Categories: TRENDTREND

โลกแห่งอนาคตกับนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่จะช่วยโรงพยาบาลสู้ COVID-19

4.3 / 5 ( 3 votes )

“แอ่ด แอ่ด แอ่ด” เสียงการขยับของกลไกดังขึ้นจากหุ่นยนต์ต้นแบบ ทำให้อดนึกถึงฉากในหนังไซไฟที่มนุษย์ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ไม่ได้ และดูเหมือนว่าเราจะเขยิบเข้าใกล้หนังไซไฟไปอีกขั้น เมื่อวงการสาธารณสุขบ้านเราได้คิดค้นและนำนวัตกรรมหุ่นยนต์มาใช้ในการแบ่งเบาภาระของแพทย์และพยาบาลตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

มีคนเคยกล่าวว่าในทุก ๆ วิกฤตจะเร่งให้เกิดการพัฒนาอะไรบางอย่าง และครั้งนี้ก็เช่นกันที่การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เร่งรัดให้เกิดนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคลกรทางการแพทย์และลดความเสี่ยงจากการทำงานของแพทย์และพยาบาล  เวสตี้ (Wastie) หุ่นยนต์เก็บขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลภาคสนาม และ ฟู้ดดี้ (Foodie) หุ่นยนต์ส่งอาหาร-ยาในหอพักผู้ป่วย หุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นหุ่นต้นแบบจากความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมเราถึงจำเป็นจะต้องใช้หุ่นยนต์ในทางการแพทย์ด้วยล่ะ?

เรื่องนี้ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า ด้วยปริมาณขยะติดเชื้อจากหน้ากากและอุปกรณ์ในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังประสบกับปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากาก N95 และชุด PPE ขาดแคลน รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรทางแพทย์ ซึ่งทำให้ภาระงานหนักและมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 หุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถรองรับงานหนักและงานที่เสี่ยงอันตราย (เช่น การเก็บขยะติดเชื้อ) ด้วยระบบการทำงานขนส่งในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ

เจ้าหุ่นยนต์ Wastie เก็บขยะติดเชื้อ ประกอบด้วย AGV แบบระบบนำทางด้วยแม่เหล็ก และแขนกล (CoBot) สำหรับยกถังขยะโหลดขึ้น การยกแต่ละครั้งได้สูงสุด 5 กิโลกรัม AGV สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 500 กิโลกรัม ความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่ต่ำกว่า 8 เมตรต่อนาที ใช้ระบบนำทางด้วยแม่เหล็ก โดยติดเทปแถบแม่เหล็กไว้ที่พื้นเป็นเส้นนำทาง


บทความที่น่าสนใจ


ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการเอจีวีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสำหรับงานบริการในสถานประกอบการสาธารณสุข กล่าวถึงระบบการทำงานว่า หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นนำทาง โดยมีตัวตรวจจับทำให้การเคลื่อนที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ เมื่อถึงจุดรับขยะ หุ่นยนต์จะอ่านบาร์โค้ดแล้วยกถังขยะติดเชื้อไปยังกระบะจัดเก็บ ซึ่งจะสามารถขนส่งขยะติดเชื้อได้ประมาณ 10 ตันต่อวัน ช่วยลดปัญหาการหยุดชะงักของการบริการขนส่งจากปัญหาการติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะส่งผลให้การขนส่งต้องล่าช้ามากกว่า 50%

พูดง่าย ๆ ว่า Pain Point อยู่ที่ขยะติดเชื้อซึ่งมนุษย์ไม่ควรจะไปสัมผัส การใช้หุ่นยนต์จึงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการเก็บขยะติดเชื้อเหล่านี้ของบุคลากรในโรงพยาบาลนั่นเอง

ส่วนเจ้าหุ่นยนต์ Foodie ทำหน้าที่ส่งอาหารและยาในหอผู้ป่วย จะสามารถช่วยลดโอกาสที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 2 คนในการดูแล รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลที่แออัดและมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก

หุ่นยนต์ Foodie

หุ่นยนต์ Foodie ใช้ระบบนำทางอัจฉริยะด้วยข้อมูลแผนที่ในตัวหุ่นยนต์แบบ QR-Code Mapping มันสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 30-50 กิโลกรัม และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 8 เมตรต่อนาที หุ่นยนต์ประกอบด้วยชุดขับเคลื่อนที่นำทางด้วยการใช้กล้องอ่าน QR-Code บนพื้นและจะเคลื่อนที่ไปตามคำสั่งที่โปรแกรมเอาไว้ สามารถขนส่งได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งจะทดแทนการคนส่งด้วยมนุษย์ และกลไกที่ถูกออกแบบมาให้ส่งถาดอาหารเข้าสู่จุดหมายโดยปราศจากมนุษย์มาเกี่ยวข้อง มันสามารถนำส่งอาหาร 3 มื้อ เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปยังห้องผู้ป่วยหรือเตียงผู้ป่วยในวอร์ดได้ประมาณ 200 คนต่อวันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ จุดเด่นของหุ่นยนต์เวสตี้ (Wastie) และหุ่นยนต์ฟู้ดดี้ (Foodie) อยู่ที่ความสามารถในการขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักได้มากกว่าหุ่นยนต์ทั่วไป คุ้มค่า และประหยัดเวลาในการขนส่งอาหาร ยา และอุปกรณ์ต่าง ๆในโรงพยาบาล อีกทั้งยังมีความแม่นยำในการขนส่ง สามารถหยุดตามสถานี และมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งเส้นทางใหม่

นพ.สมชาย ดุษฎีเวทกุล หนึ่งในทีมผู้วิจัยและรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ด้วยโครงสร้างของหุ่นยนต์ที่มีความแข็งแรงและทำงานได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับลักษณะงานของโรงพยาบาล นวัตกรรมหุ่นยนต์นี้จะช่วยทดแทนแรงงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเรื่องของการขนส่งได้มากกว่า 30%

อย่างไรก็ตาม มีเสียงท้วงติงขึ้นมาว่า หุ่นยนต์เหล่านี้จะมาแทนที่บุคลากร และทำให้คนตกงานรึเปล่า?

หากดูกันดี ๆ จะพบว่าภาระงานที่ใช้หุ่นยนต์เหล่านี้มาจัดการแทนมนุษย์ ล้วนแต่เป็นงานที่มีความเสี่ยงจะเป็นอันตรายกับมนุษย์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะติดเชื้อหรือการขนส่งยาและอาหารให้แก่ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง แถมยังเป็นการประหยัดบุคลากรและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ไปใช้กับงานอื่นที่สำคัญและจำเป็นมากกว่าได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นกังวลว่าคนจะตกงานเพราะหุ่นยนต์หรอกนะครับ

หุ่นยนต์ Wastie

จากภาวะวิกฤต COVID-19 โรงพยาบาลในประเทศไทยสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการนำนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณสุขในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการรักษาพยาบาล ความปลอดภัยของประชาชนและบุคลากร ช่วยลดต้นทุน ลดงานที่ซ้ำซ้อน จัดสรรทรัพยากรและบุคลากรในเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยทุกคนได้

นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของการพัฒนาการแพทย์ไทย ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะเป็นแบบหุ่นยนต์เดินขวักไขว่ในโรงพยาบาลเหมือนกันหนังไซไฟที่เราดูกันเป็นประจำก็ได้ บางทีโลกแห่งอนาคตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำเหนือจินตการ อาจจะมาถึงไวกว่าที่เราคิด

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.