล่า คู่ขนานไปกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

แม้ว่าภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง กระนั้น ธุรกิจสื่อและคนทำสื่อก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป พร้อม ๆ กับความท้าทายใหม่ โดยเฉพาะแง่มุมเรื่อง “เนื้อหา” และ “ช่องทาง” ที่จะไป

passion gen จับประเด็นจากวงเสวนาเรื่อง พลิกโฉมสื่อไทย ก้าวไกลอย่างมีนวัตกรรม หรือ Media Innovation is a New Norm จากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ พร้อมหยิบกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาฝากกัน

โลกขยับ สื่อก็ต้องปรับตัว

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับ ผู้จัดอิสระ Program Director PCCW OTT (Thailand) Co. ในนาม Viu กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อเปลี่ยนแปลงไปมาก หากมองไปรอบ ๆ ตัว จะเห็นสื่อทั้งที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ เช่น โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ สื่อขนาดกลาง เช่น สำนักข่าวใหม่ ๆ และสื่อขนาดเล็กระดับบุคคลและนักข่าวอิสระมากมาย

เมื่อสื่อมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ คนก็หันไปเกาะสื่อขนาดเล็กเหล่านั้นมากขึ้น จุดนี้เลยทำให้หลายคนกลายเป็น Influencer ได้ไม่ยาก

ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ช่วยให้คนผลิตและส่งเนื้อหาไปถึงผู้บริโภคได้ด้วยรูปแบบอื่น ไม่จำเป็นต้องเป็นเนื้อหาตัวอักษร หรือเป็นภาพแบบเดิม ๆ

เมื่อทุกคนต้องแข่งขันกัน สิ่งที่จะเป็นความปกติใหม่ในวงการสื่อคือ การสร้างตราสินค้าหรือแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา

น่าสังเกตว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกำลังให้น้ำหนักไปที่แบรนด์หรือชื่อเสียงของตัวสื่อมากขึ้น ส่วนเนื้อหาสาระจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เสพข่าวสาร แตกต่างจากอดีตที่คนน่าจะสนใจเนื้อหามากกว่าสนใจตัวสื่อ

นี่คือโอกาสของสื่อขนาดเล็ก

กรณีของ The Mask Singer ถือเป็นเวทีใหญ่ แต่ก็จำกัดการเข้าถึงของคนจำนวนมาก ดังนั้นสื่อขนาดเล็กจะเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงง่ายขึ้น

แต่รูปแบบก็เปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Podcast, YouTube หรือแม้กระทั่งคลิปสั้น ๆ

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล มองว่าเมื่อทุกคนเป็นสื่อได้ แต่ต้องเป็นสื่อที่มีความแข็งแกร่งในตัวเอง นั่นคือ ต้องสร้างตัวตนขึ้นมาและก็ต้องมีช่องทางที่จะไปของตัวเองด้วย ช่องทางที่ว่านี้ในวงการเรียกว่า ท่อ เมื่อมีท่อของตัวเองก็จะกลายเป็นแบรนด์ของตัวเอง

เช่นเดียวกับผู้บริโภค ขณะนี้พวกเขารู้ว่าอยากรู้เรื่องอะไร จากที่ไหน พวกเขาสามารถเลือกได้ตามความต้องการ หากท่อของเราเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่ยอมรับแล้ว คนก็จะวิ่งเข้ามาหาเอง เนื้อหาต่าง ๆ ก็จะวิ่งเข้ามาหา ธุรกิจก็จะตามมา

แต่สิ่งที่ท้าทายที่ตามมาคือ หากมีการผลิตเนื้อหาดี ๆ ออกมา ไม่ช้าไม่นานก็จะมีคนเลียนแบบอย่างแน่นอน ดังนั้นจะต้องมีวิธีการปกป้องผู้ผลิตและก็ Platform ของตัวเอง เพื่อรักษาฐานผู้บริโภคให้ได้

ความท้าทายที่เปลี่ยนไป

คุณแดน ศรมณี ซึ่งเป็น Global Brand Lead จาก LINE Company (Thailand) ชี้ว่าในปัจจุบันสื่อได้แตกแขนงออกไปมากมาย จากช่องทางเดิม

แล้วจะทำอย่างไรให้คนผูกอยู่กับสื่อได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือการสร้างยี่ห้อหรือแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาให้ได้ ถ้าทำให้ผู้บริโภคอยู่กับองค์กรหรือตัวเองได้มากขึ้น นั่นคือสิ่งที่ปลอดภัยที่สุด

จุดนี้เป็นโจทย์ใหญ่และท้าทายอย่างมากสำหรับคนทำสื่อยุคปัจจุบัน

แม้กระทั่งองค์กรสื่อเองก็สามารถใช้แนวคิดนี้ได้ โดยสามารถสร้างแบรนด์ให้กับตัวเองให้แข็งแกร่ง แล้วมันจะดึงดูดเนื้อหาหรือ Content ต่าง ๆ เข้ามาได้

ตัวอย่างที่ LINE เคยทำมาแล้ว คือ การผลิตรายการทีวีของตัวเอง LINE TV เพราะมองว่าการสร้างแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นการตอบสนอง Need หรือความต้องการของคนในช่วงนั้น ๆ เมื่อความต้องการนั้นอิ่มตัวก็ต้องหาความต้องการใหม่ ๆ มาตอบสนองผู้บริโภค หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ

ความสำเร็จของ LINE TV คือการตอบสนองผู้บริโภคแบบเฉพาะกลุ่ม ไม่หว่านเหมือนสถานีโทรทัศน์ ทำให้ LINE TV ได้รับความนิยมสูง

ข้อได้เปรียบของการทำสื่อสมัยใหม่ คือต้นทุนถูกกว่าองค์กรสื่อขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่นที่ LINE Thailand ใช้พนักงานประมาณ 25 คนเท่านั้น ขนาดที่สถานีโทรทัศน์จะใช้คนนับพันคน

ส่วนคนที่ผลิตสื่อต้องไปพึ่งท่อของคนอื่น ๆ เมื่อผลิตเนื้อหาสาระออกมาได้แล้ว ก็เอาไปปล่อยในช่องทางอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือโซเชียลมีเดียช่องทางอื่น

นิยายก็เช่นเดียวกัน

ยุคนี้ การผลิตเนื้อหาบางประเภท เช่น นวนิยาย ก็ปรับตัวตามไปด้วย

ดังเช่น จันทร์ยวีร์ สมปรีดา หรือ นามปากการอมแพง ผู้แต่งนวนิยาย “บุพเพสันนิวาส” ผู้เขียนนวนิยายมา 14 ปี เริ่มจากการเขียนไปลงพันธุ์ทิพย์ก่อน จากนั้นค่อย ๆ รู้ว่าตัวเองชอบอะไร แนวไหน

การเขียนงานช่วงแรก ๆ จะตามใจตัวเอง แต่หลัง ๆ มีการปรับแนวเพื่อตามความชอบของคน ทั้งนี้ ยอมรับได้หากมีการดัดแปลงเนื้อหา หากมีการนำไปเป็นหนังละคร

จุดเด่นในงานเขียนคือ การสำบัดสำนวน กัดจิก สนุกแนว ๆ

แต่สำหรับใครที่ชื่นชอบและอยากจะเป็นนักเขียน จำเป็นต้องรู้ว่าหัวใจของเรื่องที่จะเขียนคืออะไร และต้องรู้ด้วยว่าจะต่อยอดให้เรื่องที่เขียนได้อย่างไร โดยวางแนวทางเดินเรื่องไว้ก่อน

สำหรับจันทร์ยวีร์ เอง ขณะนี้กำลังเขียนนิยายอนาคตอยู่ ซึ่งก็ต้องใช้จินตนาการสูงมากเหมือนกัน เพราะต้องมองไปอนาคตอีกหลายสิบปี


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.