Categories: TREND

เส้นทางจักรวาลภาพยนตร์ DCEU จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

สำหรับแฟนๆ ของซุปเปอร์ฮีโร่จากคอมมิคฝั่งดีซี (DC) แล้ว เวลาที่มีภาพยนตร์เรื่องใหม่ในจักรวาลขยายดีซี (DC Extended Universe: DCEU) จะเข้าฉาย ก็ต้องมานั่งลุ้นกันว่าตัวภาพยนตร์จะออกมาสนุกหรือไม่ เพราะจักรวาลภาพยนตร์ของ DC นั้นล้มลุกคลุกคลานมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา  จนกระทั่งในช่วงหลังๆนี้เองที่ DCEU เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทาง และสามารถผลิตภาพยนตร์ที่สนุกทั้งสำหรับ แฟนๆ และ “ดี” ในสายตาของนักวิจารณ์ออกมาติดต่อกันหลายเรื่อง รวมไปถึงภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่เพิ่งเข้าฉายอย่าง  Birds of Prey

หากพูดถึงภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่แล้ว ทุกคนย่อมนึกถึงชื่อของ DC และ มาเวล (Marvel) ซึ่งเป็นคู่แข่งกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ทั้งคู่ยังเป็นเพียงค่ายหนังสือในวงการคอมมิคของอเมริกา แต่ถึงจะบอกว่าเป็นคู่แข่งกัน สำหรับในวงการภาพยนตร์แล้ว ภาพยนตร์ของมาเวลนั้นถือได้ประสบความสำเร็จมากกว่าของ DCEU อย่างเห็นได้ชัด ทั้งในแง่ของคำวิจารณ์และรายได้  โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง AVENGER: Endgame ซึ่งสามารถทำรายได้รวมทั่วโลกไปมากถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์ และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในปัจจุบัน

ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน สาเหตุที่ภาพยนตร์ของจักรวาล DCEU ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรนั้น มีสาเหตุมาจาก เนื้อเรื่องที่ไม่สนุก การดำเนินเรื่องที่แย่ และตัวละครที่ไม่น่าสนใจ จนทำให้ผู้ชมขาดอารมณ์ร่วมในภาพยนตร์

ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจนในภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ของ DCEU อย่าง Man of Steel และ Batman V Superman โดยเฉพาะเรื่องหลังที่ (ความเห็นส่วนตัว) ให้ความรู้สึกเหมือนดูคลิปสั้นๆ หลายคลิปต่อกัน เพราะมีการตัดฉากไป-มา บ่อยมาก เหตุผลที่ทำให้แบทแมนกับซุปเปอร์แมน ต้องมาสู้กันก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แถมพอบทจะดีกันก็ดีกันเร็วมากเกินไป จุดที่สามารถช่วยกู้หน้าของภาพยนตร์ไว้ได้ ก็เห็นจะเป็นฉากแอคชั่นที่อลังการและการปรากฏตัวของซุปเปอร์ฮีโร่หญิงอย่าง วันเดอร์วูแมน (Wonder Woman)  ซึ่งได้มีภาพยนตร์เดี่ยวของตนเองออกตามมาภายหลัง และกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ DCEU ที่ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของคำวิจารณ์และรายได้

ในภาพยนตร์เรื่องวันเดอร์วูแมน เราจะสามารถสังเกตุเห็นถึงแนวทางที่เริ่มเปลี่ยนไปของจักรวาลภาพยนตร์ดีซีได้เป็นครั้งแรก โดยจะเห็นได้จากตัวภาพยนตร์มีโทนสีที่สว่างสดใส เนื้อเรื่องที่น่าติดตาม และแฝงมุขตลกไว้เป็นระยะๆ และที่สำคัญเลยก็คือตัวละครที่มีมิติ และน่าสนใจ  ซึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับสองนักแสดงนำอย่าง กัล กาด็อต (Gal Gadot) และ คริส ไพน์ (Chris Pine) สามารถแสดงได้เข้ากันได้ดีในบทบาทของ วันเดอร์วูแมน และกัปตันสตีฟ เทรเวอร์  นอกจากนี้ อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความเร็จได้ก็คือ ทางค่าย วอร์เนอร์บราเธอส์ (Warner Bros. Pictures) เปิดโอกาสให้ผู้กำกับ แพตตี้ เจนกินส์ (Patty Jenkins) ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของเธอได้เต็มที่โดยไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ

แต่น่าเสียดายว่าแม้แต่ความโด่งดังของตัวละคร วันเดอร์วูแมน ก็ไม่อาจช่วยกอบกู้ภาพยนตร์รวมฮีโร่ของจักรวาล DCEU อย่าง จัสติซ ลีก (Justice League) จากหายนะทาง Box office  ได้หลังจากที่มันถูกสับเละโดยนักวิจารณ์ และผู้ชมทั่วไป จนกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในจักรวาล DCEU ไปซะอย่างนั้น

ความล้มเหลวของ จัสติซ ลีก นี้เอง ที่ทำให้ทางค่ายภาพยนตร์ต้องกลับไปนั่งพิจารณาแนวทางของภาพยนตร์เรื่องต่อๆไป ในจักรวาลของ DCEU อย่างจริงจัง 

และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อภาพยนตร์เรื่อง อวาแมน (Aquaman) ซึ่งกำกับโดย เจมส์ วาน (James Wan) ได้เข้าฉายเมื่อปลายปี พ.ศ. 2561  และสามารถกวาดรายได้รวมทั่วโลกไปมากถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ และขึ้นแท่นกลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินอันดับ 1 ของ DCEU  และยังได้รับคำวิจารณ์ที่ดีพอสมควร  โดย อวาแมน นั้นเป็นภาพยนตร์ที่มีโทนสีสดใส ฉีกแนวจากภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ และมีเนื้อเรื่องที่ ถึงแม้จะไม่ได้แปลกใหม่อะไร แต่ก็สามารถดูได้สนุกทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ ตัวภาพยนตร์ยังเต็มไปด้วยฉากแอคชั่นอลังการงานสร้าง CG ที่สวยงาม และมุขตลกมากมาย กล่าวได้ว่า อวาแมน คือการเข้าสู่ยุคใหม่ของ DCEU อย่างแท้จริง

ชาแซม (Shazam) ซึ่งเข้าฉายเป็นเรื่องต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ก็ได้ยึดตามแนวทางใหม่ของ DCEU พร้อมยกระดับขึ้นไปอีกขั้นด้วยความฮาแบบจัดเต็ม และเนื้อเรื่องที่ให้ความสำคัญกับมิติของตัวละครมากขึ้นกว่าภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ ซึ่งแม้ตัวภาพยนตร์จะทำรายได้ทั่วโลกไปได้เพียง 364 ล้านดอลลาร์ แต่ภาพยนตร์ได้รับรับคำวิจารณ์ในระดับที่ดีเช่นเดียวกับอวาแมน

และล่าสุด แฟนๆ ของ DCEU ก็ได้ดีใจกันอีกครั้ง เมื่อปรากฏว่าภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจาก DECU อย่าง Birds of Prey หรือ “ทีมนกผู้ล่า” สามารถปิดตัวด้วยคะแนน “Fresh” บนเว็บไซต์ Rotten Tomato  พร้อมคำวิจารณ์จากรอบสื่อที่ออกมาในทางบวก

ความสำเร็จที่ต่อเนื่องในช่วงหลังนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับเปลี่ยนแนวทางของภาพยนตร์ในจักรวาล DCEU ให้มีความคล้ายคลึงกับแนวทางของภาพยนตร์ของของมาเวลมากขึ้น (โดยที่ยังคงรักษาจุดเด่นของตนเองไว้) ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง

เรื่องราวของ  DCEU  ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีว่า หากธุรกิจที่คุณทำอยู่ท่าทางจะไปไม่สวย คุณก็ควรรีบหาวิธีแก้ไขเสียก่อนที่จะสายเกินไป โดยคุณอาจใช้วิธีศึกษาจากความสำเร็จของของผู้อื่น เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของคุณให้ดีขึ้น

หลังจากนี้ อนาคตของ DCEU จะเป็นเช่นไรก็ยังไม่อาจบอกได้ แต่ก็หวังว่าซักวันหนึ่ง พวกเราจะได้เห็นฉากคล้ายๆ กับภาพด้านบนนี้ในภาพยนตร์ของ DCEU บ้าง

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.