Categories: TREND

พรบ.คู่ชีวิต เพื่อชีวิตคู่

จากความพยายามผลักดันเรื่องสิทธิและความเท่าเทียม ให้กลุ่ม LGBT หรือกลุ่มคนเพศทางเลือกมานานกว่า 6 ปี ในที่สุดร่างพรบ.คู่ชีวิต ฉบับแรกของประเทศ ก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา

“ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังคมไทยเลยก็ว่าได้”

จากนี้ไป ก็จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตามลำดับ หากร่างพรบ.นี้ได้รับการอนุมัติ ก็จะเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยต่อไป

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าสิทธิและความเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเพศทางเลือก จะเป็นเส้นทางที่โรยด้วยดอกกุหลาบ เพราะยังมีความท้าทายและอุปสรรคอีกหลายอย่างรออยู่เบื้องหน้า

นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม

passion gen ติดตามเรื่องนี้กับ นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม

ผอ.นรีลักษณ์ กล่าวว่า โดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่าสังคมไทยเปิดกว้างในเรื่องเพศสภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับในอีกหลาย ๆ มุม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ส่วนประเด็นหลัก ๆ ที่ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วในร่างพรบ.คู่ชีวิต แบ่งได้ 4 หมวด รวมทั้งหมด 46 มาตรา คือ

– หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียนสมรส คู่รักสามารถจดทะเบียนกันได้ทั้งในและต่างประเทศ

– เรื่องความสัมพันธ์ของคู่รัก รวมถึงข้อตกลงในการดูแลซึ่งกันและกัน

– การเลี้ยงดูบุตรและสิทธิต่าง ๆ

– เรื่องการจัดการมรดกของคู่รัก

แต่ทั้งหมดเหล่านี้ก็ยังต้องดูรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย เพราะต้องปรับจูนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย เช่น เรื่องงบประมาณ บุคลากร สวัสดิการต่าง ๆ และเรื่องที่เป็นมิติทางศาสนา เป็นต้น

เรียกได้ว่าทุกเส้นทางที่จะเดินไปสู่การได้สิทธิและความเท่าเทียมอย่างแท้จริงของกลุ่ม LGBT ยังมีอุปสรรคตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางเลยทีเดียว

พูดง่าย ๆ คือ อาจต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องราว 20 ฉบับ

          “แต่เราก็คาดหวังว่า จะสามารถสร้างความสมบูรณ์แบบให้กับสิทธิและความเท่าเทียมให้กับเพศทางเลือกได้ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า”

ความจริงแล้ว การเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมในไทย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกกำลังเรียกร้องกันอยู่ แต่กรณีศึกษาที่พบ บางประเทศใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ได้ เช่น ที่อังกฤษ

แต่กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ ก็ได้ศึกษาจากประเทศอื่น ๆ ประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป หากมีการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด อาจจะถูกต่อต้านได้

ส่วนกรณีของไต้หวัน แม้เขาเลือกใช้วิธีทางลัดประกาศใช้กฏหมายภายในระยะไม่กี่ปี แม้จะสร้างความยินดีให้กลุ่มเพศทางเลือก แต่ก็ยังมีการต่อต้านอยู่ดี

แต่ก็น่าแปลกใจเหมือนกัน ในบางประเทศที่มีกฎหมายเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมอย่างสมบูรณ์แบบ กลับพบว่ามีคู่รักเพศทางเลือก รวมถึงคู่รักปกติชายหญิงมากมาย เลือกที่จะจดทะเบียนแบบคู่ชีวิต มากกว่าการสะสมรสแบบคู่สมรสซะอีก

ส่วนบริบทของสังคมไทยก็คงต้องค่อย ๆ สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยแบบต่อเนื่อง

จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในคนทุกกลุ่มในสังคมก่อน

การสร้างตัวตนให้กับกลุ่มเพศทางเลือกให้มีความชัดเจนมากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะขณะนี้ยังมีการต่อต้านอยู่ ไม่เฉพาะในโลกออนไลน์ ในสังคมทั่ว ๆ ไปก็ยังมีอยู่

“เรากำลังสร้าง Roadmap เพื่อนำไปสู่การมีสิทธิและความเท่าเทียมอย่างแท้จริง และมีการสมรสที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้น” ผอ.นรีลักษณ์กล่าว

หากย้อนไปช่วงก่อนที่จะมี Roadmap เกิดขึ้น จุดเริ่มต้นเกิดจากมีคู่รักชายรักชายคู่หนึ่ง ต้องการจดทะเบียนสมรสที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2556 แต่ถูกปฏิเสธ จึงร้องเรียนไปยังสภาผู้แทนราษฎร จนนำไปสู่การศึกษา และเกิดร่างพรบ.นี้ขึ้นมา

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังศึกษาถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต หากมีการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้จริง

ภายใต้พื้นฐานแห่งสิทธิและเสรีภาพของคน การมีพรบ.คู่ชีวิตสำหรับเพศทางเลือก ถือเป็นการสร้างความสุขให้กับคนในสังคมอีกทางหนึ่ง

เมื่อคนมีความสุขแล้ว ก็จะมีพลังในการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพการงานได้ดี ส่งผลให้สังคมในภาพรวมดีขึ้นตามไปด้วย


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.