Categories: TREND

คืนหลอนซ่อนความสนุก

หลายคนเมื่อพูดวันฮาโลวีนจะนึกความสนุกสนาน การแต่งตัวด้วยชุดแฟนซีไปโอ้อวดกับเพื่อนฝูง การนั่งแกะสลักฟักทอง หรือการฉลองวันฮาโลวีนอย่างสุดเหวี่ยงข้ามวันข้ามคืนด้วยเครื่องดื่มสุดพิเศษ แต่แท้จริงแล้ววันฮาโลวีนไม่ได้มีแค่ความสนุกสนานสำราญใจ มันยังแฝงไปด้วยความเชื่อ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน และอะไรอีกมากมายที่รอให้เราไปค้นหา

วันนี้ผู้เขียนและ PassionGen ขออาสาพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปสำรวจเรื่องราวที่น่าพิศวงของการเฉลิมฉลองวันฮาโลวีนและเทศกาลแห่งความตายจากทั่วทุกมุมโลก ที่ดึงดูดให้ผู้คนทั่วโลกต่างหลงใหลในความลี้ลับของมัน

Photo by freestocks.org from Pexels

เริ่มแรกเดิมทีของเทศกาลฮาโลวีนอาจจะต้องย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ในบริเวณดินแดนแถบประเทศไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน โดยมีต้นกำเนิดมาจากเทศกาล Samhain ของชาวเซลติคโบราณ (Celtics) ซึ่งเชื่อว่าวันนี้เป็นวันที่คนเป็นและคนตายถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน วิญญาณของคนตายจะหาที่สิงสู่และจะเข้าสู่ปีใหม่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน

ในวันฮาโลวีน และเด็ก ๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง หรือเดินเคาะประตูตามบ้านเพื่อขอขนมและพูดว่า Trick or Treat (หลอกหรือเลี้ยง) เจ้าของบ้านมีสิทธิ์ที่จะตอบว่า Treat เพื่อยอมแพ้และมอบขนมหวานแก่เด็ก ๆ ราวกับว่าผีตนน้อย ๆ เหล่านี้ ช่างน่ากลัวเสียเหลือเกิน หรือจะเลือกท้าทายด้วยการตอบ Trick เพื่อให้ภูตผีอาละหวาด แลบลิ้นปลิ้นตาหรือทำลายข้าวของเล็ก ๆ น้อย ๆ และจบลงที่การให้ขนมแก่เด็ก ๆ ในที่สุด

siims/Getty Images

ที่ประเทศไอร์แลนด์ดินแดนต้นกำเนิดของเทศกาลฮาโลวีน ชาวไอริชจะจุดไฟและแต่งตัวด้วยชุดภูติผีปีศาจเช่นเดียวกับที่อื่น ๆ แต่ก็มีธรรมเนียมดั้งเดิมที่ไม่เหมือนใครอย่างการปรุงอาหารจานพิเศษเฉพาะในเทศกาลนี้ที่ชื่อ Colcannon หรือ มันบดแบบไอริช พร้อมเสิร์ฟกับ Barmbrack หรือ ขนมปังที่จะใส่สิ่งของลงไป เช่น ถั่ว กิ่งไม้ เศษเสื้อผ้า เหรียญ หรือแม้กระทั่งแหวน คนที่รับปประทานจะลุ้นไปกับการกัดในแต่ละคำว่าจะเจอะเจอกับอะไร และสิ่งของที่เจอในขนมปังจะทำนายถึงอนาคตของผู้ที่รับประทาน เช่น หากเจอถั่วหมายความว่าคนนั้นจะไม่ได้แต่งงานภายในปีนี้ หรือเจอเหรียญหมายความว่าอนาคตจะรุ่งเรืองและร่ำรวย เป็นต้น

Photo by Susan Miele

แต่ที่สหรัฐฯ มีการจัดงานเทศกาลฮาโลวีนแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง เช่น ที่เมืองฮัดสันวัลเลย์ (Hudson Valley) ในรัฐนิวยอร์ก (New York) มีการจัดงานเทศกาลตะเกียงฟักทอง โดยได้ใช้ตะเกียงฟักทองประดับทั่วงานมากกว่า 7,000 ลูก และไม่ได้มีเพียงตะเกียงฟักทองยิ้มทั่วไปเท่านั้น แต่ยังได้จัดตะเกียงฟักทองให้มีความสลับซับซ้อนและน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้าจำลองที่ทำจากตะเกียงฟักทอง เครื่องเล่นม้าหมุนฟักทอง ตะเกียงฟักทองรูปไดโนเสาร์และรูปเทพีเสรีภาพ

WINDZEPHER/ISTOCK VIA GETTY IMAGES

ขณะที่เทศกาลวันแห่งความตายที่เม็กซิโกนั้น ในอดีตชาวพื้นเมืองในดินแดนเชื่อว่าความตายเป็นเพียงแค่ช่วงระยะหนึ่งของชีวิตเท่านั้น เมื่อตายก็แค่ย้ายไปอยู่ในอีกโลกที่รอกลับมายังโลกเดิม ปีละครั้ง และเมื่อหลอมรวมกับศาสนาคริสต์ที่เข้ามาพร้อมกับการรุกรานของชาวสเปน เทศกาล Dia de los Muertos จึงถือกำเนิดขึ้น

เทศกาลนี้จะขึ้นต่อเนื่อง 3 วัน เนื่องจากตรงกับ 3 วันสำคัญของชาวคริสต์ คือ วัน All Saints Eve, All Saints Day และ All Soul Day ชาวเม็กซิโกเชื่อว่าบรรดาญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะกลับมาบ้านที่พวกเขาเคยอยู่ในช่วงเทศกาลแห่งความตายนี้ ครอบครัวจึงมักเตรียมอาหารมื้อใหญ่ไว้ต้อนรับการกลับมา เผื่อว่าการเดินทางอันยาวไกลกลับมายังโลกเดิมจะทำให้ญาติวายชนม์เหนื่อยล้าและหิวโหย ที่สำคัญ เทศกาล Dia de los Muertos ไม่ใช่เทศกาลฮาโลวีนสไตล์เม็กซิกันแต่อย่างใด อย่าได้เผลอไปพูดให้คนเม็กซิโกได้ยินว่าเทศกาลนี้เป็นฮาโลวีนเม็กซิกันเชียวล่ะ

Photo by Keiichiro Yasugi

แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศกาลฮาโลวีน แต่ที่ญี่ปุ่นก็มีเทศกาลเกี่ยวกับภูติผีและความตายเช่นเดียวกัน อย่างงานเทศกาล Hyakki Yagyo หรือ “ค่ำคืนแห่งขบวนแห่ปีศาจ 100 ตน” งานเดินขบวนผีประจำปีของเมืองเกียวโต โดยจะจัดขึ้นในทุกวันที่ 3 ตุลาคมของทุกปี (ก่อนวันฮาโลวีน) นอกจากนี้ยังมีงานเทศกาลที่ชื่อว่า Obon ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อรำลึกถึงผู้ล่วงลับ โดยจะจัดขึ้นช่วง 2-3 เดือนก่อนเทศกาลฮาโลวีน เชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะเดินทางกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อเยี่ยมเยียนบ้านและลูกหลาน บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ก็จะปัดกวาดเช็ดถูสุสานของบรรพบุรุษ และเตรียมผัก ผลไม้ และดอกไม้ไว้เพื่อต้อนรับการกลับมาของผู้จากไป

Photo courtesy of R Brands

ในเมืองไทยเราเอง ก็รับวัฒนธรรมการเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนมาเหมือนกัน ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือสถานบันเทิงต่าง ๆ  ยังร่วมตกแต่งร้านรวงให้เข้ากับบรรยากาศของฮาโลวีน หนึ่งในไฮไลต์ของการฉลองวันฮาโลวีนในไทย อย่าง งาน “Khaosan Halloween” ซึ่งกันติดต่อกันมาหลายปีแล้ว โดยตลอดสองข้างทางของถนนข้าวสารมีการออกร้านรับจ้างตกแต่งหน้าผีให้เข้ากับบรรยากาศฮาโลวีน อีกทั้งร้านค้าต่าง ๆ ภายในถนนข้าวสารเองก็มีการตกแต่งร้านให้เข้ากับบรรยากาศด้วยเช่นกัน

อีกงานหนึ่งที่จัดมาหลายปีและพลาดไม่ได้สำหรับคอสยองขวัญอย่างงาน “มหกรรมเล่นกับผีที่เมกาบางนา” บ้านผีสิงที่จัดโดยศูนย์การค้าเมกาบางนาและรอคอยให้เหล่าผู้กล้ามาท้าความหลอน ซึ่งงานนี้จะมีการเปลี่ยนธีมงานไปในแต่ละปี โดยปีนี้จัดขึ้นในธีมคนเล่นของ ใครที่ต้องการพิสูจน์ความสยองขวัญและทดสอบความกล้าของตัวเอง สามารถไปร่วมลองของได้ที่ศูนย์การค้าเมกาบางนาในวันที่ 18-31 ตุลาคม แต่ถ้าปีนี้ไม่ได้ไปละก็ ไม่ต้องห่วงเพราะงานนี้เขาจัดขึ้นต่อเนื่องทุกปี


รู้หรือไม่

–        ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การเล่น Trick or Treat ต้องถูกระงับไปชั่วคราว เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องจำกัดปริมาณการใช้น้ำตาล ในช่วงสงครามอะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัด
–        ชาวอเมริกันใช้เงินในการเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในแต่ละปีเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นวันใช้จ่ายครั้งยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากวันคริสต์มาส
–        เดิม Jack-o’-Lantern หรือตะเกียงฟักทอง จะใช้หัวผัดกาดและหัวบีตรูทในการแกะสลัก แต่ชาวอเมริกันได้เปลี่ยนมาใช้ฟักทองแบบที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาในปัจจุบัน

อ้างอิง
https://www.history.com/topics/halloween/history-of-halloween#section_1
https://www.scholarship.in.th/12-things-you-may-not-know-about-halloween/
https://today.line.me/th/pc/article/ฮาโลวีนที่ไม่ได้มีแค่+“หลอก”+หรือ+“เลี้ยง”+4+สิ่งจาก+4+ประเทศที่ทำกันในวันปล่อยผี-2WE9mP
https://www.irishtimes.com/life-and-style/food-and-drink/now-we-know-what-s-so-spooky-about-barmbrack-1.3267009
https://www.marumura.com/obon/
https://readthecloud.co/motorcycle-8/
https://www.springnews.co.th/photo/375301
https://hilight.kapook.com/view/30133
https://www.brandbuffet.in.th/2019/10/haloween-event-at-megabangna/
https://www.thaiquote.org/content/228218
เพจ Eak SummerSnow

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.