อันที่จริง ปัญหานี้ถกเถียงกันมานานมาก เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั่วโลก หลายยุคหลายสมัย เช่นเดียวกับสังคมไทย ขณะนี้ทุกคนกำลังจับตาดูเรื่องอีกครั้ง
แต่…ก่อนที่โรงเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้บริหารการศึกษา จะออกนโยบายเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียน ไม่ว่าจะเลือกทางใดก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าให้ดี แม้ว่าจะมองเห็นข้อดีข้อเสียอยู่แล้ว แต่อาจจะมีจุดบกพร่องและความท้าทายอีกมากซ่อนอยู่ จึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดีก่อนตัดสินใจ
บทความเรื่อง The Pros and Cons of School Uniforms for Students เขียนโดย Amy Morin ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นักเขียน และหัวหน้ากองบรรณาธิการของ Verywell Mind ชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยเกี่ยวกับชุดนักเรียน มีทั้งผลเชิงบวกและผลเชิงลบปะปนกันไป
“สำหรับบางโรงเรียน เครื่องแบบถือว่ามีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีงานวิจัยออกมาค้าน โดยบอกว่ามีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
ต่อไปนี้คือประเด็นที่จะบอกถึงข้อดีและข้อเสียของการใส่หรือไม่ใส่เครื่องแบบนักเรียน
ชุดนักเรียนเพิ่มความปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ เช่น ที่เมืองลองบีช ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อมีการกำหนดให้นักเรียนเกรด 8 ทุกคนสวมเครื่องแบบ ผลปรากฏว่าจำนวนการถูกทำร้ายลดลงกว่า 34% นอกจากนี้ การทะเลาะวิวาทและใช้อาวุธร้ายแรงจนเสียชีวิตก็ลดลงถึง 50% ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ยาเสพติด ก็ลดลงเช่นเดียวกัน
ขณะที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในรัฐเนวาดา รายงานว่าวีรกรรมต่าง ๆ ของแก๊งนักเรียนลดลง หลังจากกำหนดให้ใส่เครื่องแบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง รวมถึงครูและผู้ปกครอง
ทั้งนี้ เครื่องแบบนักเรียนสามารถป้องกันไม่ให้นักเรียน ซ่อนอาวุธไว้ในเสื้อผ้า โดยเฉพาะในกรณีที่มีคนจากชุมชน และพยายามนำอาวุธเข้าไปพื้นที่ของโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาบางส่วนไม่พบว่าเครื่องแบบช่วยลดปัญหาเรื่องนี้เลย ตรงกันข้าม การผลการศึกษาจากโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง พบว่าเครื่องแบบนักเรียนมีส่วนเพิ่มการทำร้ายกันมากขึ้น 14 ครั้งต่อปี สำหรับโรงเรียนที่ได้ชื่อว่ามีความรุนแรงสูงเป็นทุนอยู่แล้ว
สำหรับนักเรียนหลาย ๆ คน เสื้อผ้าอาจเป็นสาเหตุความเครียดได้ การไม่มีเสื้อผ้าแบรนด์เนมหรือไม่สวมใส่สินค้าแฟชั่น อาจทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย
ขณะที่บางคนรู้สึกว่ามีสมาธิในการเรียนได้ดีขึ้น เมื่อพวกเขาสวมเสื้อผ้าแบบเดียวกันทั้งหมด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮูสตัน พบว่าคะแนนการทดสอบของเด็กนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นหลังจากให้สวมเครื่องแบบ
แต่ก็ยังมีการศึกษาบางส่วน ที่บ่งชี้ว่าเครื่องแบบไม่เกี่ยวกับเกรดเลย ในความเป็นจริงคือ การศึกษาอย่างน้อยหนึ่งชิ้น ค้านว่าเครื่องแบบนักเรียนมีผลเสียต่อความสำเร็จเรื่องการเรียนด้วยซ้ำ
เด็ก ๆ อาจไปโรงเรียนบ่อยขึ้นเมื่อพวกเขาสวมเครื่องแบบ การศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮูสตัน พบว่าอัตราการขาดเรียนโดยเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงในโรงเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย Youngstown State University ลดลง 7% หลังจากบังคับสวมเครื่องแบบนักเรียน และยังพบว่าอัตราการเข้าเรียนเพิ่มขึ้น
การที่นักเรียนไปโรงเรียนตรงเวลา เพราะพวกเขาไม่ต้องเสียเวลาเลือกว่าจะใส่อะไรทุกเช้า นักเรียนจะสามารถออกไปนอกบ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงการมาสายน้อยลง
ผู้เสนอนโยบายเครื่องแบบนักเรียน กล่าวว่าเครื่องแบบสามารถปรับปรุงพฤติกรรมในนักเรียนได้ ตัวอย่างความสำเร็จเห็นได้ที่โรงเรียน John Adams Middle School ในรัฐนิวเม็กซิโก
ส่วนในออสเตรเลีย พบว่านักเรียนที่สวมเครื่องแบบมีระเบียบวินัยมากกว่า และพวกเขาตั้งใจฟังมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถเริ่มการเรียนการสอนได้ตรงเวลาด้วย
แต่ก็มีผลการศึกษาบางส่วนไม่เป็นแบบบนี้ งานวิจัยบางชิ้นพบว่าปัญหาทางวินัยและการกลั่นแกล้งกันไม่ได้ลดลง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่โรงเรียนต้องเสียเวลาในการรักษาระเบียบการแต่งกาย และการบังคับใช้นโยบายดังกล่าว เท่ากับใช้ทรัพยากรมากขึ้น
ผู้ปกครองอาจใช้จ่ายเงินน้อยลง หากให้นักเรียนสวมเครื่องแบบ ครอบครัวจะมีแรงกดดันน้อยกว่าที่จะซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมราคาแพง เพราะชุดนักเรียนอาจมีราคาย่อมเยากว่านั่นเอง
ส่วนฝ่ายตรงข้าม ก็มองว่าผู้ปกครองที่ซื้อชุดนักเรียนนั้น ขัดต่อแนวคิดที่ว่านักเรียนควรได้รับการศึกษาฟรี อุปกรณ์ต่าง ๆ ก็น่าจะปรีด้วย เมื่อโรงเรียนของรัฐบังคับให้ผู้ปกครองซื้อเครื่องแบบ อาจทำให้บางครอบครัวรู้สึกลำบากใจ
ผู้เสนอนโยบายนี้ ยังมองว่าชุดนักเรียนจะมีผลดีต่อความนับถือตนเองของนักเรียนเอง หากสวมเสื้อผ้าแบบเดียวกับคนอื่น ๆ นักเรียนจะไม่กังวลว่าเพื่อน ๆ จะยอมรับการเลือกเสื้อผ้าของตนหรือไม่
แต่ฝ่ายตรงข้ามโต้แย้งว่า เครื่องแบบอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของนักเรียนบางคน งานวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา พบว่านักศึกษาที่ไม่สนเครื่องแบบ กลับมีคะแนนการรับรู้ตนเองสูงกว่านักศึกษาที่สวมเครื่องแบบ
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.