Categories: TREND

อย่าให้ประเพณีที่ดีต้องจากไปพร้อมขยะ

เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 หรือวันลอยกระทง เรามักจะคุ้นเคยกับภาพผู้คนมากมายที่ต่างมุ่งหน้าไปยังริม 2 ฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง และตามแหล่งน้ำในสวนสาธารณะ ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเป็นสุข เพื่ออธิษฐานขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์และขอขมาพระแม่คงคา ก่อนจะปล่อยความทุกข์โศกโรคภัยให้ไหลลอยไปพร้อมกับกระทงตามประเพณีความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน

แต่… ก่อนคืนวันลอยกระทงจะผ่านพ้นไป ภาพที่น้อยคนจะได้พบเห็น ก็คือ ซากกระทงจำนวนมากที่ลอยเกลื่อน กลายเป็นขยะและภาระให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บเป็นประจำทุกปี

เมื่อย้อนดูสถิติขยะกระทงในกรุงเทพฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า จำนวนขยะกระทงที่เก็บได้ตามแหล่งน้ำ อยู่ที่ประมาณเกือบ 1 ล้านใบ โดยล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2561) มีขยะกระทงที่เก็บได้ถึง 841,327 ใบ โดยยังมีกระทงโฟมปะปนอยู่ประมาณ 44,883 ใบ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.3 ส่วนกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้ มีพบอยู่ประมาณ 796,444 ใบ หรือร้อยละ 94.7

ปริมาณขยะกระทงที่มากมายมหาศาลเพียงชั่วข้ามคืนนี้ จะถูกหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเก็บให้หมดสิ้นก่อนเวลา 6 โมงเช้าของวันถัดไป

ขยะกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้ง่าย จะถูกส่งเข้าไปที่โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (หนองแขม) ส่วนขยะกระทงโฟม จะถูกนำไปฝังกลบเพื่อรอการย่อยสลาย ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 50 ปี

หลายคนอาจมีคำถามว่า ในเมื่อคนส่วนใหญ่หันมาใช้กระทงที่ทำวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายได้ ทำไมต้องรีบเร่งจัดเก็บกันขนาดนี้ !!!

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ กระทงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ล้วนส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ โดยสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ให้ข้อมูลระยะเวลาการย่อยสลายกระทงแต่ละประเภท ดังนี้
– กระทงจากมันสำปะหลัง ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
– กระทงจากขนมปัง โคนไอศกรีม ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน
– กระทงจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน
– กระทงจากกระดาษ ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน

ซึ่งหากไม่รีบจัดเก็บให้เสร็จก่อนฟ้าสาง ภาพขยะกระทงที่ลอยเกลื่อน คงไม่ส่งผลดีต่อผู้ที่พบเห็นแน่ และหากขยะกระทงจมลงสู่เบื้องล่าง ก็จะเกิดการหมักหมมเน่าเสีย เป็นมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้

คำถามต่อมาคือ แล้วเราช่วยลดการสร้างขยะกระทง ในวันลอยกระทงที่กำลังจะมาถึงนี้ได้อย่างไร ????

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในโลกยุคปัจจุบัน เราสามารถลอยกระทงออนไลน์ โดยเลือกสถานที่ รูปแบบของกระทงได้ตามใจชอบ ซึ่งนอกจากจะไม่เหลือซากกระทงให้เป็นขยะให้เป็นภาระต่อผู้จัดเก็บแล้ว ยังไม่ต้องไปเบียดเสียดผู้คนจำนวนมากอีกด้วย

ส่วนใครที่ยังชอบบรรยากาศความครึกครื้นของผู้คน และดื่มด่ำไปกับแสงไฟของกระทงยามล่องลอยไปกับสายน้ำ ก็ควรเลือกกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย โดยอาจจะลดขนาดของกระทงไม่ให้ใหญ่จนเกินไป และลอยร่วมกัน เช่น ลอยเป็นคู่ (รัก) ลอยเป็นครอบครัว หรือ ลอยเป็นหมู่คณะก็ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีให้คงอยู่แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์แหล่งน้ำให้สะอาด เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาอย่างแท้จริง

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อรักษาวัฒนธรรมและประเพณีดีๆ ให้อยู่คู่คนไทยไปตราบนานเท่านาน


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.