หากมองในแง่การพัฒนาแอพที่เกี่ยวกับสุขภาพแล้ว ก่อนหน้านี้ มีซีรีส์ 4 ที่มีความโดดเด่นเรื่อง “ติดตามการล้ม” ขณะที่ซีรีส์ 5 นี้ ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเสนอแอพใหม่ “ติดตามรอบเดือน” อำนวยความสะดวกการใช้ชีวิตของผู้หญิง รวมถึงยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกไม่น้อย
Cycle Tracking หรือ แอพติดตามรอบเดือน เป็นหนึ่งในแอพที่มาพร้อมระบบปฎิบัติการ watchOS 6 ของ Apple Watch Series 5 ที่มีไว้เพื่อให้สาวๆ ได้บันทึกข้อมูลรอบเดือน ติดตามช่วงวันไข่ตก และแจ้งเตือนเมื่อใกล้เวลามีประจำเดือน เพราะสพหรับผู้หญิงแล้ว การที่เราสามารถบันทึกว่า เรามีรอบเดือนมาวันไหน / มากี่วัน / ช่วงที่มานั้น มามากน้อยแค่ไหน / อาการที่เกิดขึ้นขณะมีรอบเดือน และอื่นๆ จะทำให้เรารู้จักร่างกายของเราเองมากขึ้น และช่วยให้เราวางแผนการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ตลอดจนสามารถนำข้อมูลที่เก็บบันทึกนี้ไว้ติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเราได้ หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้บอกให้แพทย์ได้รับทราบเพื่อประกอบการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมแก่เราได้
หรือสาวๆ ที่อยากทำกิจกรรมกลางแจ้ง โลดโผน ลุยเล่นน้ำ ถ้าช่วงที่แพลนว่าจะมีกิจกรรมดังกล่าวเป็นช่วงตรงกับรอบเดือน ข้อมูลที่ได้รับรู้ก่อนนี้ ก็ยังทำให้เราวางแผนรับมือได้ดีขึ้น ทั้งการแต่งกาย การเตรียมตัว-เตรียมใจรับอารมณ์แปรปรวนช่วงมีประจำเดือน หรือบางคนก็อาจรับยา “เลื่อนประจำเดือน” เพื่อให้กิจกรรมที่ต้องทำในช่วงที่คาดว่าจะมีรอบเดือนนั้นๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย อย่างถึงที่สุด
ซีรีส์ใหม่ของ Apple Watch นี้ ยังทำให้เรื่องที่ผู้ใช้งานหลายคนเคยหงุดหงิดกับหน้าจอที่มืดดับไป มองเวลา หรือข้อมูลต่างๆ ไม่ได้ หากไม่ยกข้อมือขึ้นมา ซึ่งบางครั้ง เราก็ไม่อยู่ในสภาวะที่จะทำเช่นนั้นได้ เช่น อยู่ในห้องประชุม จะยกข้อมือพลิกนาฬิกาอัจฉริยะขึ้นมาดูเวลาก็คงไม่สุภาพ หรือเล่นโยคะมือยันพื้นทำท่าหกสูงอยู่ อยากรู้เวลาจะพลิกข้อมือกลับขึ้นมาดูก็ใช่ที่ ก็ไม่ต้องหงุดหงิดใจกันอีกต่อไป เพราะมี ฟังก์ชั่นจอภาพ Retina แบบติดตลอดเวลา (Always On) ดูเวลาได้ ดูข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎบนหน้าจอได้ และไม่ต้องกังวลว่า ข้อมูลที่โชว์บนหน้าจอ คนอื่นจะเห็น ทั้งนัดหมายต่างๆ ของเรา ข้อมูลสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจ ฯลฯ เพราะ Apple ได้เตรียมการไว้แล้ว เพียงแค่เข้าไปในเมนู แล้วเลือก Hide เพื่อซ่อนข้อมูลเซนซิทีฟนี้จากสายตาคนอื่นๆ
แอพ เข็มทิศ Compass เป็นแอพที่มีเฉพาะใน Apple Watch Series 5 เท่านั้น โดยเข็มทิศในแอพจะชี้ทิศทางที่ Apple Watch ที่เราสวมใส่หันหน้าไป นั่นก็คือแสดงตำแหน่งปัจจุบันที่เราอยู่ แอพนี้ เหมาะกับคนที่ชอบเดินป่า ขึ้นเขา ทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ต่างๆ ทำให้รู้พิกัดของตัวเราเอง ไม่หลงทิศทาง หรือบางคนที่ถือหลักฮวงจุ้ย ดูทิศทางที่ตั้งของบ้าน ที่ทำงาน ตำแหน่งที่ตั้งโต๊ะ หรือจะซื้อบ้านใหม่ ต้องหันหน้าไปทิศทางไหน แอพนี้ ช่วยได้
เสียงที่ดังเกินไป อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพการได้ยิน ในซีรีส์นี้ จึงมีแอพ Hearing ไว้สำหรับวัดระดับเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัวของเราและจะแจ้งเตือนเมื่อระดับเสียงนั้นอาจเป็นอันตรายต่อการได้ยิน เช่น ระดับเสียงที่ดังเกิน 90 เดซิเบล หากรับฟังนานเกิน 30 นาที จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว เป็นต้น เมื่อเราได้รับการแจ้งเตือนแบบนี้ เราก็มีทางเลือก ว่า จะลดระดับเสียงนั้นลง หากว่าเสียงนั้นมาจากเพลงที่เรารับฟังอยู่ หรือ อุดหูด้วยอุปกรณ์กันเสียงบางอย่าง หากเราอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังนั้น หรือเลือกที่จะเดินออกมาจากสภาพแวดล้อมนั้นๆ เป็นต้น
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.