มนุษย์ไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราจึงได้สัมผัสนวัตกรรมที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนแทบทุกวัน ลองสำรวจสิ่งของเครื่องใช้รอบตัวเรา จะเห็นว่าแต่ละชิ้นมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ

เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicle) หรือ EV ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแล้วทั้งในยุโรป อเมริกา และจีน และคาดว่าอีกไม่นานน่าจะเป็นที่นิยมในเมืองไทย

วันนี้ passion gen ขออัพเดทเกี่ยวกับรถไฟฟ้าจากหลาย ๆ ค่าย ว่าแต่ รถไฟฟ้าเหล่านี้ราคาเท่าไหร่ ถ้าซื้อมาใช้แล้วค่าใช้จ่ายจะแพงไหม การดูแลจะแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปอย่างไร

หากจับกระแสโซเซียล ก็จะเห็นว่าคนเริ่มมีการพูดกันว่า บางรุ่นที่ขายในต่างประเทศ ถ้าจ่ายเงินแค่เดือนละ 700 บาท ก็สามารถขับรถไฟฟ้าได้แล้ว โห…น่าสนเข้าอีก

นั่นหมายความว่ารถไฟฟ้าน่าจะประยัดกว่าการใช้น้ำมันหรือไม่ แต่โดยทั่วไปราคาตัวรถไฟฟ้าจะมีราคาเริ่มต้นสูงกว่ารถยนต์ทั่วไปอยู่แล้ว ส่วนค่าพลังงานไฟฟ้าขณะนี้อาจจะดูแพงเพราะมีคนใช้น้อย แต่รถไฟฟ้าก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกว่าคำว่าแพงคำนี้ ค่ายรถยนต์จึงงัดกลยุทธ์การขายใหม่ ๆ ออกมาให้เลือกหลายรูปแบบ

มาดูตัวอย่างชัด ๆ จากค่ายซีตรองของฝรั่งเศสกัน

ซีตรองเปิดตัวรถไฟฟ้าขนาด 2 ที่นั่งในชื่อ Citroen Ami ขนาดเล็กและกะทัดรัด ให้ความเร็วสูงสุด 48 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้แบตเตอรี่ขนาด 5.5 kWh สามารถวิ่งได้ 70 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง การชาร์จแต่ละครั้งใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมง

ค่าตัว Citroen Ami เริ่มต้นที่ประมาณ 210,000 บาท (6,600 เหรียญสหรัฐ) ส่วนการจับจองเป็นเจ้าของก็จะมีออปชั่นให้เลือกด้วยนะ

เช่น ดาว์นประมาณ 93,000 บาท สัญญา 2 ปี จะจ่ายประมาณ 700 บาท/เดือน สรุปแต่ละเดือนจ่ายเพียง 4,500 บาท

อีกทางเลือกคือ ไม่ต้องดาวน์แต่จ่ายผ่อนไปเลยเดือนละ 330 บาท แต่ต้องจ่ายเป็นรายนาทีตามที่ใช้จริงอีกนาทีละ 9 บาท ถ้าใช้เยอะก็จ่ายเยอะ ว่างั้น

เห็นไหมว่า รถไฟฟ้าคันหนึ่ง ไม่ได้ให้แค่เทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ขายประสบการณ์ใหม่ ๆ และยังได้เห็นถึงเกมส์การตลาดแบบใหม่ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

คราวนี้มาดูกันว่า ค่ายไหนสนใจอยากเปิดตลาดในเมืองไทยบ้าง แว่วว่าอาจมีมากกว่า 10 ราย เช่น

Audi E-tron, BMW I 3 S, บีวายดี e6 และ M3/T3, Fomm One, Hyundai โคน่า และ ไอโอนิค, Jaguar ไอ-เพซ, Kia โซล อีวี, MG ZS EV, Mini Couper SE, Nissan Leaf เป็นต้น ในจำนวนนี้ บางรค่ายเปิดตลาดไปแล้วและก็ได้ความความนิยมด้วยดี แต่ส่วนมากก็ยังจำกัดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล

อึมมม…แล้วถ้ามีการซื้อขายจริงจัง จะไปชาร์จไฟที่ไหนละ

อันนี้ก็มีการยืนยันแล้ว่า สถานีอัดประจุไฟฟ้ามีทั้งสิ้น 557 แห่ง รวม 1,818 หัวชาร์จ แบ่งเป็น หัวชาร์จประเภท AC 1,212 หัวชาร์จ และหัวชาร์จประเภท DC 606 แห่ง จากผู้ให้บริการ 10 ราย

ส่วนแฟนคลับรถยอดนิยมอย่าง โตโยต้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, มาสด้า ตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าในการผลิตรถไฟฟ้าในเมืองไทยมากนัก ส่วนใหญ่มีแต่เผยโฉมเป็นรถยนต์ต้นแบบ เพื่อโชว์เทคโนโลยีตามงานมอเตอร์โชว์ใหญ่ ๆ

เอาเป็นว่า เตรียมนับถอบหลังกันได้เลย ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบรุ่นและสเปคไว้ในใจ ถึงเวลาเปิดตัวจะได้เลือกได้ถูกใจ


Passion in this story