ในขณะที่การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอไม่เพียงแต่จะทำให้เรารู้สึกงัวเงีย ไม่มีแรง ไม่สดชื่นไปทั้งวันแล้ว ยังส่งผลต่ออารมณ์ ประสิทธิภาพในการทำงาน และที่ซ้ำร้าย คือ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพทั้งทางกายภาพและทางจิตใจอีกด้วย
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างการอดหลับอดนอนกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทีมนักวิจัยจาก University of Warwick พบว่าคนที่นอนหลับน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนคนที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน มากถึง 12% ทั้งนี้ก็เพราะการอดนอนสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า หรือโรคอัลไซเมอร์
แม้จะรู้แล้วว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่มองข้ามได้ แต่สำหรับใครหลาย ๆ คนแล้วการนอนไม่พอไม่ได้เป็นทางเลือกสำหรับเขา พูดง่าย ๆ ว่าเขาไม่ได้เลือกที่จะนอนน้อย แต่กลายเป็นว่าเขานอนไม่หลับ ไม่ว่าจะด้วยความเครียดสะสม เป็นคนนอนยาก หรือเหตุใด ๆ ก็ตามแต่ นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการ
ASMR หรือ Autonomous Sensory Meridian Response คือ ระบบการตอบสนองต่อประสาทการรับรู้อย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเสียงหรือการสัมผัส ผู้ที่ถูกกระตุ้นจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย แต่ทั้งนี้สำหรับบางคนอาจจะเกิดความรู้สึกรำคาญแทนก็ได้
สำหรับคลิปวิดีโอ ASMR บน Youtube จะเป็นการกระตุ้นระบบตอบสนองต่อประสาทในรูปแบบของเสียง แต่เป็นเสียง 3D ที่มีมิติและความลุ่มลึก ซึ่งจะทำให้รู้สึกเหมือนว่ากำลังฟังเสียงจากการใช้อุปกรณ์นั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแต่งหน้า เสียงกระซิบ เสียงจากการกิน หรือเสียงขยำสิ่งของ ถ้าจะให้ดีผู้ฟังต้องสวมหูฟังจึงได้ยินเสียงที่คมชัดและอรรถรสในการฟังราวกับมีคนมากระซิบอยู่ข้างหู
เสียงจากวิดีโอ ASMR จะช่วยทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ผ่อนคลายและลดระดับความเครียดลงได้ ซึ่งเป็นผลดีกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะเมื่อเกิดความเครียด จะทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ตามมามากมาย นอกจากนี้แล้ว ASMR ยังถูกใช้ช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับอีกด้วย
ปัจจุบันมีวิดีโอ ASMR แพร่หลายอยู่บน Youtube เป็นล้าน ๆ วิดีโอ ทั้งยังมีลักษณะของสารพัดเสียงต่าง ๆ มากมายที่จะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ยินเสียงเหล่านี้ มีทั้งที่เป็นคลิปวิดีโอที่มาได้ภาพและเสียง หรือจะเป็นเสียงอย่างเดียวเพื่อให้ผู้ฟังจินตนการเอาเอง เรามาดูตัวอย่างของช่อง Youtube ฮิต ๆ ที่นำเสนอวิดีโอ AMSR ในรูปต่าง ๆ กันดีกว่า
1 ในรูปแบบ ASMR ยอดฮิตที่นอกจากจะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ยังจะทำให้รู้สึกหิวอีกด้วย นั่นคือเสียงของการกิน ทั้งเสียงการกัดที่มีเสน่ห์ เสียงการเคี้ยวอาหารแบบชัด ๆ เต็มสองรูหู เสียงกลืนอาหารที่คนฟังจะต้องหิวตามเมื่อได้ยิน สำหรับใครหลายคน เสียงการกินอาจจะฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ แต่สำหรับใครอีกหลายคน มันเป็นเสียงที่ฟังดูน่าหลงใหลและทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายด้วยความฟินจริง ๆ
เสียง ASMR ในรูปแบบนี้จะเป็นการแตะอย่างแผ่วเบา โดยการแตะและไล่นิ้วไปตามสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งก็ได้เสียงที่แตกต่างกันไปตามวัสดุที่สัมผัส เช่น เสียงการกดแป้นพิมพ์ เสียงแตะกระเป๋าหนัง เสียงการไล่นิ้วไปตามผ้า เป็นต้น
แต่ละคนก็จะมีสภาพแวดล้อมหรือห้องที่ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้อยู่แตกต่างกันไป หัวใจของ ASMR แบบนี้คือการจำลอง ปรุงแต่ง เสียงบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมในห้องแต่ละแบบ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายราวกับว่าตัวเองได้ไปอยู่ ณ ที่แห่งนั้นจริง ๆ เช่น เสียงในห้องสมุด เสียงในร้านกาแฟ เสียงในห้องโถง หรือเสียงบรรยากาศตอนฝนตก
เสียง ASMR แบบนี้เหมาะอย่างมากกับคนที่ชอบนวด เพราะเป็นเสียงของการนวด ไม่ว่าจะนวดหัว นวดตัว พอลอง ๆ ฟังแล้วจะให้ความรู้สึกราวกับว่าเรากำลังนวดผ่อนคลายอยู่จริง ๆ
นี่เป็นแค่ตัวอย่างบางส่วนของวิดีโอ ASMR เท่านั้น ยังมีวิดีโอ ASMR ในรูปแบบต่าง ๆ อีกเยอะแยะมากมาย ตามแต่ละสไตล์ที่คนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเล่านิทาน เสียงการแงะงัดแกะเกา เสียงอุปกรณ์ต่าง ๆ เสียงคลุมเตียง เสียงเปิดปิดเฟอร์นิเจอร์ เสียงลมหายใจ เสียงขนนก แปรงแต่งหน้า หรือแม้กระทั่งเสียงจากการรับบทบาทสมมติ (Roleplay) ที่ผู้อัดเสียงต้องสวมบทบาทการพูดแบบนั้นจริง ๆ
ASMR กลายเป็นกระแสที่นิยมทั่วโลกมาหลายปีแล้ว มีแนวโน้มที่เทรนด์นี้จะมีผู้รับชมรับฟังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีรูปแบบเทคนิคที่หลากหลาย เพื่อตอบรับกับสภาวะความเครียดของคนที่มากขึ้นและเป็นทางเลือกเพื่อช่วยผ่อนคลายและแก้ปัญหาการหลับยากของผู้คนทั่วโลก ดูได้จากการค้นหาใน Google trend ที่ผู้คนให้ความสนใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ต้องบอกไว้ก่อนว่า ASMR อาจจะไม่ได้ผลในครั้งแรกกับทุกคน การฟัง ASMR จำเป็นต้องใช้เวลาและจินตนาการของผู้ฟังในการรับสัมผัสของเสียงนั้นด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวิดีโอ ASMR เป็นยาวเป็นชั่วโมงไงล่ะ
ลองจินตนาการถึงการเกิดขึ้นของเสียงนั้น นึกภาพฝนตกที่กำลังตกปรอย ๆ กระทบกับกิ่งไม้และใบหญ้า นึกถึงภาพว่าเรากำลังนวดอยู่ สัมผัสของมือที่กำลังบีบเค้นเพื่อให้ความผ่อนคลายกับกล้ามเนื้อของเรา เพราะเทคนิคง่าย ๆ ของ ASMR คล้ายกับเวลาที่แม่ร้องเพลงกล่อมเด็กหรือเล่านิทานนอนให้เราฟังนั่นแหละ เมื่อเรามีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ฟัง ก็จะเกิดความผ่อนคลายและความสุขตามมานั่นเอง
ข้อมูลจาก
https://bottomlineis.co/Lifestyle_Wellness_Sleep_Less_Cause_Die_Early
https://www.washingtonpost.com/national/health-science/go-to-bed-brain-researchers-warn-that-lack-of-sleep-is-a-public-health-crisis/2019/01/24/bbc61562-0a1b-11e9-85b6-41c0fe0c5b8f_story.html?fbclid=IwAR1G-mZunxZGEvTTJbsNpSrnfAb5_KDRQBrU_jNG9HzUmJARqXFFlK34ZxU
https://themomentum.co/happy-health-research-sleepless
https://www.nhs.uk/live-well/sleep-and-tiredness/why-lack-of-sleep-is-bad-for-your-health/
https://axofitness.com/asmrคืออะไร
ASMR คืออะไร รู้จักวิธีการผ่อนคลายแนวใหม่ ที่กำลังฮิตในโลกโซเชียล
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.